วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สารคดี “วงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต” (ฝ่ายข้อมูล)

สารคดี “วงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต”
สารคดีความรู้ เนื้อหาเชิงวิเคราะห์
ประกอบด้วย 3 ประเด็นดังนี้
1. เพลงลูกทุ่งกับสถาบันการศึกษา
2. กลยุทธ์ในการวางแผนการแข่งขัน
3. ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในวง

รายละเอียดประเด็น
ประเด็นที่ 1. เพลงลูกทุ่งกับสถาบันการศึกษา
เนื้อหาเชิงวิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลงของเพลงลูกทุ่ง เมื่อเปรียบเทียบบทเพลงลูกทุ่งจากอดีต กับ เพลงลูกทุ่งปัจจุบัน
เนื้อหาประกอบ
·       ความเป็นมาของบทเพลงลูกทุ่ง
เพลงลูกทุ่ง หมายถึง เพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคม อุดมคติและวัฒนธรรมไทย มีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง ลีลาการร้อง การบรรเลง ที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งให้บรรยากาศของความเป็นลูกทุ่ง โดยเฉพาะการร้องเอื้อนที่ใช้ลูกคอ 
เพลงลูกทุ่งเป็นเพลงไทยที่มีลักษณะเฉพาะ กล่าวคือ มีการใช้ภาษาง่ายๆ บรรยายเรื่องราวของชีวิต สภาพสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเน้นชีวิตของชาวชนบท โดยก่อนหน้านั้นยังไม่มีการแบ่งแยกว่า เป็นลูกทุ่งหรือลูกกรุง เนื่องจาก เพลงไทยได้พัฒนามาจากเพลงไทยเดิมที่ใช้คำร้องที่มีลักษณะการเอื้อน และใช้เครื่องดนตรีไทยบรรเลง มาเป็นเพลงไทยสากล ที่มีเนื้อร้องเต็ม ใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลง ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากฟังง่าย ร้องง่าย จำได้ง่าย และมักเรียกลักษณะจากแนวการร้องของนักร้องแต่ละคนมากกว่า เช่น แนวรำวง แนวเพลงเพื่อชีวิต นอกจากนี้ นักประพันธ์เพลงรุ่นเก่าๆ ก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการแบ่งแยกประเภทของเพลงไทยสากลว่า เป็นเพลงลูกทุ่ง และลูกกรุง เพราะถือว่า ดนตรีเป็นภาษาสากลและต่างเป็นเพลงไทยสากลเช่นเดียวกัน 
คำว่า "ลูกทุ่ง" ปรากฏครั้งแรกเป็นชื่อของภาพยนตร์เพลง สร้างโดยบริษัทภาพยนตร์ไทย หรือไทยฟิล์ม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เป็นผู้กำกับ ผู้แต่งทำนองเพลงคือ หม่อมหลวง พวงร้อย  อภัยวงศ์ ผู้แต่งเนื้อร้องคือ พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น) เพลงในภาพยนตร์ ได้แก่ เงาไม้ ต้อนกระบือ เกี้ยวสาว สายัณห์ และไม้งาม เนื้อร้องส่วนใหญ่เน้นการชมธรรมชาติอันสวยงามของท้องไร่ปลายนา
คำว่า "เพลงลูกทุ่ง" เกิดขึ้นโดย นายจำนง  รังสิกุล เป็นผู้ริเริ่ม ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง เป็นหัวหน้าฝ่ายจัดรายการ ของสถานีโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหม โดยตั้งชื่อรายการว่า "เพลงลูกทุ่ง" มีนายประกอบ  ไชยพิพัฒน์ เป็นผู้จัด ออกอากาศ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗ เดือนละ ๒ ครั้ง ทุกวันจันทร์เว้นจันทร์ จนได้รับความนิยมและแทรกซึมไปตามวงดนตรีต่างๆ เริ่มเรียกวงของตนเองว่า วงดนตรีลูกทุ่ง และนักร้องนิยมเรียกตัวเองว่า นักร้องเพลงลูกทุ่ง
(หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับเยาวชน เรื่องเพลงลูกทุ่ง หัวข้อ ที่มาเพลงลูกทุ่ง)
บทเพลงลูกทุ่งไทยเป็นรากเหง้าของคนไทยเป็นวัฒนธรรมที่ได้สืบสานสืบทอดต่อกันมาจากคนรุ่นเก่าๆ ก็จะมีวัฒนธรรมมีวัฒนาการมาจากบทเพลงพื้นบ้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นเพลงฉ่อย เพลงรำตัด เพลง
อีแซว เพลงเห่เรือต่างๆ ได้มาพัฒนาให้เป็นเพลงลูกทุ่ง ถามว่าทำไมถึงเกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษาหรือเกี่ยวกับเยาวชนสิ่งที่เราทำอยู่ก็เป็นการอนุรักษ์เผยแพร่ส่งเสริมสร้างสรรค์ให้กับเยาวชนได้สัมผัสกับวัฒนธรรมบทเพลงลูกทุ่ง เป็นการปลูกฝังปลูกจิตสำนึกให้รักหวงแหน มรดกศิลปวัฒนธรรมของไทยเรา
“บทสัมภาษณ์ตอนหนึ่งของ อ. สายชล ดวงแก้ว อาจารย์ผู้ควบคุมวงดนตรีลูกไทยปัญญาไทย เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558ตึกศิลปกรรมศาสตร์
·       วิวัฒนาการวงดนตรีลูกทุ่งของสถาบันการศึกษา กรณีเพื่อสร้างความบันเทิงเท่านั้น
เมื่อบทเพลงลูกทุ่งมีคุณค่า มีความน่าสนใจ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งทำให้เริ่มมีการจัดการแสดงความสามารถผ่านบทเพลงลูกทุ่งมากขึ้น จากวงดนตรีลูกทุ่งของสถาบัน ทำการแสดงเพียงเพื่อสร้างความสนุกสนาน สร้างความบันเทิง เพื่อสร้างมิตรภาพและสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน โดยใช้เพลงลูกทุ่งเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในมหาลัยเชียงใหม่ วงดนตรีลูกทุ่งวิจิตรศิลป์
·       การประกวดเพลงลูกทุ่งกับสถาบันการศึกษา เพื่อการแข่งขันและสร้างชื่อเสียง
การประกวดเพลงลูกทุ่งนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งมาตั้งแต่อดีต เนื่องจาก ผู้ที่ต้องการจะเป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง มักต้องผ่านการร้องเพลงในเวทีประกวดร้องเพลง ตามงานต่างๆ เพื่อแสดงความสามารถในการขับร้อง คณะกรรมการที่เชิญมาตัดสินการประกวด มักเป็นผู้ที่อยู่ในวงการเพลงลูกทุ่ง อาจเป็นนักร้อง นักแต่งเพลง หรือครูเพลง จึงเป็นโอกาส ที่จะสรรหานักร้องใหม่ ที่มีน้ำเสียงดี มีความสามารถในการขับร้อง ซึ่งนักร้องยอดนิยมหลายคน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ต่างเคยผ่านการแสดงความสามารถจากเวทีประกวดเพลงลูกทุ่งมา ไม่มากก็น้อย
ในอดีต การประกวดเพลงลูกทุ่ง หรือวงดนตรีลูกทุ่ง มักจัด เมื่อมีงานวัด เนื่องจาก วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน มีสถานที่กว้างขวางเพียงพอ และมีประชาชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อเพลงลูกทุ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และภาคเอกชน การประกวดเพลงลูกทุ่งจึงแพร่หลาย ไม่จำกัดแค่ในงานวัด แต่ขยายไปตามโรงเรียน สถานที่ราชการ บริษัทห้างร้าน ห้างสรรพสินค้า รายการโทรทัศน์ โดยแบ่งเป็นการแข่งขันระดับต่างๆ เช่น ระดับเยาวชน มีตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึงอุดมศึกษา ระดับประชาชน ทั้งชายและหญิง ทั้งนี้ เป็นเพราะเพลงลูกทุ่งเป็นเพลงที่มีการขับร้องยาก ผู้ที่ร้องดีต้องมีเนื้อเสียง หรือมีน้ำเสียงที่ฟังแล้วไพเราะ ต้องใช้ลูกคอ ใช้การเอื้อนเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของเพลงลูกทุ่ง ต้องออกเสียงอักขระภาษาไทยให้ชัดถ้อยชัดคำ เต็มเสียง แตกต่างจากเพลงสตริงที่นักร้องวัยรุ่นใหม่ๆ เริ่มออกเสียงไม่ชัดเจน จึงมีการส่งเสริมการร้องเพลงลูกทุ่งให้แก่เยาวชนไทย เพื่อรักษาความเป็นเอกลักษณ์ ของเพลงลูกทุ่ง และส่งเสริมการออกเสียงภาษาไทยที่ชัดเจน ขอยกตัวอย่าง การจัดประกวดเพลงลูกทุ่งที่สำคัญๆ พอเป็นสังเขปดังนี้   

การประกวดแต่งเพลงลูกทุ่งในหัวข้อ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับระบอบประชาธิปไตย" 
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ดำเนินงานโครงการศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย ประจำ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยจัดประกวดแต่งเพลงลูกทุ่งในหัวข้อ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับระบอบประชาธิปไตย" เพื่อสนองแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย และอนุรักษ์ส่งเสริมบทบาทเพลงลูกทุ่งไทย ซึ่งโครงการนี้มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวน ไปทุกจังหวัด ทั่วประเทศ

รายการชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์
รายการชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์เป็นรายการที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ทีวี ผลิตโดย บริษัทเวิร์คพอยท์เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เพื่อเป็นเวทีแสดงความสามารถ ของเยาวชนไทยอายุระหว่าง ๑๐ - ๑๘ ปีจากโรงเรียนทั่วประเทศ มาแข่งขันในด้านการร้องเพลงลูกทุ่ง เล่นดนตรีในรูปแบบเต็มวง และการเต้นประกอบเพลง (หางเครื่อง)  ผู้ชนะประจำปีจะได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเริ่มจัดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔ เป็นปีแรก ผู้ตัดสินเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ในวงการเพลงลูกทุ่งไทย ศิลปินแห่งชาติ ครูเพลง และนักแต่งเพลงชื่อดัง
การประกวดวงดนตรีลูกทุ่งกำแพงใจ เฉลิมพระเกียรติ
มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ผู้ต้องขังมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี ลดความเครียด ขณะอยู่ในเรือนจำ รูปแบบรายการเป็นการแสดงวงดนตรีลูกทุ่งของผู้ต้องขังจากตัวแทน ที่ผ่านการคัดเลือกจากเรือนจำ และทัณฑสถานทั่วประเทศไทย ประกอบด้วย การประกวดวงดนตรีลูกทุ่งยอดนิยม การประกวดนักร้องยอดเยี่ยม จัดโดย ส่วนส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาจิตใจผู้ต้องขัง สำนักพัฒนาพฤตินิสัย กรมราชทัณฑ์ โดยมีคณะกรรมการจากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยฯ มาร่วมตัดสิน
นอกจากนี้ ยังมีโครงการประกวดร้องเพลงลูกทุ่งระดับเยาวชน ที่คัดเลือกเยาวชนทุกภูมิภาค มาประกอบกิจกรรมฝึกฝนทักษะใน "บ้านคนรักษ์ลูกทุ่ง" โดยการแสดงความสามารถ ในเวทีการแสดง และให้ผู้ชมส่งข้อความผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อรวบรวมคะแนน ให้กับผู้ที่ตนชื่นชอบ ผู้ที่ได้รับคะแนนน้อยในแต่ละสัปดาห์จะถูกคัดออกจนเหลือ ๗ คน เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ และยังมี โครงการสร้างเด็กไทยหัวใจลูกทุ่ง รายการแชมป์เยาวชน ส่วนสถาบันการศึกษาต่างๆ ก็มีการจัดประกวดร้องเพลงลูกทุ่งมากมาย หรือตามจังหวัดต่างๆ ที่มีการจัดงานเทศกาลประจำปี รายการประกวดเพลงลูกทุ่งเป็นรายการที่ขาดไม่ได้ เพื่อสร้างความบันเทิง และเป็นเวทีแสดงความสามารถด้านการร้องเพลงลูกทุ่ง เพื่อจะได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถไปสู่ความเป็นนักร้องอาชีพต่อไป
(หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับเยาวชน เรื่องเพลงลูกทุ่ง หัวข้อ ธุรกิจเพลงลูกทุ่ง)
·       คุณค่าของบทเพลงลูกทุ่ง
"เมื่อข้าพเจ้าเติบโตขึ้น ได้ฟังเพลงอย่างพินิจพิเคราะห์มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งได้ร่ำเรียนดนตรีไทยจากท่านผู้รู้ต่างๆ ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ก็ได้เห็นความจริงว่า นักร้องลูกทุ่งนั้นที่ดีมากคือ การร้องเพลงด้วยเสียงแท้ และร้องเต็มเสียงอย่างชัดถ้อยชัดคำ อีกประการหนึ่ง ลีลาการขับร้องเพลงลูกทุ่งคือ การเอื้อนเสียง นักร้องลูกทุ่งทุกคนมีวิธีเอื้อนเสียงให้อารมณ์แบบพื้นบ้านที่ไพเราะน่าฟัง แตกต่างไปจากเพลงไทยอย่างชัดเจน เป็นแบบอย่างของลูกทุ่งแท้ๆ หากนำวิธีเอื้อนที่ใช้ในเพลงไทยไปใช้กับเพลงลูกทุ่งแล้ว เพลงนั้นก็จะขาดความเป็นเพลงลูกทุ่งทันที ในทางกลับกัน จะนำเอื้อนลูกทุ่งไปใช้ในเพลงไทยก็ไม่ดีเช่นกัน...พระดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชื่นชมคุณค่าและความสำคัญของเพลงลูกทุ่ง
เพลงลูกทุ่งเป็นเพลงที่มีลักษณะฟังง่าย เข้าใจง่าย สามารถนำมาร้องตามได้ ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรในการประพันธ์เพลง ไม่ว่าจะนำเพลงพื้นบ้าน เช่น ลิเก ลำตัด แหล่ หมอลำ เซิ้ง มโนราห์ มาร้องและปรับแต่งทำนองเนื้อหา ตลอดจนนำเพลงไทยเดิม หรือเพลงต่างประเทศ เช่น เพลงจีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาปรับปรุงแต่งเนื้อร้องเพิ่มทำนองใหม่ หลักสำคัญของการสร้างทำนอง คือ ให้สามารถบรรจุคำร้องและบันทึกเป็นโน้ตสากลเพื่อบรรเลงด้วยดนตรีสากลได้ลักษณะเด่นของเพลงลูกทุ่ง คือ การร้องที่ร้องอย่างเต็มเสียง ชัดถ้อยชัดคำ การเอื้อนเสียง การใช้ลูกคอ หรือการระรัวเสียงลูกคอ ของเพลงลูกทุ่ง ซึ่งมีช่วงเสียงที่ลึกและกว้าง คลื่นลูกคอแต่ละคลื่นจะห่างกัน นอกจากนี้ทำนองของเพลงลูกทุ่งก็มีลักษณะพิเศษ ที่เด่นชัดอีกประการคือ การนำท่วงทำนองจากเพลงไทยเดิมมาใช้ ดังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ไว้
(อ้างอิงจากเว็ปไซด์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เรื่องเพลงลูกทุ่ง)
·       การเปลี่ยนแปลงของเพลงลูกทุ่ง เมื่อเปรียบเทียบบทเพลงลูกทุ่งจากอดีต กับ เพลงลูกทุ่งปัจจุบัน (เนื้อหาเชิงวิเคราะห์)
(สัมภาษณ์ อาจารย์เจนภพ  จบกระบวนวรรณ ปูชนียบุคคลด้านลูกทุ่งไทย)
·       ความงามของเพลงลูกทุ่ง
เพลงลูกทุ่ง เพลงไทยรูปแบบหนึ่งที่พัฒนามาจากเพลงพื้นบ้าน บรรเลงโดยใช้เครื่องดนตรีสากล ใช้ภาษาง่ายๆ บรรยายเรื่องราวของชีวิต สภาพสังคม และวัฒนธรรม ซึ่งเน้นวิถีชีวิตของชาวชนบท มีท่วงทำนอง คำร้อง ลีลาการร้อง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ให้บรรยากาศความเป็นลูกทุ่ง เนื้อเพลงมีความหลากหลาย ตามแต่ผู้ประพันธ์จะกำหนด ทั้งแนวรัก แนวเศร้า สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ หรือเหตุการณ์สำคัญๆ ซึ่งเพลงลูกทุ่งจะบันทึกไว้ เช่น การเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ก็มีเพลง น้ำท่วม เนื้อร้องท่อนหนึ่งว่า "น้ำท่วมน้องว่าดีกว่าฝนแล้ง พี่ว่าน้ำแห้งให้ฝนแล้งเสียยังดีกว่า น้ำท่วมปีนี้ทุกบ้านล้วนมีแต่คราบน้ำตา"
เพลงลูกทุ่งได้รับความนิยมจากผู้ฟังมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากเป็นเพลงที่มีเนื้อหาเข้าใจง่าย จังหวะของเพลงมีทั้งจังหวะช้า และจังหวะสนุกสนาน ท่วงทำนองของเพลงลูกทุ่งนั้น มีทั้งที่นำมาจากเพลงไทยเดิม เพลงพื้นบ้านต่างๆ ทั้งลำตัด หมอลำ ลิเก ฯลฯ แล้วแต่ผู้ประพันธ์เพลง เนื่องจากมีการแข่งขันกันสูง ทำให้นักแต่งเพลงพยายามสร้างเอกลักษณ์ และจุดเด่นประจำตัวให้กับนักร้อง เพื่อเป็นที่จดจำ และสร้างจุดขาย เนื้อหาของเพลงเป็นที่สะดุดใจผู้ฟัง สำหรับสื่อที่ช่วยให้เพลงลูกทุ่งแพร่หลายอย่างกว้างขวาง ในสมัยก่อน คือ วิทยุทรานซิสเตอร์ ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีราคาถูก ขนาดกะทัดรัด ผู้ฟังสามารถนำไปฟังได้ทุกที่ จึงเป็นที่ถูกใจของชาวชนบท ซึ่งในสมัยก่อนนั้น อาจจะยังไม่มีไฟฟ้าใช้ และโทรทัศน์ก็เป็นสิ่งที่มีราคาแพง ต่อมาเมื่อโทรทัศน์มีราคาถูกลง และได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากมีทั้งภาพและเสียง จึงมีการเผยแพร่เพลงลูกทุ่งทั้งในรูปแบบการแสดงบนเวที มิวสิกวิดีโอ และระบบอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้เพลงลูกทุ่งเข้าถึงผู้ฟังอย่างสมบูรณ์แบบ 
เพื่อแสดงตัวอย่างเพลงลูกทุ่งที่มีท่วงทำนองมาจากเพลงพื้นบ้าน ใช้ภาษาง่ายๆ บรรยายถึงการกินอยู่ของคนไทย จึงขออัญเชิญ เพลงพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชื่อเพลง ส้มตำ มาเป็นตัวอย่าง
เพลงพระราชนิพนธ์ ส้มตำ เป็นเพลงลูกทุ่ง พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี บรรเลงครั้งแรก โดยวง อ.ส. วันศุกร์ โดยทรงขับร้องด้วยพระองค์เอง ต่อมามีผู้ขอพระราชทานพระราชานุญาต นำเพลงนี้ ไปประกอบภาพยนตร์เรื่อง ส้มตำ ใน พ.ศ. ๒๕๑๖ ขับร้องโดย
บุปผา  สายชล ต่อมานำไปขับร้องโดย พุ่มพวง  ดวงจันทร์ ในงาน "กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย" เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ และขับร้องบันทึกเสียงโดย สุนารี  ราชสีมา อีกครั้ง เนื้อร้องของเพลงมีดังนี้
เพลง ส้มตำ
ต่อไปนี้จะเล่า ถึงอาหารอร่อย     คือส้มตำกินบ่อยๆ รสชาติแซบดี 
วิธีทำก็ง่าย จะบอกได้ต่อไปนี้     มันเป็นวิธี วิเศษเหลือหลาย 
ไปซื้อมะละกอ ลูกพอเหมาะเหมาะ    สับสับเฉาะเฉาะ ไม่ต้องมากมาย 
ตำพริกกับกระเทียม ยอดเยี่ยมกลิ่นอาย     น้ำปลามะนาวน้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บถ้ามี 
ปรุงรสให้แซบหนอ ใส่มะละกอลงไป     อ้อ อย่าลืมใส่ กุ้งแห้งป่นของดี 
มะเขือเทศเร็วเข้า ถั่วฝักยาวใส่เร็วรี่     เสร็จสรรพแล้วซี ยกออกจากครัว 
กินกับข้าวเหนียว เที่ยวแจกให้ทั่ว     กลิ่นหอมยวนยั่ว น่าน้ำลายไหล 
จดตำราจำ ส้มตำลาวเอาตำรามา     ใครหม่ำเกินอัตรา ระวังท้องจะพัง 
ขอแถมอีกนิด แล้วจะติดใจใหญ่     ไก่ย่างด้วยเป็นไร อร่อยแน่จริงเอย
(อ้างอิงจาก เว็ปไซด์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เรื่องเพลงลูกทุ่ง)

·       ความเป็นมาของวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย
ประวัติวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยเมื่อปี ๒๕๔๔ อาจารย์แม่ได้เดินมาพบปะเด็กๆ ตามปกติก็ได้มาเจอเด็กกลุ่มนึง ก็คิดว่า เอ๊ะเด็กพวกนี้เขาชอบเพลงลูกทุ่งกัน ถ้างั้นเรามาทำวงดนตรีลูกทุ่งกันมั้ย อาจารย์แม่ก็อยากให้มหาวิทยาลัยของเรามีวงดนตรีสักวงนึง และเมื่อปี ๒๕๔๕ อาจารย์แม่ก็ได้เข้ามามหาวิทยาลัยพบกับเด็กกลุ่มนี้อีก อาจารย์แม่ก็เดินเข้ามาหา อาจารย์สายชล บอกว่าแม่อยากทำวงดนตรีลูกทุ่ง อยากให้ อาจารย์สายชล รบกวนเป็นที่อาจารย์ปรึกษาให้หน่อย ตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ อาจารย์สายชลก็เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวงดนตรีมาตลอดโดยตั้งเป็นชมรมลูกทุ่งภูมิปัญญาไทย และพอเมื่อตั้งเป็นวงดนตรี อาจารย์แม่ก็ได้ตั้งชื่อวงดนตรีนั้นให้เป็น วงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย มหาวิทยาลัยรัตบัณฑิต พอตั้งมาได้สักพัก ก็มีหน่วยงานอื่น เชิญวงดนตรีเราไปทำการแสดงข้างนอก ซึ่ง อาจารย์แม่เองก็ได้สนับสนุนให้กำลังใจเด็กกลุ่มนี้มาตลอดให้แนวทางว่าจะอนุรักษ์ตรงไหน จะเสริมสร้างตรงไหน จนเมื่อปี ๒๕๔๖ ทางวงดนตรีเราก็ลองประกวดครั้งแรกเป็นลูกทุ่งระดับอุดมศึกษา มีหลายๆมหาวิทยาลัยที่เข้ามาแข่งขัน ตอนนั้นเราก็ได้อันดับ ๓ ซึ่งเป็นปีแรกที่ พวกเราได้ส่งประกวด เพิ่งหัดร้อง เพิ่งหัดเล่น แต่เรายังได้รางวัลที่ ๓ กลับมา
พอมาปี ๒๕๔๗ วงดนตรีเราก็ลงแข่งประกวดวงดนตรีลูกทุ่งชิงแชมป์ประเทศไทย เราได้ผ่านรอบชิงเข้าไประดับประเทศ เราเป็นตัวแทนของภาคกลาง ก็ได้แชมป์ครั้งแรกเลยปี ๒๕๔๗  และเมื่อปี ๒๕๔๘ ก็ไปประกวดเป็นตัวแทนของภาคกลางไปแข่งระดับประเทศก็คว้าชัยชนะมาอีก และเมื่อปี ๒๕๔๙ เราก็ได้ไปประกวดอีกแต่พลาดท่าโดนปรับแพ้ ในเรื่องของการเลือกเพลง ปีนั้นเราก็เลยไม่ได้รางวัล และเมื่อปี ๒๕๕๐ เราก็ลงประกวดอีกจนสามารถเอาแชมป์กลับมาได้ แล้วหลังจากนั้นเราก็แข่งเวทีไทยช่อง ๕ ได้ลำดับที่ ๓  และเมื่อปี ๒๕๕๒ เราก็ได้ลงแข่งลูกทุ่งมหานครคอมโบ้ ของ อสมท. FM๙๕ ร่วมกับ อสมท ช่อง ๙ เราก็ได้แชมป์ หลังจากนั้นเราก็หยุดยาวไปทำการแสดงตามหน่วยงานที่ร้องขอมา หรือองค์การสังคมที่ช่วยเหลือ งานบริจาคหาเงินรายได้เข้ามูลนิธิ จนมาถึง ๑๓ กันยายนที่ผ่านมาเราก็ได้มีโอกาสลงสนามแข่งอีกครั้งที่จังหวัดพิษณุโลก ในการประกวดวงดนตรีดาวรุ่ง ลูกทุ่งนเรศวร ก็ประสบความสำเร็จมาอีกครั้ง และเราเป็นสถาบันเดียวที่ได้ถ้วยรางวัลที่เยอะที่สุดในประเทศไทย
ซึ่งในปัจจุบันสมาชิกวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย มีสมาชิกในวงประจำปีการศึกษา 2558 ทั้งหมด 65คน ประกอบด้วย นักดนตรี  25  คน แดนเซอร์ 16 คำ นักร้อง 16 คน และทีมงานฝ่ายอื่น ๆ 8 คน
“บทสัมภาษณ์ตอนหนึ่งของ อ. สายชล ดวงแก้ว อาจารย์ผู้ควบคุมวงดนตรีลูกไทยปัญญาไทย เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558 ตึกศิลปกรรมศาสตร์”

ประเด็นที่ 2 กลยุทธ์ในการวางแผนการแข่งขัน
                เนื้อหาเชิงวิเคราะห์  การวางแผนกลยุทธ์ในการแข่งขัน ด้านการร้อง, ดนตรี, แดนเซอร์ และการแสดง
เนื้อหาประกอบ
                การวางแผนกลยุทธ์ในการแข่งขัน ด้านการร้อง, ดนตรี
ประเด็นคำถาม
1.             กลวิธีในการเลือกเพลงที่ใช้ในการแข่งขัน
2.             เทคนิคที่ใช้ในการสร้างสรรค์เพลง ทั้งทำนอง และเนื้อร้องที่ทำขึ้นมาใหม่
(ในการแข่งขันบางกรณี)
3.             การศึกษา ดูเกมส์ของคู่แข่งขัน  ว่ามีข้อดี ข้อเด่น อะไรที่เราต้องพัฒนา
(สัมภาษณ์อาจารย์สายชล ดวงแก้ว อาจารย์ผู้ควบคุมวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย)

การวางแผนกลยุทธ์ในการแข่งขัน แดนเซอร์ และการแสดง
ประเด็นคำถาม
1.             เทคนิคที่ใช้ในการสร้างสรรค์ท่าเต้น การแสดงที่ใช้ในการแข่งขันแต่ละครั้ง
2.             การศึกษา ดูเกมส์ของคู่แข่งขัน  ว่ามีข้อดี ข้อเด่น อะไรที่เราต้องพัฒนา
(สัมภาษณ์อาจารย์เอกพัฒน์ อยู่ยิ่ง อาจารย์ผู้ควบคุมวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย)

ประเด็นที่ 3 ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในวง
เนื้อหาเชิงวิเคราะห์  ชีวิต กับ การแข่งขัน
ประเด็นคำถาม
1.                การจัดสรรเวลาเรียน กับ การร่วมกิจกรรมของวงดนตรีลุกทุ่ง
2.                ความรู้สึกที่ได้รางวัลถ้วยพระราชทาน และเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
3.                คุณมองตัวเองอย่างไรในอนาคต

สัมภาษณ์นางสาวรัชนี สร้อยกุดเรือ  ประธานชมรมลูกทุ่งปัญญาไทยรุ่นที่ 11
                                เหตุผลที่เลือก เนื่องจากทางชมรมจะมีการเลือกตั้งประจำปีการศึกษาทุกปี เพื่อเลือกสรรบุคคลที่มีความเป็นผู้นำ เป็นผู้ที่มีความสามารถ ประสบการณ์ และได้การยอมรับ เคารพนับถือของสมาชิกในวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย
สัมภาษณ์นายณัฐวุฒิ บุตตะ นักร้องนำวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนฯงานดาวรุ่งลูกทุ่งนเรศวรครั้งที่ 7
                เหตุผลที่เลือก เนื่องจากนายณัฐวุฒิ บุตตะ และนางสาวสุนิดา นุ่มจันทร์ นักร้องนำวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย เป็นนักร้องนำวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยแข่งขันงานดาวรุ่งลูกทุ่งนเรศวรครั้งที่ 7ได้รางวัลชนะเลิศถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนฯซึ่งสอดคล้องในเนื้อหาเชิงวิเคราะห์ ชีวิตกับการแข่งขัน ที่ต้องรับผิดชอบทุกการเรียนและกิจกรรมไปพร้อมกัน

แหล่งอ้างอิงข้อมูล
ประเภทหนังสือ
-                   สำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่ม 33เรื่องที่ 2 เพลงลูกทุ่ง
-                   วิทยานิพนธ์ กาญจนา สิงห์อุดม “อัตลักษณ์เลขนศิลป์ลูกทุ่งไทย” มหาวิทยาลัยศิลปกร
ประเภทสัมภาษณ์
-                   อาจารย์สายชล ดวงแก้ว อาจารย์ควบคุมวงดนตรีลูกปัญญาไทย
-                   อาจารย์เอกพัฒน์ อยู่ยิ่ง อาจารย์ควบคุมวงดนตรีลูกปัญญาไทย ด้านการแสดง
-                   นางสาวรัชนี สร้อยกุดเรือ  ประธานชมรมลูกทุ่งปัญญาไทย
-                   นายณัฐวุฒิ บุตตะ นักร้องนำวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย
ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนฯงานดาวรุ่งลูกทุ่งนเรศวรครั้งที่ 7
-                   นางสาวปิยะพร แก่งเสี้ยน นักร้องนำวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย
ประเภทเว็บไซต์
-                   http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php
(โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เพลงลูกทุ่ง เล่ม 33)








อาจารย์คิดว่าคุณค่าของบทเพลงลูกทุ่งมีความโดดเด่นอย่างไรบ้าง?
(สัมภาษณ์ อาจารย์สายชล ดวงแก้ว วันที่
17 กันยายน 2558 ที่ตึกศิลปกรรม เวลา 15.00 น.
สัมภาษณ์โดยนายจิรายุทธ โสภา)
ก่อนอื่นก็จะพูดถึงเพลงลูกทุ่งโดยทั่วไปก่อน บทเพลงลูกทุ่งไทยเป็นรากเหง้าของคนไทยเป็นวัฒนธรรมที่ได้สืบสานสืบทอดต่อกันมาจากคนรุ่นเก่าๆ ก็จะมีวัฒนธรรมมีวัฒนาการมาจากบทเพลงพื้นบ้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นเพลงฉ่อย เพลงรำตัด เพลงอิแซว เพลงเห่เรือต่างๆ ก็ได้มาพัฒนาให้เป็นเพลงลูกทุ่ง ซึ่งเริ่มแรกเพลงลูกทุ่งของเราจะเป็นทำนองเพลงไทยเดิมเป็นส่วนใหญ่ก็ได้พัฒนามาผสมผสานกับดนตรีตะวันตกและเพลงดนตรีพื้นบ้าน 4 ภาคของไทยจนเกิดมาเป็นบทเพลงลูกทุ่งและถามว่าทำไมถึงเกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษาหรือเกี่ยวกับเยาวชนสิ่งที่เราทำอยู่ก็เป็นการอนุรักษ์เผยแพร่ส่งเสริมสร้างสรรค์ให้กับเยาวชนได้สัมผัสกับวัฒนธรรมบทเพลงลูกทุ่ง เป็นการปลูกฝังปลูกจิตสำนึกให้รักหวงแหน มรดกศิลปวัฒนธรรมของไทยเรา
               ประวัติความเป็นมาของวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่?
(สัมภาษณ์ อาจารย์สายชล ดวงแก้ววันที่
17 กันยายน 2558 ที่ตึกศิลปกรรม เวลา 15.00 น.
สัมภาษณ์โดยนายจิรายุทธ โสภา)
เริ่มต้นที่ RBAC เราเป็นการเริ่มต้นของกลุ่มนิสิตซึ่งก็เป็นชมรมธรรมดาเมื่อก่อนตั้งชื่อชมรมว่า ทรานซิสเตอร์ ถ้าพูดถึงคำๆนี้ ก็จะมองถึงวิทยุสมัยก่อนก็มาเปิดฟังกัน FM บ้างAMบ้าง ก็จะเปิดเพลงลูกทุ่งส่วนใหญ่ในสมัยนั้นและคนกลุ่มนี้ นิสิตกลุ่มนี้ก็จะมาร้องรำทำเพลงกัน คนไหนชอบร้องก็จะร้อง คนไหนชอบเต้นก็จะเต้น โดยที่ไม่มีแบบแผนก็เห็นจากทีวีเห็นจากวงดนตรีที่เขาเล่นสดกันบ้างก็มาประยุกต์ใช้ ซึ่งเมื่อก่อนไม่มีคณะวงดนตรีก็จะมีแต่นักร้องและแดนเซอร์
           เมื่อปี 2544 อาจารย์แม่ได้เดินมาพบปากเด็กๆตามปกติก็ได้มาเจอเด็กกลุ่มนี้ ก็เลยว่าเอ๊ะเด็กพวกนี้เขาชอบลูกทุ่งกันถ้างั้นเรามาทำวงดนตรีลูกทุ่งกันไหม อยากให้มหาลัยเรามีวงดนตรีสักวงหนึ่ง
           เมื่อปี 2545 อาจารย์ก็ได้เข้ามามหาลัยเด็กกลุ่มนี้ก็เดินเข้ามาหา อ.บอกว่าหนูอยากทำวงดนตรีลูกทุ่ง ก็อยากให้ อ. รบกวนเป็นที่ปรึกษาให้หน่อย ตั้งแต่ปี 2545 อ. ก็เป็นที่ปรึกษาเป็นมา และพอเมื่อเป็นวงปุ๊บ อ.แม่ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย มหาวิทยาลัยรัตบัณฑิต พอตั้งมาได้ปุ๊บก็มีหน่วยงานอื่นเขาเชิญเราไปทำการแสดงข้างนอก ซึ่ง อ. แม่เองได้สนับสนุนให้กำลังใจเด็กกลุ่มนี้มาตลอดให้แนวทางว่าจะอนุรักษ์ตรงไหนจะเสริมสร้างตรงไหน
                 เมื่อปี 2546 เราก็ลองประกวดครั้งแรกเป็นลูกทุ่งระดับอุดมศึกษา มีหลายๆมหาลัยมาแข่งขัน เราก็ได้อันดับ 3 เป็นปีแรกที่พวกเขาได้ประกวดเพิ่งหัดร้องเพิ่งหัดเล่น แต่เรายังได้ที่ 3
                 -มาปี 2547 เราก็ลงแข่งอีกประกวดวงดนตรีลูกทุ่งชิงแชมป์ประเทศไทย เราได้ผ่านรอบชิงเข้าไประดับประเทศ เราเป็นตัวแทนของภาค ก็ได้แชมป์ครั้งแรกเลยปี 2547
                 -เมื่อปี 2548 ก็ชนะอีก และเมื่อปี 2549 เราได้ไปผ่านท่าโดนปรับแพ้เฝาในเรื่องของการเลือกเพลงปีนั้นเราก็เลยไม่ได้รางวัล
                  -เมื่อปี 2550 เราก็ลงประกวดสามารถเอาแชมป์กลับมาได้ แล้วหลังจากนั้นเราก็แข่งเวทีไทยช่อง5 ได้ที่3 และเมื่อปี2552 เราก็ได้ลงแข่งลูกทุ่งมหานครคอมโบ้ ของ อสมท FM95ร่วมกับ อสมท ช่อง9 เราก็ได้แชมป์หลังจากนั้นเราก็หยุดยาวไปทำการแสดงตามหน่วยงานที่ร้องขอมา หรือองค์การสังคมที่ช่วยเหลืองานบริจาคหาเงินรายได้เข้ามูลนิธิ จนมาถึง 13 กันยายนที่ผ่านมาเราก็ได้มีโอกาสลงสนามแข่งอีกครั้งที่จังหวัดพิษณุโลก ก็ประสรุปความสำเร็จมาอีก เราเป็นสถาบันเดียวที่ได้ถ้วยเยอะที่สุดในประเทศไทย
                    กลยุทธ์ในการวางแผนการแข่งขัน นักร้อง และ ดนตรี
(สัมภาษณ์ อาจารย์สายชล  ดวงแก้ว วันที่
8 ตุลาคม 2558 ที่ตึกศิลปกรรม เวลา 15.30 น.
สัมภาษณ์โดยนายฐานาวุฒิ บุญแนบ)
                   ฐานาวุฒิ : อาจารย์มีกลยุทธ์ในการเลือกนักร้องอย่างไรบ้าง
อาจารย์ตอบ :  ครับถ้าพูดถึงน้องๆ ในวงเนี่ย ความจริงแล้ว คนที่มีศักยภาพเนี่ยเยอะนะ ในวงเนี่ย แต่ที่เราเลือกสองคนนี้เนี่ย อย่างครั้งแล้วเนี่ยที่มาประกวด จะเป็นน้องกับน้องออย เพราะว่า 1 ต้องศึกษาดูว่า เขามีประสบการณ์มากน้อยแค่ไหน นะครับ ถ้าคนที่เคยมีประสบการณ์ขึ้นเวทีเนี่ย ก็จะทำให้เค้าไม่มีความประหม่า หรือเคยประกวดมาแล้ว เคยออกงานบ่อยๆ  เราต้องเลือกหนึ่งประเด็นนี้เนี่ยสำคัญ ว่านักร้องใหม่ๆพวกนี้พอขึ้นเวทีเนี่ย ด้วยสภาวะกดดันก็จะตื่นเต้น ลืมเนื้อบ้าง เสียงสั่นบ้าง อารมณ์ไม่ได้บ้าง ปัญหาบนเวทีเยอะมาก พอมันเกิดขึ้นปุปนะ ดนตรีมันเล่นรอบเดียว ไม่มีรอบสองเหมือนมวย พลาดแล้วพลาดเลย ประเด็น2 เลือกแก้วเสียง คนแต่ละคนเนี้ย บางคนร้องเพลงเพราะเหมือนกัน แต่ว่าแก้วเสียงเนี้ยเขาเรียกว่าพรสวรรค์ติดตัวมาแต่กำเนิด นะครับ แก้วเสียงเนี่ยสำคัญ เพราะว่าแก้วเสียงเนี้ยมีผลยังไง 1 เสียงที่เปล่งออกไปปั๊บมันเข้าไมโครโฟนมันผ่าน เครื่องทรงเครื่องเสียง ผ่านออกลำโพงปั๊บมันออกมาไบท์หรือเปล่า ความไบรท์ของเสียงเนี้ยคือความใส ความสะอาด ความชัดเจนของเสียง นะครับ คือตรงนี้เนี้ยมันสร้างกันไม่ได้ เพราะมันเป็นพรสวรรค์มาตั้งแต่กำเนิด เราต้องมองในประเด็นนี้ ประเด็นสำคัญ อันที่ 3 บุคลิกภาพ นะครับ โอเค อาจจจะไม่ต้องหล่อมาก สวยมาก แต่บุคลิกภาพต้องดูดีตอนร้องเพลง นะครับ อย่างบางคน นักร้องบางคนเนี้ยหน้าตาไม่ดีเลย แต่พอตอนร้องเพลงปั๊บ โอ้โห้ สวย ดูหล่อขึ้นมาทันทีเลย เหมือนศิลปินบางคนเนี้ย ไม่ต้องบอกว่าพาดพิงถึงชื่อใคร บอกว่าหน้าตาไม่ดีแต่ร้องเพลงออกมาเพราะ ชวนให้เราต้องไปมองเขา ร้องเพลงมีลูกเล่นอะไรเยอะแยะมากมาย เพราะงั้นประเด็นนี้ก็สำคัญบุคลิกภาพการแต่งกายด้วยนะครับ แล้วมันต้องสร้าง Sex Appeal ตัวเองบนเวทีเวลาที่ เอ่อ คนดูหรือท่านผู้ชมมองมาปั๊บ เนี้ย โอ้ มันใช่อ่ะ มันไม่มีอะไรค้านกับความรู้สึก กับตาที่มองเห็นไปกับหูที่ฟังปุ๊บ คือเสียงได้ แต่หน้าไม่ได้ แต่งตัวสวยหล่อเงี้ย ประกอบดนตรีที่หนุนนำนะครับ โอ้ย มันดูแล้วขนลุก ดูแล้วชื่นใจ อะไรประมาณนี้ อันที่ 4 เลยก็คือเรื่อง ระเบียบวินัยเหมือนกันนักร้อง อ่า บางคนเก่งนะครับ นักร้องบางคนเก่ง เหมือนนักกีฬานั่นแหละครับ นักกีฬาบางคนเก่งแต่ไม่เชื่อโค้ดสุดท้ายก็ไปไม่รอด นะครับ คนจะเก่งแค่ไหนก็ตามแต่ ก็ต้องมีโค้ด เพราะว่าโค้ดเนี่ย อ่า มันสะท้อน ปัญหาทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา เพื่อให้เราพัฒนาต่อไปได้ มันเป็นกระส่องเรานะครับ ถ้าเราไปฝึกร้องเพลงคนเดียวเนี่ย เราก็จะร้องตามใจเราคิดว่ามันเพราะแล้วก็จะร้องแบบเนี้ย แต่ถ้ามีโค้ดมีคนบอกตลอดเวลา ว่า ตรงนี้มันเพี้ยนนะ จะเล่นตรงนี้นิดนึง เอี้ยนนิดนึง คำควบกล้ำ ร เรือ ล ลิง ต่างๆ เนี้ยก็เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องให้เขาแม่นในเรื่องของพวกนี้ เรื่องภาษาไทย นะครับ มีอะไรอ่ะ นอกจากระเบียบวินัยแล้วนะครับ อีกประเด็นนึงก็คือ หัวใจ หัวใจของคำว่า เขาอ่า พร้อมที่จะมาทำกิจกรรมนี้จริงๆ หรือเปล่า หรือเราไปยัดเยียดบทบาทหน้าที่ให้กับเขา เขาต้องมีความจริงใจ ความจริงใจนั้นหมายความว่า หนึ่งต้องมีความจริงใจต่อศิลปวัฒนธรรมแขนงนี้ด้วย ถ้าเขาไม่มีความจริงใจเมื่อไหร่ปั๊บ เขาจะทำด้วยความไม่เต็มใจ  พอทำด้วยความไม่เต็มใจคือมันไม่เต็มที่ เพราะงั้นสิ่งนี้จะต้องคิดถึงไว้ว่า ต้องมองเด็กไว้ว่า เห้ย..เขาได้หรือเปล่าหัวใจเขาได้ไหม เหมือนนักมวยยังเงี้ย คนไม่ชอบต่อยมวยเป็นคนชอบเตะฟุตบอลแต่บังคับให้ต่อยมวย ก็ต่อยได้ แต่ก็คือ อาจจะทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ร้องก็เหมือนกัน อ่า เราต้องอย่าลืมว่า นักร้องคือแม่ทับใหญ่การแข่งขันการประกวดวงดนตรีลูกทุ่ง นะครับ เป็นคนที่แบบ ชูดาบไว้อยู่ข้างหน้า เราจะบุกหรือไม่บุก ชนะหรือไม่ชนะ นักร้องเนี้ย คือแม่ทับเลย คือเรานะ นักร้องสองคนเนี้ย ก็ถือว่าเราไม่ผิดหวังที่ ที่เราเลือกเขามาเพราะเขาทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ นะครับ ก็ไม่ค่อยมีถูกตำหนิ อะไรเลยจากครั้งที่ผ่านมา นะครับ ก็จะมีที่ให้เพิ่มเติม พัฒนาต่อจากคณะกรรมการก็มีเท่านี้คับการเลือกนักร้อง แต่ถ้าคนหลายๆ คนมองข้ามสิ่งนี้ไปปั๊บเนี้ย ก็จะเกิดปัญหาการฝึกซ้อมอย่างนึง การฝึกซ้อมเรื่องข้อเสียเปรียบพรสวรรค์ นะครับ ไอ้เรื่องพรแสวงเนี้ย เราก็ทำกับเด็กตลอดเวลาอยู่แล้ว ว่าต้องเพิ่มต้องเติมอะไร แต่พรสวรรค์ แก้วเสียงอะไรพวกนี้มันไม่ได้เลย บางคนร้องเพลงมาตั้งแต่เด็กชีวิตก็ไปไหไม่รอดเพราะว่าเสียงเหมือนเป็ดเงี้ย ใช่ไหมฮะ ร้องเพลงไม่เพี้ยนเลยแต่คือน้ำเสียงคนเราไม่เหมือนกัน กล่องเสียงนะครับก็มีเท่านี้ครับเทคนิคการเลือกนักร้อง
                   ฐานาวุฒิ : อาจารย์มีกลวิธีเลือกเพลงที่ใช้ในการแข่งขันและเทคนิคที่ใช้ในการสร้างสรรค์เพลง ทั้งทำนองและเนื้อร้องที่ทำขึ้นมาใหม่ (ในการแข่งขันบางกรณี) อย่างไรบ้าง
อาจารย์ตอบ : สำหรับเพลงที่เลือกมาแข่งขันมันก็จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของกฎกติกาของกองประกวดของผู้จัดด้วยนะครับอย่างเช่นถ้าเป็นเพลงบังคับอาจจะเป็นเพลงที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือเป็นเพลงเกี่ยวกับสร้างสรรค์สังคมเช่นเกี่ยวข้องกับเรื่องยาเสพติดเรื่องโรคเอดส์หรือเป็นกิจกรรมไรก็ตามแต่เช่นเป็นเพลงที่สร้างสรรค์เกี่ยวกับธรรมชาติแล้วแต่แล้วแต่ละกองประกวดก็จะมีข้อบังคับให้เราหรือป่าวนะครับ ส่วน ส่วนทุกเวทีการประกวดก็จะมีให้เราเลือกเพลงที่อิสละที่เราถนัดอยู่แล้วเพลงหนึ่งบางเพลงก็จะกำหนดเป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์ของในหลวงเราก็แล้วแต่เวทีการประกวด แต่เมื่อได้รับโจทย์ ได้รับโจทย์มาเนี่ยอย่างเช่น ถ้าการประกวดลูกทุ่งเช่นที่ผ่านมาเนี่ยเมื่อล่าสุดที่ ม นเรศวร เป็นเพลงบังคับที่เกี่ยวข้องกับองค์พระเทพนะครับ เราก็ต้องมานั่งเอาเพลงที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเทพมารีเพลว่าเพลงไหนมันจะเหมาะกับที่จะให้นักร้องร้องอันที่หนึ่ง อย่างที่สองคือเพลงไหนที่มันเอื้อต่อการทำโชว์ในความหมายที่ว่าโชว์จินตลีลา แอฟเตอร์ต่างๆที่จะสร้างสรรค์ในการแสดงนะครับ อันที่สามก็ต้องมาเช็คดูว่าเพลงนี้มีความยากง่ายแค่ไหนเหมาะหรือป่าวที่จะเอามาเล่น นะครับ เมื่อเราเลือกเพลงได้แล้วปุ๊บเนี่ยเราก็ต้องหาความต่าง เพราะว่าเพลง เพลงที่เกี่ยวกับสมเด็จพระเทพเนี่ยในประเทศไทยก็จะมีไม่กี่เพลง เพราะมันเป็นเพลงเฉพาะเป็นเพลงที่ถูกแต่งขึ้นในวาระและโอกาสต่างๆเผื่อเอ่ออาจจะเป็นเทิดพระเกียรติ์บ้างอะไรบ้างนะครับ พอเลือกมาปุ๊บเนี่ยเราก็ต้องมาวิเคราะห์ว่าเราจะสร้างความต่างยังไง ความต่างหมายถึงว่า วงทุกวงก็อาจจะเลือกเพลงเหมือนเราก็ได้เช่นเพลงพระเทพของชาวไทยหรือพระเทพทรงบุญหลายๆวงอาจจะใช้เหมือนเราแต่เราจะทำยังไงล่ะ เราก็ต้องมาคิดคิดคิดที่ว่าวางโครงสร้างแนวที่ว่าเราจะทำอย่างไรให้งานชิ้นนี้มันแตกต่างออกไปจากสถาบันอื่นจากวงอื่นที่เขามาแข่งขัน อย่างแรกเลยหนึ่งก็ต้องดูเนื้อเพลงว่า เพลงนั้นๆที่เราเลือกมาเป็นเป็นเป็นเพลงผู้หญิงหรือว่าผู้ชายนะครับ ส่วนใหญ่แล้วถ้าเกิดว่ามันเป็นเพลงผู้หญิงปุ๊บเราก็จะหักโดยการนำเอานักร้องผู้ชายมาร้องให้เกิดความต่างจากวงอื่นประเด็นที่หนึ่งเราคิดแบบนี้นะครับ ประเด็นที่สองการเรียบเรียงดนตรี การเรียบเรียงดนตรีนั้นจะต้องเช็คคีย์กับนักร้องคนที่เราเลือกมาว่าน้ำเสียงของเขามีความกว้างแค่ไหนและเหมาะกับคีย์อะไร จะลงมือเรียบเรียงเพลงนั้นๆให้กับนักร้องคนนี้นะครับ เมื่อได้คีย์แล้วนะครับเมื่อได้คีย์แล้วปุ๊บ เข้าสู่กระบวนการเรียบเรียงเพลงเนี่ยเราก็จะวิธีคิดหนึ่งเราอาจจะเรียบเรียงขึ้นใหม่โดยที่ไม่มีเค้าโครงเดิมวิธีที่สองคือการเรียบเรียงขึ้นใหม่แต่อาศัยเค้าโครงเดิมของผู้เรียบเรียงไว้ก่อนหน้านั้นของต้นฉบับนะครับ หรืออันที่สามคือใช้โน้ตต้นฉบับเราต้องใช้เลื่อนแต่ส่วนใหญ่ที่ครูทำกับทุกๆถ้วยเลยเนี่ยครูก็จะเป็นการเรียบเรียงใหม่บ้างและเรียบเรียงจากเค้าโครงเดิมแล้วก็สร้างสีสันโดยพยายามดึงเครื่องดนตรีไทยเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสานเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะว่า เพราะว่ามันเป็นกลิ่นอายของลูกท่ง เครื่องดนตรีพื้นเมืองเนี่ย เป็นดนตรีประจำชาติ ดนตรีพื้นเมือง พวกดนตรี สลอดเป็นของทางเหนือ แม้กระทั่งพวกแนวดนตรีของพวกมโนราห์พวกของทางใต้นะครับก็จะมีมาเกี่ยวข้องนะครับในหลายๆถ้วย เมื่อเราได้เรียบเรียงปุ๊บเนี่ยเราก็จะพยายามที่จะฉีกแนวดนตรีหรือเรียกว่า เค้าเจอร์หรือคัลเลอร์ สีสันต่างๆของเครื่องดนตรีแต่ละเครื่อง เราต้องมาวิเคราะห์อีกว่าวงเราเนี่ยมีเครื่องดนตรีอะไรบ้างมีทรัมเป็ตกี่ตัว มีทอมโปนกี่ตัวมีแทมเปอร์กี่ตัวนะครับทุกอย่างที่คีบอร์ดใช้กี่ตัว กีตาร์กี่ตัวนะครับ แล้วเครื่องดนตรีเสริมมาเนี่ยนอกจากเครื่องดนตรีหลักที่เราใช้ในวงลูกทุ่งแล้วเนี่ยเครื่องดนตรีพื้นเมืองเราจะใช้อะไรมาบ้างนะครับเมื่อเรารู้ว่าวงเราเนี่ย เป็นประมาณนี้เราต้องเรียบเรียงให้ทุกเครื่องมือของเราที่ชนะการประกวดมีบทบาทสำคัญทุกอย่าง ไม่ใช่ขนไปยิ่งใหญ่อลังการมากเลย แต่ทรัมเป็ตมาเป่าแปบเดียวเพลงนี้ไม่ได้เราต้องทำให้ทุกคนมีส่วนที่เชื่อมเข้าหากันให้ได้เนื้องานที่สมบูรณ์ และมีส่วนต่างจากต้นฉบับและก็เขาเรียกว่าอะไร เนื้อของดนตรีจะมีความแน่น จะไม่ใช่ฟังเหมือนกับที่เราฟังในแผ่น ฟังสบายๆการปลุกอารมณ์ เร้าอารมณ์ได้มากขึ้นให้มันเร้าใจมากขึ้นหรือให้มันฉุดอารมความเศร้าความไพเราะให้มันมากขึ้น ทีนี้เมื่อได้เพลงเสร็จแล้วปุ๊บเราเน้นเสร็จเราก็จะมาให้วงลองเล่นดูเมื่อวงเล่นปุ๊บเราเห็นปัญหาเราก็จะแก้เลยเราก็จะแก้ทันที แก้ทันทีพอแก้แล้วปุ๊บ ถ้าเพลงที่เราแก้แล้วมันโอเคเราก็จะส่งเพลงนี้ให้กับคนทำโชว์แดนเซอร์นะครับว่าเขาจะไปคลีเอ็ดงานต่อจากเรายังไงเรามีโครงสร้างดนตรีแบบนี้แดนเซอร์จะเข้ายังไงออกยังไงจะออกแบบท่าเต้นออกแบบเสื้อผ้าให้มันเหมาะกับเนื้องานอันนี้ในลักษณะของการมีการบังคับต้องเลือกเพลงที่มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ นะครับ อย่างไรก็ตามแต่ อย่างถ้วยที่เราประกวดลูกทุ่งที่ ปวส ก็จะบังคับเพลงที่เกี่ยวกับการต้อนต้านยาเสพติดนะครับ ครูก็เคยแต่งเพลง แต่งเพลง ขึ้นมาใหม่ เป็นเพลงชื่อเพลงว่าสยามรวมใจต้านภัยยาเสพติดอันนั้นเราก็จะเอาทั้งดนตรีไทยดนตรีพื้นบ้าน คล้องมโนราห์ติ่งนองติ่งนองคือ เข้าหมดเลยก็จะแต่งเพลงในแต่ละท่อนเป็นภาษาเหนือภาษาอีสานภาษาใต้ ภาษาภาคกลางแต่ละท่อนแต่ละท่อน พอถึงท่อนฮุกเราก็จะขยับมาเป็นทุกภาคร้องรวมกันให้เป็นภากลางให้หมดทุกภาคอันนั้นก็เป็นเพลงบังคับที่เขาบังคับว่าเฮ้ยต้องแต่งเพลงต้านยาเสพติดนะอันนี้ข้อเท็จจริงแล้วข้อบังคับให้เป็นเพลงที่เกี่ยวกับองสมเด็จพระเทพและมีครั้งหนึ่งที่ปีประมาณปีห้า ห้า ห้าสามเราได้ถ้วยมหานครคอมโบ้ อสมท ช่องเก้าอันนั้นเป็นเพลงลักษณะที่ว่าบังคับต้องเป็นเพลง ที่เกี่ยวกับในหลวงครูก็ได้แต่งเพลงชื่อเพลงว่า บุญของแผ่นดินก็จะพูถึงตั้งแต่เรื่องของประวัติศาสตร์ไทยสมัยก่อนสุโขทัยเข้ามาสุโขทัย เข้ามากรุงศรีอยุธยาเข้ามาเข้ามากรุงธนบุรี      กรุงรัตนโกสินทร์เราก็จะไล่มาๆตามแถบแล้วก็เพราะบารมีของในหลวงเนี่ยนะครับที่ได้ดูแลประชาชนเนี่ยให้อยู่ดีกินดีมีสุขปัดเป่าโพยไพต่างๆหลายๆสิ่งหลายๆอย่างและพระราชกรณียากิจต่างๆก็เอามารวมในเพลงนี้นะครับ ก็ทำให้เราประสบความสำเร็จในการที่แต่งเพลงในไปประกวดทีนี้ก็จะมีเพลงในอีกลักษณะหนึ่งที่เราเลือกเพลงอันนี้ก็สำคัญถ้าเราจะเลือกเพลงใดเพลงหนึ่งให้นักร้องหนึ่งเราต้องดูศักยภาพของนักร้องด้วยว่านักร้องของเราเนี่ยมันมีประสิทธิภาพแค่ไหนเทียบที่สายเสียงเส้นเสียงว่าเพลงนี้ไหวไหมร้องถึงไหมนะครับลูกคอคนนี้เขาเป็นยังไงนะคับเราถึงจะเลือกเพลงอันนั้นมาให้เขามาเทียบคีย์ปุ๊บมันเราก็ต้องหาเทคนิค ยิ่งเป็นเพลงเร็วแล้วด้วยเนี่ย เรายิ่งต้องหาเทคนิคของแนวดนตรีต่างๆมาผสมผสานให้เข้ากับดนตรีทั่วไปให้ลงตัวให้ได้ครั้งที่แล้วเราไปเราใช้ลักษณะคือพวกลาตินพวกดิสโก้พวกจังหวะร็อคอะไรพวกนี้นะครับผสมผสานกันเราก็เลยแบบอ่อฟังเพลงเดียวปั๊บมันได้หลายสิ่งหลายรสชาติมันก็ทำให้การแสดงไม่น่าเบื่อนะครับ ผู้ชมก็มีความชื่นชอบก็เป็นที่ยอมรับของคณะกรรมการนะครับอันนี้ก็เป็นเทคนิคในการเลือกเพลง แต่ทีนี้เนี่ย เมื่อได้เพลงมาปุ๊บนี่คือการวางแผนและกะเตรียมการนั้นๆจนถึงเวลาการทำจริงปั๊บนั้นคือขั้นตอนการซ้อมเนี่ยเราจะใช้หลักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นหลักนะครับแม้กระทั้งเรื่องการปรับวง ปรับวงคือต้องปรับความสมดุลบลานของจุดต่างๆ ของทุกเครื่องมือ เช่นถ้าทรัมเป็ตมันป่าดังไปก็จะทำให้เพลงไม่ไพรเราะถ้ากีต้าร์มันเล่นดังไปมันก็ไม่ไพรเราะจริงไหมครับเพราะฉะนั้นเราต้องปรับความสมดุลแล้วฝึกให้เขาเล่นให้ฟังประกอบกับฝึกเทคนิคในการเล่นเครื่องดนตรีอีกด้วยว่าดนตรีมีเทคนิคอะไรบ้างแล้วสำเนียงดนตรีก็เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะว่าสำเนียงดนตรีจะเกี่ยวข้องกับภาษาถ้าเป็นดนตรีไทยปั๊บเนี่ยสำเนียงก็จะออกแบบไทยๆนะครับเราจะระนาดไปตีสำเนียงฝรั่งภาษามันไม่ออกใช่ไหมครับมันก็จะออกสำเนียงไทยสำเนียงมาปุ๊บก็ต้องให้เป็นสำเนียงของสำเนียงพื้นเมืองแต่ว่าแบล็คกราวทั้งหมดเลยเราจะใช้ดนตรีสากลเป็นหลักนะครับมันก็จะเหมือนกับคนไทยกับคนฝรั่งแล้วคุยกันรู้เรื่องในเพลงนี้มารวมกันนะ  ซ้อมแต่ละรอบแต่ละครั้งเนี่ยเราจะทำสถิติว่ารอบนี้เขามีความผิดพลาดกี่เปอร์เซ็นต์นะครับจากโน้ตที่เราอะเล็มมาและสิ่งที่เราปรับไว้ต่างๆทั้งอารมและความรู้สึกตามเพลงเราก็จะทำสถิติว่าพลาดและนะครั้งนี้พลาดอีกแล้วครั้งนี้ได้ครั้งต่อไปพลาดจะจดสถิติการซ้อมของเขาแต่ละวันว่ามีความพลาดมากน้อยแค่ไหนนะครับถ้ามันยังมีข้อผิดพลาดเดี่ยวทรัมเป็ตพลาดบ้าง กีตาร์พลาดบ้างทีนี้ความพลาดหลายๆสิ่งหลายๆอย่างมันก็ทำลายงานเราหมดเลยนะครับเพราะว่าแข่งขันดนตรีเนี่ยมันเหมือนนักวิ่ง ซ้อมมาทุกวันซ้อมวันละสามสี่ชั่วโมงซ้อมมาทั้งปีแต่เวลาแข่งจริงๆและเพลงอาจจะใช้แค่สิบเอ็ดวิถ้าเป็น60-80เมตรแปบเดียว เพราะฉะนั้นเนี่ยเราต้องให้มันอะชัดเจน ให้มันละเอียดที่สุดผลของการฝึกซ้อมก่อนที่จะขึ้นประกวดจริงและความผิดพลาดนั้นก็จะลดน้อยลงแค่นั้นเองอันนี้ก็เป็นการปรับวงหลายๆคนก็มาถามผมว่าจะมีวิธีการปรับยังไงที่ทำให้ ให้เด็กมันเล่นได้แบบนี้อันที่หนึ่งครูว่ามันเกี่ยวกับแรงจูงใจด้วยเหมือนเราบังคับให้เขาเป่าหลายๆรอบหลลายๆรอบแต่เราไม่มีคำอธิบายเลยว่าเขาผิดพลาดอย่างไร แล้วเราควรเพิ่มเติมให้กับเขาตรงไหนถ้าเกิดว่าเขาไม่รู้อะไรจากเราตรงนี้เลยเนี่ยเขาก็จะทำผิดแบบซ้ำๆๆๆโดยที่ไม่มีการพัฒนาอะไรขึ้นเลยแต่ถ้าเราสอนเขาเทคนิคเขาปรับเขาทุกครั้งแล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงแล้วเขาเข้าใจว่าเห้ยอารมณ์มันต้องเป็นแบบนี้เราสามารถสื่อสามารถสร้างแรงจูงใจให้กับเขาได้และงานของเรามันก็จะออกมาแบบแฮปปี้ตามที่เราต้องการเมื่อถึงเวลาที่เราบรรเลงปุ๊บเนี่ยทุกคนมีอารมเป็นหนึ่งเดียวกันปุ๊บมันก็จะสะท้อนออกมาทางเสียงและการแสดงคนละอย่างนะครับ อันนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญระยะเวลาในการสร้างแรงจูงใจของเขาเนี่ยถือว่าเป็นเทคนิคที่ที่มันลอกเลียนแบบกันไม่ได้มันอยู่ที่ว่าเราเราเราเขาเรียกว่าอะไรอะมันอายคอนแทคแค่มองกับนักดนตรีเราก็รู้ว่าอ่อคนนี้เป็นแบบนี้นะ แบบนี้นะ คนเนี่ยแต่บางคนมันสื่อไม่ได้อาจารย์พยายามอธิบายเท่าไหร่ก็คือไม่รับไม่เข้าใจอะไรเงี่ยนี่ก็เป็นปฏิกิริยาเทคนิคที่สำคัญเลยแล้วก็อีกประเด็นหนึ่งเนี่ยคือ ระเบียบวินัย ระเบียบวินัยในการซ้อมเนี่ยถือว่าเป็นหัวใจที่ยิ่งใหญ่มากในการทำงานเป็นทีมนะครับวงดนตรีของเราไม่ใช่วงดนตรีที่เก่งที่สุดในประเทศไทยแต่วงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยมหาวิทยาลัยรัตนบัณพิตเป็นวงดนตรีที่ทีมเวิร์กดีที่สุดในมหาวิทยาลัยทุกครั้งที่เราแข่งขันก็จะได้รับคำชมและคำคอมเม้นทุกครั้งว่าทีมเวิร์กวงนี้ดีทั้งน้องๆแดนเซอร์นักดนตรีทีมเวิร์กในที่นี้หมายความว่าอะไรคือหนึ่งเมื่อเราสร้างแรงจูงใจให้กับพวกเขาได้ว่า เฮ้ยพวกเขามองเห็นเป้าหมายเฮ้ยนี่มันคือแชมป์เราต้องเดินขึ้นไปรับถ้วยนะครับแต่ก่อนที่เราจะเดินขึ้นไปรับถ้วยเนี่ยเราต้องสอนเขาแระว่าเขาต้องทำอะไรบ้างและเข้าใจว่าเขาต้องเข้าใจว่าเขาต้องทำตามที่เราวางแผนไว้ ต้องทำแบบนี้นะ แบบนี้รึเขาก็อาจจะไม่มั่นใจหลอกว่า ทำไปแล้วจะได้รับถ้วยพระราชทานมา ฉันจะได้ดีใจและร้องเพลงเพื่อสถาบันเขาก็ไม่มั่นใจหลอก แต่เมื่อวันหนึ่งเขาทำตามแผนปุ๊บจนวันสุดท้ายก่อนขึ้นประกวดเนี่ยเขาจะรู้ตัวของเขาเองเลยว่าเฮ้ยเราพร้อมแล้วเรามั่นใจแล้วเพราะในสิ่งที่วางแผนมาปุ๊บเรามาถึงจุดนี้ละจุดที่เราซ้อมมาอิ่มเต็มที่ ทุกคนกระหายอยากจะขึ้นเวทีกระหายเพื่อยอยากจะร้องโชว์ให้คนอื่นนะครับ เนี่ยเราสร้างแรงจูงใจและเราต้องมีความสามัคคีนะครับมันก็มีบ้างแหละ ไอ้เพื่อนคนนั้นเป็นอย่างงี้ๆๆๆมันก็ธรรมดา เครื่องดนตรีมีกี่ชิ้นนักร้องแดนเซอร์ก็เหมือนกันนะการขาดซ้อมการมาสายมาช้านะครับเราก็จะมีบทลงโทษนะครับ เป็นระเบียบวินัยนะครับ อาจเป็นกระโดดตบบ้างเป็นร้อยเป็นพัน เขาก็ได้บริหารปอดเขา ออกกำลังกายปอดเขา ไม่ใช่ทำลายเขานะครับ เขาก็มีประโยชน์ในการที่เขาจะมาเป่า ผายกระบังลมบริหารปอดนะครับ การออกกำลังกายก็เป็น เขาเรียกว่าไร เป็นกุสโลบายที่ช่วยให้เขาได้ประโยชน์แก่ตัวเขาเองนี่แหละคือเทคนิคหลักๆเลย มันเป็นสิ่งที่ต้องทำกันทุกวง ต้องทำแต่ถ้าหลายๆคนมองข้ามมันไปก็รายละเอียดงานก็จะไม่เอื้ออำนวยนะครับ 

ถ้าพูดถึงรู้เชิงไหมเราศึกษาได้ทุกสถาบันอย่างเช่นการประกวดที่ผ่านมาเราก็ได้ศึกษาว่าเอกลักษณ์ของวงนี่เขาเป็นอย่างไรนะครับ ไม่ขอพูดชื่อสถาบันและกันนะครับมาจากภาคเหนือเขามีเอกลักษณ์เป็นยังไงความโดดเด่นเขาเป็นยังไงนะครับ ภาคอีสานภาคใต้หรือแม้กระทั่งภาคกลางนะครับ เราศึกษามาตลอดและเราก็มาวิเคราะห์กันเสมอว่าถ้ามันอ่า ถ้าวันหนึ่งเราไปเจอตอแนวเดียวกันเนี่ยเราจะทำอะไรที่ให้มันดีกว่าเขาแต่ตอนนี้หลายๆสถาบันเนี่ยก็ก็มาดูต้นแบบที่เรานะครับ ต้องดูที่อาร์แบคลูกทุ่งประกวดลูกทุ่งต้องมาดูที่อาร์แบคโว๊ยต้องติดตามอาร์แบค เพราะอาร์แบคทำทุกครั้งและก็ประสบความสำเร็จนะครับก็ทางการศึกษาก็พยายามมาดูเรามาถามเราตลอด แต่เราก็ทำไมครับ ต้องพยายามหนี ไม่รู้ว่ามันปีหน้าฟ้าใหม่มาแข่งกันจะหนีรอดหรือป่าวก็ยังไม่แน่ใจตอนนี้มันเริ่มใกล้เข้ามาใกล้เข้ามาแล้วนะครับ เรา เราก็วิเคราะห์เขาแต่ไม่ใช่เราวิเคราะห์เป็นอย่างเดียวนะ เขาก็วิเคราะห์เราเหมือนกันเพราะฉะนั้นมันมันยังไงอะ ดนตรีมันเอ่อมันต้องแข่งขันกันไอ้ที่เราแข่งกันที่เราแข่งกันเนี่ยมันแข่งกับตัวเอง มันแข่งกับตัวเองมันซ้อมมันแข่งกับรายลละเอียดที่ตัวเอง คีเอดงานขึ้นมา นั้นถ้าจะไปแข่งกันวงนั้นดีวงนี้ไม่ดีมันคงจะไม่ใช่แต่ถ้าจะให้คณะกรรการคอมเม้นและตำนิเราว่า เราดีหรือไม่ดีเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมคงจะถกต้องแล้วที่มีการคอมเม้นนะครับ ทีนี้ก็ถ้าเราไปเครียดตรงนั้นจนเกินไปเนี่ยมันจะเสียความเป็นจุดเด่นของเราเวลาเราทำงานนี้ปั๊บเราทำทำการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นกีฬา ถ้าอาจานเขาสนิทกันก็คุยกันดนตรีกับกีฬาก็คล้ายๆกันแต่ที่ลานเขามีสะกอนับหนึ่งศูนย์ สองศูนย์ก็ชนะแต่เราเนี่ยเป็นเรื่องของสุนทรียะความชอบไม่ชอบมันนะครับอยู่ที่คณะกรรมการอยู่ที่ผู้ชมว่าชอบไม่ชอบเนี่ยเพราะฉะนั้นเนี่ยถ้าเรามัวแต่เครียดว่าเห้ยตรงนั้นจะไม่ดี จะไม่เพราะตรงนี้จะไม่ดี มันจะทำให้กดดันตัวเอง แทนที่จะได้งานแบบดีๆมาปั๊บก็เลยกลายเป็นว่าทำไรไม่ถูกเลยเอาไอ้นู๊นใส่ไอ้นี่ใส่ก็เยอะแยะไปหมดเลยจนจุดยืนของตัวเองไม่มีนะครับไงก็ตามแต่ อาร์แบคเราเนี่ยบอกว่ามีคนเดินตามเรามาแต่เราก็พยายามที่จะพัฒนาต่อนะครับ แล้วก็ยังมีความเชื่อว่าเราชื่อเราเดินทางมาถ้าใครคิดว่าจะเดินตามเราอะยังไงมันก็เดินไม่ทันเราแต่ถ้าเราคิดว่า เราต้องเดินไปข้างหน้าอย่างเดียวครูคิดว่ามันไปข้างหน้าได้แต่คนที่เดินตามเรายังไงก็ไม่มีทางไม่มีทาง อะ ถ้าเราไม่หยุดเดินซะก่อนจริงไหมครับถ้าเรายังเดินต่อและเขาก็เดินตามเราอยู่อย่างนี้ ครูเชื่อมันจะเป็นแรงผลักดันกับเขาพัฒนาขึ้นมาหาเราเราก็พัฒนาหนีออกไปแล้วถ้าเกิดว่าเขาก็มีโอกาสเป็นไปได้ว่าเขาอาจจะเกิดความคิดแนวใหม่เห้ยตามอาร์แบคไม่ได้แล้วตามอาร์แบคไม่เคยชนะเลยเขาอาจจะเป็นอาจจะมีความคิดที่แตกออกไปเป็น มีมีความต่างกันมาแล้วเอามาประชันกับเรา เราก็อาจจะเป็นผู้แพ้ก็ได้นะครับไม่แน่ไม่นอน แต่แต่ แต่ที่ผ่านมาก็ถือว่าอย่าเช่นถ้วยพระราชทานตั้งแต่ปี48เป็นต้นมาเนี่ย เรารวมได้5ถ้วยพระราชทานนะครับ แล้วก็ถ้วยรัฐมลตรีต่างๆเราก็ได้ถ้วยมาเป็นส่วนใหญ่ มันเป็นประสบการณ์ที่ทำให้ทีมงานเอ่อ ผู้ฝึกสอนทุกคนมีประสบการณ์และก็อ่านทางออกได้ว่าประกวดรายการนี้เป็นอย่างไง นี้เป็นอย่างไรและอีกไม่นานเดี่ยวมีลุกทุ่งเงินล้านช่อง5 เราก็ได้ตัดสินใจที่จะประกวดเราต้องดูเชิงก่อนว่าถ้าเชิงมันร้อนเราไปมันจะคุ้มไหม เออจะเอาอะไรไปทิ้งหรือป่าวหรืออย่างไรมันก็สำคัญนะครับ

                  กลยุทธ์ในการวางแผนการแข่งขัน ด้านการแสดง
(สัมภาษณ์ อาจารย์เอกพัฒน์  อยู่ยิ่ง วันที่
26 ตุลาคม 2558 ที่ลานสวนปาล์ม เวลา 17:00-18:00) สัมภาษณ์โดย นายฐานาวุฒิ บุญแนบ
                 ฐานาวุฒิ : แดนเซอร์สมัยสุรพลจนถึงสมัยปัจจุบันมีวิวัฒนาการอะไรบ้าง
อาจารย์ตอบ : คืออยากฝากไว้ก็คือเมื่อก่อนนะครับ เมื่อก่อนลูกทุ่งจะเป็นที่เราเข้าใจกันก็คือก็จะไม่อะไรมากมายขนาดนี้ ก็จะเป็นแบบว่ายืนเต้นซ้ายเต้นขวาใส่ชุดเหมือนชุดว่ายน้ำสีๆประมาณนั้นนะครับแต่ทีนี้ด้วยความที่ว่าเป็นเมืองไทย เป็นเมืองไทยแล้วแล้ววิวัฒนาการยุคกาลเวลานั้นมันเปลี่ยนไป เรื่องของเสื้อผ้า เรื่องของหน้าผมมันก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆทีนี้ในสิ่งที่มันเป็นในเรื่องของอนุรักษ์ไว้นะครับ คำว่าอนุรักษ์ไว้ก็คือในเรื่องของสิ่งที่เป็นดั้งเดิมในเรื่องของต้นทุนความเป็นลูกทุ่ง ตัวนั้นเราควรอนุรักษ์ไว้อยู่แล้วแต่ถ้าเป็นในเรื่องของการพัฒนาเอ่อลูกทุ่งเราจะก้าวไกลโกอินเตอร์ได้ เราจะยกแบบนั้นไปคงไม่มีใครดู เราคงต้องอนุรักษ์ไว้ว่านั้นมันคือจุดเริ่มต้นนะแต่ว่าในเรื่องของการพัฒนานะครับ เราต้องมองว่าการก้าวหน้าในเรื่องของการคิดการทำมากว่า ยิ่งการแข่งขันอย่างที่บอกว่าคนหลายๆคนก็อยากจะชนะเมื่อจะชนะเราต้องทำอะไร เพราะว่ากติกาของลูกทุ่งมันไมได้มีกฎตายตัวชัดเจนในเรื่องของการเล่นติ๊กเกอร์บ้าง เหมือนกับลีลาศหรือว่าปอมๆ มันมันมัน มันไม่ได้มีตายตัวในลักษณะแบบนั้นนะครับ เพราะฉะนั้นในเรื่องของการพัฒนาใน คนในปัจจุบันต้องแยกให้ออกในเรื่องของการอนุรักษ์ไว้กับการพัฒนา ในเรื่องของการอนุรักษ์ไว้ คือการเป็นลูกทุ่งประเทศไทยของเรามีอยู่ แต่ในเรื่องของการพัฒนา เราอย่าหยุดพัฒนาเลยเพาะว่าตอนนี้ ก็คือ ถ้าไปที่อื่นบางคนก็เริ่มการแข่งขันมามากขึ้น เริ่มเอามาผสมผสานมันไม่สมควรนะ บางทีเอาเรื่องของรำมาใส่กับลูกทุ่งมันก็ไม่ใช่นะอะไรแบบนี้ซึ้งมันเป็นการประยุคมากกว่าและมันทำให้โชว์ดูมีอะไรมากขึ้น ถึงเรียกว่าเป็นการแข่งขัน เราอยากจะฝากไว้ว่า อยากให้แยกในเรื่องของการอนุรักษ์กับการพัฒนาให้ถูกต้อง เราไม่ใช่ว่าเรา เราทำแบบนี้เราเล่นยิมแบบนี้ เราเล่นตีลังกาเรา เราเล่นอุปกรณ์ที่แปลกใหม่ ที่สร้างสรรค์แต่เราก็ไม่ได้ลืมเคล้าเพลงลูกทุ่ง เราก็จะมีความเป็นลูกทุ่งอยู่ก็จะฝากอยากจะฝากให้ทุกคนช่วยนอนุช่วยกันอนุรักษ์เพลงลูกทุ่งและก็พัฒนาเพิ่มขึ้นไปด้วยในต่อๆไปครับ
                   ฐานาวุฒิ : อาจารย์มีเทคนิคที่ใช้ในการสร้างสรรค์ท่าเต้น การแสดงที่ใช้ในการแข่งขันแต่ละครั้ง อย่างไรบ้าง
อาจารย์ตอบ : ครับ ในการฝึกซ้อม ในเรื่องของการคิดงาน ในเรื่องของการแข่งขัน นะครับ ในเรื่องของการคิดท่าเต้นหรือว่าในเรื่องของการฟอร์มทีมเนี้ย เราก็จะต้องดูศักยภาพของ ของนิสิตของเรา ที่เราจะเลือกลงการแข่งขันด้วยครับว่าเราต้องการนิสิตแบบไหน แล้วก็มารวมถึงในเรื่องของเพลงที่เราเลือกครับว่าเพลงเนี่ย เราจะทำเป็นสไตล์แบบไหน เป็นสไตล์เต้น หรือสไตล์รำ เป็นสไตล์แดนซ์ หรือเป็นสไตล์แบบว่าลูกทุ่ง นะครับ ซึ่งปัจจุบันเนี้ย มันเป็นยุคที่มันพัฒนามากแล้วเนี่ยครับ เราก็เลยไปในเรื่องของการใช้ยิมนาสติก แล้วก็ในเรื่องของความพัฒนาในเรื่องของลูกทุ่ง มาผสมผสานกัน ในเรื่องของการคิดงานทำให้ด้านโชว์มีคำว่าหลากหลาย นะครับ คือเราจะสร้างจุดพีค ในเรื่องของการแสดงคือ ในหนึ่งโชว์เนี้ย มีทั้งจุดเด่น และ แล้วก็มีจุดที่เป็นในเรื่องของการเต้นเป็นปกติ แล้วก็เน้นไปในเรื่องรูปแบบของการโชว์ การไหลลื่นของโชว์ นะครับ ทีนี้ในเรื่องของการวางแผน ในเรื่องของการฝึกซ้อม แน่นอนว่าเมื่อมีในเรื่องของ WIN เข้ามาเนี้ย ความยากครับ ในการฝึกซ้อม ในเรื่องของการคิดงาน ในเรื่องของการแข่งขัน นะครับ ในเรื่องของการคิดท่าเต้นหรือว่าในเรื่องของการฟอร์มทีมเนี้ย เราก็จะต้องดูศักยภาพของ ของนิสิตของเรา ที่เราจะเลือกลงการแข่งขันด้วยครับว่าเราต้องการนิสิตแบบไหน แล้วก็มารวมถึงในเรื่องของเพลงที่เราเลือกครับว่าเพลงเนี่ย เราจะทำเป็นสไตล์แบบไหน เป็นสไตล์เต้น หรือสไตล์รำ เป็นสไตล์แดนซ์ หรือเป็นสไตล์แบบว่าลูกทุ่ง นะครับ ซึ่งปัจจุบันเนี้ย มันเป็นยุคที่มันพัฒนามากแล้วเนี่ยครับ เราก็เลยไปในเรื่องของการใช้ยิมนาสติก แล้วก็ในเรื่องของความพัฒนาในเรื่องของลูกทุ่ง มาผสมผสานกัน ในเรื่องของการคิดงานทำให้ด้านโชว์มีคำว่าหลากหลาย นะครับ คือเราจะสร้างจุดพีค ในเรื่องของการแสดงคือ ในหนึ่งโชว์เนี่ย มีทั้งจุดเด่น และ แล้วก็มีจุดที่เป็นในเรื่องของการเต้นเป็นปกติ แล้วก็เน้นไปในเรื่องรูปแบบของการโชว์ การไหลลื่นของโชว์ นะครับ ทีนี้ในเรื่องของการวางแผน ในเรื่องของการฝึกซ้อม แน่นอนว่าเมื่อมีในเรื่องของ WIN เข้ามาเนี้ย ความยาก            ก็ต้องมีเยอะ เราต้องสร้างจุดไฮไลท์ในเรื่องของให้คนดูตื่นตา ตื่นใจ กับสิ่งที่เราจะเกิดขึ้นบนเวทีนั้น นะครับ เราก็ต้องมีเรื่องของการฝึกซ้อมค่อนข้างจะเยอะ รวมไปถึงเรื่องของการคิดเสื้อผ้า หน้าผม ที่จะไม่เป็นอุปสรรคในเรื่องของการแสดง นะครับ แล้วก็สิ่งสำคัญแน่นอนก็คือการ..ภาพขององค์รวม องค์รวมของการแสดงตรงที่ว่า เด็กเนี้ย จะทำออกมาได้ชัดเจนไหม เราจะสื่อออกมาได้ชัดเจนหรือเปล่า เช่น ในการประกวดที่ผ่านมา มันเป็นเพลงใหญ่ เป็นเพลงเกี่ยวกับ เพลงพระเทพ นะครับ ซึ่งเพลงเนี้ยมันเป็นเพลงที่ แน่นอนว่าเรายก ยกเท้าสูงไม่ได้ นะครับ เราก็ใช้เรื่องของนาฏศิลป์ แล้วก็เรื่องของความสวยงามของลายเต้นของลูกทุ่ง เอามาผสมผสานกันแล้วก็ไซโทร์ให้มันมีมิติ นะครับ มีมิติมากขึ้นในเรื่องของการแสดงทำให้โชว์ของที่ออกมาในเพลงช้า เป็นลักษณะของอลังการล้าก็เรื่องความประทับใจลงไปด้วย ในเรื่องของคนดูจะมองเห็น ส่วนในเรื่องของเพลงเร็ว เราก็ใส่เรื่องของ..เต็มเลย ในเรื่องของทักษะที่เราฝึกให้กับเด็กมา ในเรื่องของ WIN นะครับ เรื่องของลายเต้น เรื่องของลูกเล่นพิเศษ ในเรื่องของการแสดง ที่ทำให้เค้าได้แบบ ปลดปล่อยเต็มที่ แล้วก็ความเป็นลูกทุ่ง แน่นอนว่ามันจะต้องมีความโจ๊ะ ความสนุก เราเอาทุกสิ่งทุกอย่างมามิกซ์ รวมกันหมดเลยแล้วก็ให้กลายเป็นหนึ่งชิ้นงานที่สร้างสรรค์บนเวทีนั้นครับ

 (สัมภาษณ์นายณัฐวุฒิ  บุตตะ) นักร้องนำวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 17.30 . สถานที่โรงแรม ปาล์มบรีช หาดจอมเทียน ชลบุรี  สัมภาษณ์โดย นายฐานาวุฒิ บุญแนบ
                  ฐานาวุฒิถาม : กุ้งมาเป็นส่วนหนึ่งของวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยได้อย่างไร
ณัฐวุฒิตอบ : ครับก็ ตัวกุ้งเองได้มาเป็นส่วนหนึ่งของวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยได้ก็เพราะว่า ทางอาจารย์ได้เล็งเห็นถึงความสามารถ ในตัวของกุ้งเองจึงได้มีการทำการคัดเลือก เข้ามาเป็นนิสิตทุนของโครงการ วงลูกทุ่งดนตรีปัญญาไทยของมหาวิทยาลัย
                ฐานาวุฒิถาม : มีการถ่ายทอดหรือออกมาเป็นลูกทุ่งได้อย่างไร
ณัฐวุฒิตอบ : จริงๆเพลงลูกทุ่งนี้ก็เป็นเพลงที่ไพเราะมีเนื้อหาที่ไพเราะ และก็สื่อไปถึงการที่จะถ่ายทอดอารมณ์ อารมณ์ต่างๆ ทุกๆเพลงในบทเพลงลูกทุ่งเนี่ย จะมีลักษณะอารมณ์เพลงที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นมีความสุข มีความเศร้าความเหงา คิดถึงใครอยู่รู้ว่าสนุกสนานนี่นั่น ซึ่งตรงนี้แหละที่ทำให้ผมได้เล็งถึง เพลงลูกทุ่งได้โดดเด่นกว่าในเพลงลักษณะอื่น
                  ฐานาวุฒิถาม: จากที่ได้ติดตาม ผลงานของกุ้ง โดยส่วนตัว ก็เห็นประกวดหลายเวที มีชนะบ้างมีแพ้บ้าง ในวันที่เราพ่ายแพ้นี้เรารู้สึกท้อแท้ไหม เราไม่ได้ถึงฝั่งฝัน
ณัฐวุฒิตอบ: จริงๆแล้วนั้นการประกวดแต่ละเวทีนั้น มันเป็นเหมือนการเข้าห้องสอบ เพราะว่าเวลาที่เราซ้อมมาทุกวัน กับการที่กับการที่เราขึ้นเวทีจริงอ่ะ มันอยู่ที่ว่าวันนั้นเราจะสอบผ่านหรือเปล่า หลายหลายเวทีที่กุ้งไป กรรมการเลยหลายเวที อาจจะชอบบ้างหรืออาจจะไม่ชอบบ้าง อันนั้นก็ต้องอยู่ที่คณะกรรมการ ว่าทุกครั้งที่เราทำนั้นทำดีที่สุดแล้ว ไม่รู้สึกเสียใจแล้วไม่รู้สึกท้อแท้ เพราะว่าแต่ละเวทีเป็นเหมือนบันไดเล็กๆ ที่ทำให้เราไตร่ขึ้นไปถึงจุดสูงสุด ของชีวิตเราได้
                  ฐานาวุฒิถาม: ถ้าจะให้ขอบคุณใครสักคน ที่ทำให้คนได้อยู่ในวงนี้ อยากขอบคุณใครเพราะอะไร
ณัฐวุฒิตอบ : ครับสำหรับคน ที่กุ้งอยากขอบคุณที่อยู่ในวงลูกทุ่งวงดนตรีปัญญาไทยนั้นเลยก็ต้องเป็นอาจารย์สายชล ดวงแก้ว นะครับแล้วก็ท่านอาจารย์ท่านอื่นๆที่มีส่วนร่วม ผลักดันให้ดนตรีวงดนตรีลูกทุ่งของ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตของเราเนี่ยเดินหน้าไปอย่างงดงามนะครับพี่เพราะว่าเนี่ยอาจารย์มีส่วนที่จะทำให้พวกเราพัฒนาด้วยการสั่งสอนอบรมพวกเราทุกทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระเบียบวินัย การดูชมรม วงศ์หรือว่าหรือว่า การเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเรา อาจารย์ก็จะเป็นคนที่สอน คอยย้ำเตือนพวกเราเสมอนะครับ แล้วก็ถัดจากนั้นมาก็อยากจะก็อยากจะขอบคุณเพื่อนเพื่อนพี่ๆน้องๆ ทุกๆคนที่ อยู่ในวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยทุกคน ไอ้บ้าอยากขอบคุณตรงที่ว่า เหมือนเป็นเพื่อนคนหนึ่ง ในยามที่เราออกไปแสดง หรือว่าเราไปประกวดอย่างนี้ทุกคน ทุกคนจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเพราะฉะนั้นเนี่ยในการที่เราจะไป งานเราจะมีความรู้สึกว่าเรามีความสุข อยู่เคียงข้างกับทุกๆคน เรามีความสุขว่าเคยวันนั้นเรา อาจจะรู้สึกเหนื่อย เรารู้สึกว่ามันไม่โอเคทุกคนจะช่วยพยุงเราให้เราอยู่ในความรู้สึกที่ไม่ต้องเก็บไปกว่านั้นคือ
      
                 ฐานาวุฒิถาม: และอยากให้ฝากถึงเยาวชนรุ่นหลังเกี่ยวกับเพลงลูกทุ่ง อย่าให้ฝากบอกเขาว่าเพลงลูกทุ่งเนี่ยก็มีอะไรดีนะร่วมกันสืบสาน
                  ณัฐวุฒิตอบ : ก็อยากจะฝากถึงทุกๆคนเยาวชนไทยทุกคนนะครับ ไม่ว่าจะเป็นภายในภายในมหาวิทยาลัยของเราเองหรือภายนอกก็ตามแต่ อยากจะฝากถึงว่าการที่เราหันมาอนุรักษ์เพลงลูกทุ่งไทย หรือว่าศิลปวัฒนธรรมไทย เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่าตั้งแต่รุ่นของพ่อแม่ของเรา หรือว่าใครก็ตามแต่ที่เป็นคนสร้าง ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้ขึ้นมา ตัวกุ้งเองเนี่ยเชื่อว่าท่านใดคิดว่าดีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเนี่ย ศิลปะที่เป็นวัฒนธรรมของไทยเนี่ยเราน่าจะรักษามันไว้ ไม่ว่าจะเป็น ส่วนในของการร้องเพลง ลูกทุ่งหรือในลักษณะของการร้องเพลงอื่นๆ และก็ในการเล่นดนตรี ทางดนตรีไทยหรือดนตรีสากลอื่นๆ ศิลปะพวกนี้เป็นสิ่งที่เป็นสุนทรียภาพ ชีวิตทุกคนบนโลกใบนี้ชีวิตของเราก็คงจะขาด วิถีชีวิตที่สนุกสนานไป เพราะฉะนั้นก็ฝากไว้ด้วยนะครับสำหรับทุกๆคนที่อยากจะ อนุรักษ์ศิลปะศิลปวัฒนธรรมไทย อยากให้ปล่อยตัวเองออกมากล้าแสดงออกกล้าคิดกล้าทำกล้าพูดในสิ่งที่ถูกต้อง
                   ฐานาวุฒิถาม : เราสามารถ เรียกวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยว่าเป็นครอบครัวของเราได้เต็มปาก
ณัฐวุฒิตอบ : สามารถเรียกว่าครอบครัวของเราได้เลยนะครับ เต็มปากว่าแต่ละคนมาจากต่างจังหวัดนะครับแต่ละคนมาจากภูมิภาค คนมารวมกัน แต่ละคนมีลักษณะนิสัยที่ไม่เหมือนกันอยู่แล้วแต่ว่าพอเรามาถึงจุดนี้เนี่ยทุกคนทำความเข้าใจกันหมดเลยว่าเราก็ต้องเป็นอย่างนี้อย่างนี้ทุกคนทำความเข้าใจแล้วก็ปรับตัวกันเสมอปรับตัวกันอย่างพี่น้อง มีอะไรช่วยเหลือกันตลอดเวลา
                  (สัมภาษณ์นายณัฐวุฒิ  บุตตะ) นักร้องนำวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 18.00 . บริเวณอัศจรรย์ สนามกีฬามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต สัมภาษณ์โดย นายฐานาวุฒิ บุญแนบ
                   ฐานาวุฒิถาม : อยากทราบว่าคุณมีวิธีจำกัดเวลาระหว่างเวลาเรียนกับเวลากิจกรรมคุณคงอย่างใด. หรือทั้ง2ข้อนี้ เสียทั้ง2อย่าง
ณัฐวุฒิตอบ : ครับ สำหรับการจำกัดเวลากับการแบ่งเวลาของการใช้ชีวิตของตัวกุ้งเองนะครับ ก็จะเป็นในลักษณะที่ พอถึงเวลาเราเรียนเราก็เข้าเรียนตามปกติ ครับผม มีงาน การบ้าน เราก็จะทำในชั่วโมงเรียน หรือว่าเรามีเวลาหลังจากที่เราพักรับประทานอาหารกลางวัน เราก็แบ่งเวลาในส่วนนั้นไปทำงานที่เราได้รับมอบหมายมา ครับผม และช่วงเย็นก็เข้าซ้อมตามปกติ การแบ่งเวลาจริงๆแล้ว เราต้องดูด้วยว่าดูตามความเหมาะสมดูว่าซึ่งวันนี้อาจมีกิจกรรม ซึ่งอาจจะไม่ได้เข้าเรียนหรือว่าอะไรก็ตามแต่เนี่ย เราจะต้องถามเพื่อนๆที่อยู่ห้องเรียนด้วยกันว่าเพื่อนๆมีงานอะไรหรือการบ้านอะไรบ้าง ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องถามคนอื่นด้วยว่ามีอะไรให้เราช่วยเราทำ และก็การแบ่งเวลาจริงๆแล้ว เรียนก็คือส่วนเรียน ทำกิจกรรมก็คือทำกิจกรรม ก็คือ 2 ฝ่ายเราไม่เอามารวมกันจนเกิดการทำให้เราเสียเวลาเรียนจนมากเกินไป
                   ฐานาวุฒิถาม: ฟังออกแค่ คุณกุ้งมีความรู้สึกอย่างไรกับการที่ได้ร่วมการแข่งขันครั้งนี้
 ณัฐวุฒิตอบ : ความรู้สึกของกุ้งเอง ที่ๆได้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันในโครงการดาวรุ่งลูกทุ่งนเรศวรครั้งที่7ในจังหวัดพิษณุโลก. ตัวกุ้งเองรู้สึกภาคภูมิใจและก็ดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยได้ไปสร้างชื่อเสียงให้พี่ๆน้องๆและครูบาอาจารย์ทุกคน และก้อรู้สึกเป็นเกียรติที่อาจารย์ได้คุณค่าและความสำคัญในตัวกุ้งจึงเลือกให้เป็นนักร้องนำของวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยของมหาวิทยาลัยรัตนบัณทิตไปแข่งขันกับเพื่อนๆมหาลัยอื่นๆในวันนั้นเราได้ทำเต็มที่มากและเราก็รู้สึกว่าผลตอบรับที่ได้มามันมากกว่าการแข่งขันไม่ว่ามิตรภาพกับเพื่อนๆมหาลัยอื่นและมิตรภาพในวงดนตรีของเราซึ้งส่วนนี้เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าการที่เราได้รับชัยนะมาอีก. ส่วนในการที่เราได้รับชัยชนะมากุ้งไม่ได้มองว่าเป็นชัยชนะของตัวกุ้งเองหรือเพียงแค่วงดนตรีแต่มันคือชัยชนะของเราชาวรัตนบัณทิตทุกคน

                   ฐานาวุฒิถาม: สุดท้ายนี้ให้บอกถึงความรู้สึกที่ได้รางวัล เพราะเราทุ่มเทและมากน้อยแค่ไหนและรู้สึกเหนื่อยแล้วรู้สึกท้อมั้ย กับสิ่งที่เราได้รับนั้นเรารู้สึกอย่างไร
ณัฐวุฒิตอบ : จริงๆแล้วการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งที่มหาวิทยาลัยนเรศวรเนี่ย ใน โครงการดาวรุ่งนเรศวร เป็นงานที่ใหญ่มาก สำหรับตัวอ่ะกุ้งเองนะครับจริงๆแล้วก่อนหน้านี้เนี่ยอาจารย์ไม่ได้เลือกกุ้งด้วยบ้างได้ไหมอาจารย์ไม่ได้เลือกกุ้งเป็นนักร้องนำก็คือเลือกน้องไว้คนเดียวนะครับแต่อาจารย์ก็อยากเห็นความสำคัญ ในตัวกุ้งจึงทำให้อาจารย์เลือก เรากลับมาเป็นส่วนหนึ่งของวง ซึ่งต้องบอกเลยว่าในช่วงระยะเวลาการฝึกซ้อมที่ผ่านมาเนี่ยเราเหนื่อยกันมาเยอะนะครับหลายหลายคนที่ใหม่อยู่ในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เข้ามาสัมผัสถึงวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยอาจจะไม่รู้อาจจะรู้สึกว่ามันก็แค่การซ้อมในน้อยมันก็แค่การ ออกมาเต้นออกมาร้องเพลงออกมาเล่นดนตรีจริงๆมันไม่ใช่เลยจริงๆแล้วการที่เรามาอยู่ตรงนี้ได้เนี่ยเราใช้หัวใจของทุกคนที่เข้ามารวมกันทำให้เรามาถึงจุดนี้ได้ถามว่าเรารู้สึกท้อไหมบอกเลยว่า เราไม่ได้รู้สึกท้อ อะไรเลยก็ตามแต่ ไม่ว่าเราจะเจอทั้งสภาพอากาศที่เลวร้ายทำให้พวกเราไม่สามารถจะซ้อมรวมกันได้หรือว่าเหตุการณ์อะไรก็ตามแต่ที่อาจจะทำให้เราเป็นหรือส่วนในของนักร้อง อาจจเสียงไม่มีหรอกบางทีเจ็บปากเล่นไม่ได้เหลืออย่างเนี่ยคือในส่วนนี้คือพวกเราทุ่มเทกันเต็มที่พยายามดูแลรักษาตัวเองมาตลอดจนพอมาถึงวันแข่งจริงๆที่มอนเรศวร พวกเราก็ทำผลงานกันอย่างเต็มที่จนทำให้เรารู้สึกว่าวันนั้นเราจะชนะหรือเราจะแพ้เราก็จะไม่รู้สึกเสียดายเลยแม้แต่นิดเดียวแต่ผลปรากฏว่าพอเราได้รับ ถ้วยพระราชทานทำให้พวกเรารู้สึกว่าพวกเราหายเหนื่อยทำให้เรารู้สึกว่าการที่เราทุ่มเทไปในครั้งนี้เนี่ยเป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่สุดในชีวิตของพวกเราครั้งหน่ง ที่หลายไหนที่ไม่ได้มา ในครั้งนี้ เค้าอาจจะไม่ได้รู้สึกภาคภูมิใจเท่ากับพวกเรา แต่เราภาคภูมิใจที่เราได้นำชื่อเสียงนะตรงนี้เข้ามาส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย
              
                    (สัมภาษณ์ นางสาวปิยะพร แก่งเสี้ยน นักร้องนำวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย) ไทย วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 18.30 น บริเวณอัศจรรย์ สนามกีฬามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต สัมภาษณ์โดย นายฐานาวุฒิ บุญแนบ
                   ฐานาวุฒิถาม : การจัดสรรเวลาเรียนกับวงลูกทุ่งเป็นยังไงบ้างครับ
ปิยะพร :      ก็สำหรับการจัดสรรเวลาเรียนกับวงดนตรีลูกทุ่งนะค่ะก็ไม่ได้วางแพนว่าจะต้องอย่างงี้ๆ ถึงเวลาทำอะไรก็จะทำ    อันนั้นอ่ะค่ะ มันก็ลงตัวของมันเอง
                   ฐานาวุฒิถาม : มองตัวเองยังไงในอนาคตอ่ะครับ
ปิยะพร :     ก็ถ้าจบไปอยากทำงานเป็นผุ้พิพากษา แต่ว่าถ้าถามว่าจะกลับมาช่วยงานที่วงมั้ยก็คงต้องมีค่ะ ก็มีงานอะไรก็คงต้องกลับมาช่วยที่วงบ้าง ถ้าจบไปแล้วจะทำงานด้านการร้องเพลงมั้ยก็คงไม่ทำ แต่ก็อาจจะมีมาช่วยงานที่วงมั้งค่ะ
                   ฐานาวุฒิถาม : อยากให้เล่าว่าเข้ามาอยุ่ในวงได้ไง
ปิยะพร :    ก็สำหรับตัวครีมตอนนั้นเป็นช่วงปิดเทอมแล้วก็มีการสอบชิงทุนโคต้านักร้อง ก็ได้ตรงนั้นมา ก็อ.หลายๆท่านเร่งเห็นว่าหนูคงจะทำตรงนี้ได้เลยให้หนูเป็นเด็กโคต้าที่นี่ก็เลยได้เข้ามาชมรมนี้ค่ะ
                   ฐานาวุฒิถาม : อยากให้พูดถึงความประทับใจในชมรมนี้ครับ
ปิยะพร : ก็อย่างแรกเลยก็ต้องเป็นอาจารย์ค่ะ คืออาจารย์เขาไม่ถือตนเลยค่ะเขาเป็นกันเองมากค่ะพี่ๆในวงก็เป็นกันเองอย่างที่บอกค่ะว่าพวกเราอยู่กันเป็นครอบครัวไม่มีแบ่งว่าคนนี้อารย์ คนนี้ศิลป์ คนนี้รุ่นพี่คนนี้รุ่นน้อง แต่ก็ให้การเคราพนับถือกันค่ะ

                  (สัมภาษณ์ นางสาวรัชนี  สร้อยกุดเรือ ประธานชมรมวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย)  วันที่ 17 กันยายน 2558 เวลา 18.00 . โรงแรม ปาล์มบรีช หาดจอมเทียน ชลบุรี สัมภาษณ์โดย นายฐานาวุฒิ บุญแนบ
                   ฐานาวุฒิถาม: กิ๊ฟมาเป็นส่วนหนึ่งของวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยได้อย่างไร
รัชนีตอบ : ก็ตลอดระยะเวลาที่อยู่วงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยนะค่ะ เรารักที่จะเป็นวงดนตรีอยู่แล้วตั้งแต่เข้าปี 1 แล้วก็เป็นเด็กโควตาด้วย พอเข้ามาแล้วก็รู้สึกดีใจมากกว่าที่ได้อยู่ร่วมกันเป็นวงดนตรี ก็มีความสุขด้วย
                   ฐานาวุฒิถาม: สามารถเรียกวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย ว่าเป็นครอบครัวอย่างภูมิใจได้เลยไหม
รัชนีตอบ :  เรียกได้เลยว่าวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยของเรา ก็เป็นครอบครัวๆหนึ่งจากครอบครัวที่เรามีอยู่แล้วที่บ้าน พอมาที่นี่เราใช้เวลาในการอยู่วงดนตรีมากกว่าอยู่ที่บ้านอีกค่ะ เราเลยรักกันแบบพี่น้องอยู่กันแบบครอบครัวค่ะ
                   ฐานาวุฒิถาม: ฝากถึงจุดเด่นและเอกลักษณ์ความสำคัญของวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย
รัชนีตอบ : วงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยของเรานะค่ะก็มีนักร้อง แดนเซอร์ นักดนตรี ซึ่งเราก็ไปออกงานต่างๆมากมาย ละก็อนุรักษ์ความเป็นไทยแล้วก็เอาเพลงเก่าๆ เพลงเดิมๆ ที่เป็นเพลงลูกทุ่งมาเล่นด้วย
                   ฐานาวุฒิถาม: มีผลกระทบกับการเรียนหรือเปล่าและวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยสามารถอนุรักษ์รากเหง้าความเป็นไทยได้ยังไง
รัชนีตอบ : ถ้าถามถึงผลกระทบทางด้านการเรียนก็ไม่มีนะค่ะ เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วเนี่ย เราซ้อมกันตั้งแต่ 6 โมงถึง 2 ทุ่ม ซึ่งเราจะเรียนกันตั้งแต่ 9 โมงถึง 4 โมงเย็นใช่ไหมค่ะ ก็จะเป็นช่วงเวลาเลิกเรียนแล้วที่เรามาซ้อมกัน เวลาไปงานเราก็มีการขออนุญาต ละก็ขอเวลาเรียน แต่สำหรับวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยของเรา มีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมหรือเปล่า มีแน่นอนนะค่ะ เพราะว่า เรานำบทเพลงลูกทุ่ง บทเพลงไทยที่เพื่อนๆเคยได้ยินกันมาแสดงออกให้เพื่อนๆทุกคนได้รับฟังและรับชมกันค่ะ
                   ฐานาวุฒิถาม: คุณมีความรู้สึกอย่างไรที่ได้เข้ามาอยู่ในชมรมนี้
รัชนีตอบ : ก็ตลอดระยะเวลาที่อยู่วงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยนะค่ะ เรารักที่จะเป็นวงดนตรีอยู่แล้วตั้งแต่เข้าปี 1 แล้วก็เป็นเด็กโควตาด้วย พอเข้ามาแล้วก็รู้สึกดีใจมากกว่าที่ได้อยู่ร่วมกันเป็นวงดนตรี ก็มีความสุขด้วย
                   ฐานาวุฒิถาม: สามารถเรียกวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย ว่าเป็นครอบครัวอย่างภูมิใจได้เลยไหม
รัชนีตอบ : เรียกได้เลยว่าวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยของเรา ก็เป็นครอบครัวๆหนึ่งจากครอบครัวที่เรามีอยู่แล้วที่บ้าน พอมาที่นี่เราใช้เวลาในการอยู่วงดนตรีมากกว่าอยู่ที่บ้านอีกค่ะ เราเลยรักกันแบบพี่น้องอยู่กันแบบครอบครัวค่ะ
                   ฐานาวุฒิถาม: ฝากถึงจุดเด่นและเอกลักษณ์ความสำคัญของวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย
รัชนีตอบ : วงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยของเรานะค่ะก็มีนักร้อง แดนเซอร์ นักดนตรี ซึ่งเราก็ไปออกงานต่างๆมากมาย ละก็อนุรักษ์ความเป็นไทยแล้วก็เอาเพลงเก่าๆ เพลงเดิมๆ ที่เป็นเพลงลูกทุ่งมาเล่นด้วย
                   ฐานาวุฒิถาม: มีผลกระทบกับการเรียนหรือเปล่าและวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยสามารถอนุรักษ์รากเหง้าความเป็นไทยได้ยังไง
รัชนีตอบ : ถ้าถามถึงผลกระทบทางด้านการเรียนก็ไม่มีนะค่ะ เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วเนี่ย เราซ้อมกันตั้งแต่ 6 โมงถึง 2 ทุ่ม ซึ่งเราจะเรียนกันตั้งแต่ 9 โมงถึง 4 โมงเย็นใช่ไหมค่ะ ก็จะเป็นช่วงเวลาเลิกเรียนแล้วที่เรามาซ้อมกัน เวลาไปงานเราก็มีการขออนุญาต ละก็ขอเวลาเรียน แต่สำหรับวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยของเรา มีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมหรือเปล่า มีแน่นอนนะค่ะ เพราะว่า เรานำบทเพลงลูกทุ่ง บทเพลงไทยที่เพื่อนๆเคยได้ยินกันมาแสดงออกให้เพื่อนๆทุกคนได้รับฟังและรับชมกันค่ะ
                   ฐานาวุฒิถาม:     การจัดสรรเวลาเรียนกับวงลูกทุ่งเป็นยังไงบ้างครับ
รัชนีตอบ :     ค่ะก็สำหรับวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทยนะค่ะเราจะซ้อมตั้งแต่ 6โมงถึงสองทุ่มค่ะ เวลาที่เราเรียนเนี่ย9โมงถึง4โมง ฉะนั้นเวลาเรียนกับเวลาซ้อมเราจะไม่ต้องกันค่ะ เราก็จะเรียนตอนเช้าตอนเย็นเราจะมาซ้อมทำให้เราทำกิจกรรมควบคู่กันไปได้ค่ะไม่เสียทั้งการเรียนแล้วก็ไม่เสียทั้งกิจกรรมด้วย แล้วก็เวลาที่เราไปออกงานต่างๆเนี่ยเราก็จะไปขออนุญาตทางมหาลัยว่าเราจะไปออกงานนี้นะทางอ.เข้าก็จะเข้าใจแล้วก็เช็คเวลาเรียนให้ค่ะแล้วก็ไปตามงานกับเพื่อนเอาอย่างงี้ค่ะ

(สัมภาษณ์นางสาว รัชนี สร้อยกุดเรือ) หัวหน้าแดนเซอร์วงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 18.50 . บริเวณอัศจรรย์ สนามกีฬามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต สัมภาษณ์โดย นายฐานาวุฒิ บุญแนบ
                   ฐานาวุฒิถาม : ความรู้สึกที่ได้ถ้วยพระราชทานมา
รัชนีตอบ : ค่ะก็หลังที่ได้ถ้วยรางวัลพระราชทานของสมเด็ดพระเทพมานะค่ะ ก็ดีใจมากๆเลยนะค่ะที่ได้เป็นส่วนร่วมของงานนี้ แม้ว่าเราจะเป็นส่วนเล็กๆในตำแหน่งของแดนซ์เซอนะค่ะ แต่ว่าทุกตำแหนงนี่ก็ทุกคนมีความสำคัญที่แตกต่างกันออกไปพอทุกคนมาทำงานรวมกันแล้วก็เป็นน้ำหนึ่งในดวงใจเดียวกัน แล้วพวกเราก็ทำจนสำเร็จคณะกรรทการก็ได้เห็นว่าเราทำออกมาดีดีที่สุดกับการแข่งขันในทุกๆทีมแล้วก็ได้รางวัลกลับมารุ้สึกภาคภมิใจมากๆกับรางวัลนี้ แล้วก็เป็นอีกหนึ่งรางวัลในชีวิตที่เราได้มาเรียนที่อาแบคได้รับรางวัลนี้มาภาคภูมิใจเป็นอย่างมากค่ะ
                   ฐานาวุฒิถาม : วางแผนยังไงในชีวิตข้างหน้าครับ
รัชนีตอบ :    ก็หลังจากที่เราจบที่อาแบคไปเราก็คงต้องทำอาชีพที่เราถนัดอย่างกิ๊ฟชอบการเต้น อาจไปไปทำอาชีพเช่นครูสอนเต้นหรือไม่ก็แบคอัพศิลปินหรือไม่อะไรก็แล้วแต่อ่ะค่ะ ก็คงต้องทำในสายอาชีพที่เกี่ยวกับเต้น ยังไงก็ได้อ่าค่ะคงต้องทำตามความฝันกันต่อไป
ตารางสารคดี “วงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต”
อดีต
ปัจจุบัน
อนาคต

ประเด็นที่ 1. เพลงลูกทุ่งกับสถาบันการศึกษา
เนื้อหาเชิงวิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลงของเพลงลูกทุ่ง เมื่อเปรียบเทียบบทเพลงลูกทุ่งจากอดีต กับ เพลงลูกทุ่งปัจจุบัน
เนื้อหาประกอบ
·        ความเป็นมาของบทเพลงลูกทุ่ง(อ้างอิงหนังสือสารานุกรมไทย ฉบับเยาวชน เรื่องเพลงลูกทุ่ง หัวข้อ ที่มาเพลงลูกทุ่ง)
·        วิวัฒนาการวงดนตรีลูกทุ่งของสถาบันการศึกษา
( มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ )
กรณีเพื่อสร้างความบันเทิงเท่านั้น
·        การประกวดเพลงลูกทุ่งกับสถาบันการศึกษา เพื่อการแข่งขันและสร้างชื่อเสียง
(อ้างอิงหนังสือสารานุกรมไทย ฉบับเยาวชน เรื่องเพลงลูกทุ่ง หัวข้อ ธุรกิจเพลงลูกทุ่ง)
·        คุณค่าของบทเพลงลูกทุ่ง
(อ้างอิงจากเว็ปไซด์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เรื่องเพลงลูกทุ่ง)
·        การเปลี่ยนแปลงของเพลงลูกทุ่ง เมื่อเปรียบเทียบบทเพลงลูกทุ่งจากอดีต กับ เพลงลูกทุ่งปัจจุบัน (เนื้อหาเชิงวิเคราะห์)
(สัมภาษณ์อาจารย์เจนภพ จบกระบวนวรรณ ปูชนียบุคคลด้านเพลงลูกทุ่ง)
·        ความงามของเพลงลูกทุ่ง
(อ้างอิงจาก เว็ปไซด์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เรื่องเพลงลูกทุ่ง)

·        ประวัติวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย
(สัมภาษณ์ อาจารย์สายชล ดวงแก้ว ผู้ควบคุมวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย)


ประเด็นที่ 2 กลยุทธ์ในการวางแผนการแข่งขัน

                เนื้อหาเชิงวิเคราะห์  การวางแผนกลยุทธ์ในการแข่งขัน ด้านการร้อง, ดนตรี, แดนเซอร์ และการแสดง

เนื้อหาประกอบ
                การวางแผนกลยุทธ์ในการแข่งขัน ด้านการร้อง, ดนตรี
ประเด็นคำถาม
4.               กลวิธีในการเลือกเพลงที่ใช้ในการแข่งขัน
5.               เทคนิคที่ใช้ในการสร้างสรรค์เพลง ทั้งทำนอง และเนื้อร้องที่ทำขึ้นมาใหม่ (ในการแข่งขันบางกรณี)
6.               การศึกษา ดูเกมส์ของคู่แข่งขัน  ว่ามีข้อดี ข้อเด่น อะไรที่เราต้องพัฒนา
(สัมภาษณ์ อาจารย์สายชล ดวงแก้ว อาจารย์ผู้ควบคุมวงดนตรี
ลูกทุ่งปัญญาไทย)

          การวางแผนกลยุทธ์ในการแข่งขัน แดนเซอร์ และการแสดง
ประเด็นคำถาม
3.               เทคนิคที่ใช้ในการสร้างสรรค์ท่าเต้น การแสดง ที่ใช้ในการแข่งขันแต่ละครั้ง
4.               การศึกษา ดูเกมส์ของคู่แข่งขัน  ว่ามีข้อดี ข้อเด่น อะไรที่เราต้องพัฒนา(สัมภาษณ์ อาจารย์เอกพันธ์ อยู่ยิ่ง
อาจารย์ผู้ควบคุมวงดนตรี
ลูกทุ่งปัญญาไทย)


ประเด็นที่ 3 ชีวิตความเป็นอยู่
ของสมาชิกในวง
เนื้อหาเชิงวิเคราะห์  ชีวิต กับ การแข่งขัน
ประเด็นคำถาม
4.                การจัดสรรเวลาเรียน กับ การร่วมกิจกรรมของวงดนตรีลุกทุ่ง

สัมภาษณ์
-                    นางสาวรัชนี สร้อยกุดเรือ  ประธานชมรมลูกทุ่งปัญญาไทย
-                    นายณัฐวุฒิ บุตตะ นักร้องนำวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย
ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนฯงานดาวรุ่งลูกทุ่งนเรศวรครั้งที่ 7
-                    นางสาวสุนิดา นุ่มจันทร์ นักร้องนำวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนฯงานดาวรุ่งลูกทุ่งนเรศวรครั้งที่ 7

ประเด็นที่ 3 ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในวง
เนื้อหาเชิงวิเคราะห์  ชีวิต กับ การแข่งขัน
ประเด็นคำถาม
5.                ความรู้สึกที่ได้รางวัลถ้วยพระราชทาน และเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต


สัมภาษณ์
-                    นางสาวรัชนี สร้อยกุดเรือ  ประธานชมรมลูกทุ่งปัญญาไทย
-                    นายณัฐวุฒิ บุตตะ นักร้องนำวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนฯงานดาวรุ่งลูกทุ่งนเรศวรครั้งที่ 7
-                    นางสาวสุนิดา นุ่มจันทร์ นักร้องนำวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนฯงานดาวรุ่งลูกทุ่งนเรศวรครั้งที่ 7



ประเด็นที่ 3 ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในวง
เนื้อหาเชิงวิเคราะห์ชีวิตกับการแข่งขัน
ประเด็นคำถาม
6.                คุณมองตัวเองอย่างไรในอนาคต


สัมภาษณ์
-                    นางสาวรัชนี สร้อยกุดเรือ  ประธานชมรมลูกทุ่งปัญญาไทย
-                    นายณัฐวุฒิ บุตตะ นักร้องนำวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย
ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนฯงานดาวรุ่งลูกทุ่งนเรศวรครั้งที่ 7
-                    นางสาวสุนิดา นุ่มจันทร์ นักร้องนำวงดนตรีลูกทุ่งปัญญาไทย ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนฯงานดาวรุ่งลูกทุ่งนเรศวรครั้งที่ 7





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น