วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ปรากฏการณ์การจากไปของราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ สะท้อนภาพการเผยแพร่ข่าวสาร ในยุคสื่อไร้ Social Media และการทำงานของสื่อมวลชน

                

                13 มีนาคม พ.ศ. 2535 มีข่าวปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ การเสียชีวิตของราชินีลูกทุ่งพุ่มพวง ดวงจันทร์ หลังจากเดินทางออกจากโรงพยาบาลศิริราชเพื่อไปรักษาด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ ไปจังหวัดพิษณุโลกโดยเดินทางด้วยรถตู้ แต่หลังจากกราบไหว้พระพุทธชินราช เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. ก็เกิดอาการช็อกและหมดสติ ญาตินำส่งโรงพยาบาลพุทธชินราช กระทั่งถึงแก่กรรมอย่างสงบเมื่อเวลา 20.55 น.

                เป็นที่ทราบกันดีมาตลอดถึงความเพียรพยาม มุ่งมานะ สู่ฝ่าฝันอุปสรรค เดินทางความฝัน ของน้ำผึ้ง ณ ไร่อ่อย  น้ำผึ้ง เพชรสุพรรณ จนมาถึง พุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีลูกทุ่ง ที่ประชาชนรับ เคารพ และศรัทธา ด้วยใจ จากช่วงระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง เธอก็ยังสร้างความสนุกสนาน สร้างเสียงหัวเราะ ด้วยบทเพลงของเธอ เธอทำงานด้วยใจรักและความคาดหวังว่า วันนี้ประชาชนที่จะมาดูจะมีความสุข จะชอบมาน้อยเพียงไหน

                ทำให้เกิดความสัมพันธ์ของความรักขึ้น เมื่อพุ่มพวง ดวงจันทร์มีชื่อเสียง ข่าวหนังสือพิมพ์ก็จะออกข่าวทันที ตั้งแต่ข่าวที่เธอท้องกับคุณไกรสร แสงอนันต์ ข่าวระหว่างที่เธอเป็นลม ล้มกลางเวทีขณะทำการแสดง ข่าวการตรวจพบว่าเธอป่วยเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองในปี 2534 และที่ช็อคที่สุดคือ ข่าวการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของราชินีลูกทุ่งในปี 2535

                ดังนั้นสื่อ ที่ถือว่าเป็นฐาอันดรศักดิ์ที่ 4 ของสังคม จึงมีอิทธิพลต่อการนำเสนอข่าว สื่อจึงมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเธอ เพื่อถ่ายทอด ประชาสัมพันธ์ หรือติดตามเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเธอตามความนิยมของผู้ที่ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง แต่ที่สิ่งที่กลุ่มจะนำมาวิเคราะห์ในวันนี้ คือเรื่องราวเกี่ยวกับการจากไปของราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ สะท้อนภาพการเผยแพร่ข่าวสาร ในยุคสื่อไร้ Social Media ที่มีพลังและการแพร่กระจายข่าวสารการเสียชีวิต เข้าถึงกลุ่มผู้ฟังหรือประชาชนผู้รับสารได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับสถานภาพทางสังคม หรือ เศรษฐกิจในสังคมสมัยนั้น ที่ยังไม่มีความรุ่งเรืองเรื่องเทคโนโลยี ร่วมถึงตามชนบท ที่มีการจัดรายการวิทยุเป็นช่วง ๆ จัดถึงประมาณ 3-4 ทุ่มบ้าง ไม่ได้จัด 24 ชั่วโมง เหมือนในปัจจุบัน ส่วนโทรทัศน์มีรายการทีวีบ้าง แต่การเข้าถึงของคนในสมัยนั้นถือว่าน้อย เมื่อกล่าวถึงความเลื่อมล้ำทางสังคมในสมัยก่อน แต่ทำไมข่าวการเสียชีวิตของพุ่มพวง ดวงจันทร์ เมื่อเวลา 20.55 น. กลับสะท้อน เผยแพร่ กระจายออกไป เข้าถึงประชาชนได้รวดเร็ว ภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง จนมีประชาชนเกือบครึ่งแสนมาร่วมไว้อาลัยในรุ่งเช้า เพื่อเคารพศพ และมาพบเธอผู้เป็นราชินีลูกทุ่งของคนไทยที่วัดมกุฏกษัตริยาราม และมีปรากฏการณ์การผู้คนเกือบ 3 แสนร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพของพุ่มพวง ดวงจันทร์ จัดที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. พ.ศ. 2535 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี ซึ่งถือว่าเป็นคนดังหรือคนที่มีชื่อเสียง ที่เสียชีวิตแล้วมีผู้คนสนใจร่วมไว้อาลัย รองลงมาจาก ราชาเพลงลูกทุ่ง ครูสุรพล สมบัติเจริญ พระเอกตลอดกาล มิตร ชัยบัญชา และ บุคคลที่มีชื่อเสียงท่านอื่นๆ
               
                จากปรากฏการณ์ข้างต้น คณะผู้จัดทำได้ศึกษา ค้นคว้า ทบทวนเอกสารประกอบซึ่งมี ทฤษฎีเกี่ยวข้องสัมพันธ์ดังนี้
1.       แนวคิดและทฤษฎีการกำหนดวาระข่าวสาร (Agenda Setting Theory)
2.       แนวคิดเกี่ยวกับทิศทางในการนำเสนอข่าวสาร
3.       แนวคิดเกี่ยวกับการเปิดรับสื่อ


แนวคิดและทฤษฎีการกำหนดวาระข่าวสาร (Agenda Setting Theory)
                ทฤษฎีการกำหนดวาระข่าวสาร (Agenda Setting Theory) เป็นทฤษฎีสื่อสารมวลชนซึ่งอยู่ในยุคที่เรียก Emergence of Moderate effects อันเป็นยุคที่ 3 ซึ่งเชื่อว่าสื่อมีอิทธิพลในระดับปานกลาง หมายความว่า สื่อทำให้คนพูดถึงในสิ่งที่สื่อกาลังเสนอได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนจะเชื่อในสิ่งที่สื่อพูดเสียทันที ซึ่งก่อนหน้านั้นในยุคแรกมีความเชื่อว่า สื่อมีพลังอันมหาศาล (..1920-1960) ดังเช่น ทฤษฎีกระสุนปืน (Magic Bullet Theory) ที่เชื่อว่าสื่อเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างได้ และในยุคที่สองที่เริ่มหันมาเชื่อว่าสื่อไม่มีพลังอำนาจอย่างที่เคยคิดแต่ทว่ามีผลกระทบอันจำกัดเท่านั้น ประมาณ (..1960-1980) เช่น ทฤษฎี Selective Influence Theories หรือการมีอิทธิพลอย่างจำแนก Agenda Setting เป็นบทบาทของสื่อมวลชน ในการจัดการข่าวสารที่เกิดขึ้นอย่างมากมายเอาไว้ให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อพร้อมสาหรับการนำเสนอ ซึ่งในขึ้นตอนการนำเสนอนั้น สื่อก็จะช่วยจัดวาระเรียงลำดับความสำคัญ เพื่อที่ประชาชนจะได้พูดถึง อภิปราย ถกเถียง และให้ความสนใจต่อประเด็นที่สื่อเลือกมาเสนออันก่อให้เกิดอิทธิพลทางอ้อม กล่าวคือ ถึงแม้สื่อจะไม่สามารถทำให้ประชาชนคิดแบบที่สื่อจะคิดได้(Think What) แต่สื่อก็ยังสามารถทำให้คนคิดในเรื่องที่เกี่ยวกับสื่อบอกได้ (Think about) นอกจากนั้นประชาชนก็ยังเรียนรู้กติกาต่างๆที่อยู่ในรูปแบบของสื่อ เช่น อะไรที่พูดถึงมาก แปลว่าสำคัญ อะไรที่พูดถึงก่อนแปลว่าสำคัญอะไรที่พาดหัวใหญ่สุดแปลว่า สำคัญที่สุด เป็นต้น

                สื่อมวลชน ได้กล่าวถึง การที่ประชาชนเรียนรู้จากสื่อมวลชนว่าอะไรคือประเด็นปัญหา และควรจะจัดลำดับของประเด็นปัญหาเหล่านั้นเป็นอย่างไร

                การทำงานของสื่อมวลชน จำเป็นต้องมีการเลือกเรื่อง หรือกำหนดประเด็นในการนำเสนอข่าว ทำให้สื่อมีบทบาทในการเป็นผู้กำหนดกรอบของเรื่องราวที่นำเสนอ และประเด็นในการโต้แย้งแสดงเหตุผลของสังคม สื่อมวลชนจึงถูกมองว่าเป็นผู้ที่ทำหน้าที่กำหนดประเด็นให้แก่สังคม(Agenda setting) เรื่องใดที่สื่อนามาเผยแพร่นั้นก็ยิงมีน้าหนักมากขึ้นไปด้วย และกลายเป็นประเด็นใหญ่ของสังคม หรือที่คนเรียกว่า เป็นวาระทางการเมืองและสังคม (Social and Political Agenda)

                ในขณะที่ Jame W.Dearing และ Everett M. Roger ได้กล่าวถึงการทำหน้าที่ในการกำหนดวาระข่าวสารของสื่อมวลชนไว้ว่า กระบวนการกำหนดวาระเปรียบเสมือนกระบวนการทางการเมืองที่ประเด็นข่าว เหตุการณ์ต่างๆ ต้องมีการแข่งขันกัน เพื่อได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนจนถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นของข่าวในวันนั้น โดยอาศัยการพิจารณาของข่าวนั้นๆเป็นสำคัญ ทั้งนี้กระบวนการกำหนดวาระของข่าวสารว่าประเด็นใดบ้างจะถูกจัดขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญในวันนั้น มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ
                1. ประเด็นที่สื่อมวลชนนำเสนอ (Media Agenda) กล่าวคือ ประเด็นที่สื่อมวลชนเป็นผู้จัดลำดับ ความสำคัญว่ามีคุณค่า และน่าสนใจเพียงพอที่จะนาขึ้นรายงานต่อสาธารณชน ซึ่งสื่อมวลชนจะพิจารณาความเด่นของข่าวในจำนวนหลายๆชิ้น ว่าข่าวใดมีความเด่นสุด
                2. ประเด็นที่สาธารณชนให้สำคัญ (Public Agenda) คือ ประเด็นที่สาธารณะเป็นผู้จัด หมายถึงการที่สังคมให้ความสนใจ หรือสร้างผลกระทบต่อผู้คนในสังคมได้ สื่อมวลชนก็จะหยิบยกขึ้นมาเป็นวาระในการนำเสนอ เช่น ในสหรัฐอเมริกาช่วงหนึ่งมีปัญหาสังคมที่สำคัญ คือ เรื่องการสูบบุหรี่ โดยมีการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ เป็นอย่างมาก สื่อมวลชนได้ใช้ปัญหาสังคมนี้ (Social Problem) มาเป็นตัวกำหนดประเด็นวาระของสื่อมวลชนได้
                3. ประเด็นระดับนโยบาย (Policy Agenda) ก็คือ ประเด็นที่ผู้อำนาจเป็นผู้จัด โดยมักเป็นประเด็นที่ยกขึ้นมาให้ผู้ที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายให้ความสำคัญ เช่น ครั้งหนึ่งเคยมีประเด็นสตรี (Famine Issue) ซึ่งประเด็นนี้เป็นเพียงแค่ประเด็นเล็กๆ ที่ยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก แต่จากการที่สื่อมวลชนหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมา ทำให้ประเด็นเล็กๆกลายเป็นประเด็นสำคัญในสหรัฐฯได้ โดยมีสื่อมวลชนสนับสนุนนั่นเอง

                ซึ่งการจากไปของราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ สะท้อนภาพการเผยแพร่ข่าวสาร ในยุคสื่อไร้ Social Media และการทำงานของสื่อมวลชน สอดคล้องกับทฤษฎีการกำหนดวาระข่าวสาร (Agenda Setting Theory) ซึ่งสื่อในสมัยนั้นจะมีเพียงหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ดังนั้นข่าวของการจากไปของบุคคลที่มีชื่อเสียง ก็จะกลายเป็นข่าวใหญ่ในช่วงไม่กี่นาที โดยใช้การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์จากสื่อใหญ่ ลงท้องถิ่น จากท้องถิ่นลงสู่ชุมชน จากชุมชนลงสู่หมู่บ้าน และเผยกระจายเป็นทฤษฎีกระสุนปืน (Magic Bullet Theory) ที่เชื่อว่าสื่อเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างได้ สื่อมีพลังอำนาจอย่างมากต่อการรับรู้ ข้อมูลข่าวสาร

                การที่สื่อมวลชนเอาใจใส่ต่อประเด็นปัญหาบางอย่าง และละเลยปัญหาอื่นๆ ก็ย่อมมีผลต่อมติมหาชน ประชาชนมักมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่สื่อมวลชนนำเสนอ รวมทั้งรับเอาระดับความสำคัญตามที่สื่อมวลชนได้ให้แก่ประเด็นต่าง ๆ ด้วย การจัดระเบียบวาระให้เป็นข่าวเด่น ด้วยการพาดหัวข่าวใหญ่ในหน้าหนึ่ง ผ่านการพาดหัวข่าวใหญ่โตผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ ผ่านการออกอากาศ กระจายเสียงทุก ๆ ต้นชั่วโมงในการติดตามข่าวสารนั้น เพื่ออัพเดตข้อมูลข่าวสาร ความคืบหน้าให้ประชาชนได้รับรู้ ตลอดทั้งสัปดาห์ถึงข่าว การเสียชีวิตของพุ่มพวง ดวงจันทร์ ถ้าเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ปัจจุบันจะเหมือน การจากไปของ ปอ ทฤษฏี ที่มีการให้ความสำคัญของสื่อต้นสังกัด คือ ช่อง 3 รวมทั้งสื่ออื่น ๆ ที่มีการรายงานความคืบหน้า การพูดถึงเรื่องราวต่าง ๆ รวมทั้งภาพบรรยากาศของงานให้ประชาชนได้รับรู้ว่าข่าวการจากไปของ ปอ ทฤษฎี สหวงศ์ ถูกจัดระเบียบวาระเป็นข่าวเด่น เป็นข่าวสำคัญตลอดทั้งสัปดาห์
                ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ผู้รับสารไม่เพียงแต่เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ และเรื่องราวอื่นๆผ่านสื่อมวลชนเท่านั้น แต่ยังเรียนรู้ด้วยว่าจะให้ความสำคัญต่อประเด็นปัญหาหรือหัวข้อหนึ่งๆ มากน้อยเพียงไร จากการเน้นนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน

แนวคิดเกี่ยวกับทิศทางในการนำเสนอข่าวสาร

                จากการศึกษาของ Haskins, Millers และ Quarles ทั้งสามได้ศึกษาทิศทางการนำเสนอข่าว โดยได้เปรียบเทียบระหว่างวิทยุ และโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา โดยให้คำจำกัดความของข่าวเชิงบวก เชิงกลาง และข่าวเชิงลบดังนี้
                ข่าวเชิงบวก หมายถึง ข่าวที่ผู้อ่านอ่านแล้วตีความ หรือเกิดความรู้สึกโดยทั่วไปว่าเป็นเรื่องที่ให้ผลในทางดี มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น น่าชื่นชม แสดงความรู้สึกเห็นด้วย สนับสนุน ชื่นชม สังคมมีสุขภาพดี ส่งเสริมศีลธรรมจรรยา แสดงถึงการพัฒนาการร่วมมือกลมเกลียวน่ายกย่อง ช่วยเหลือกัน ไม่เห็นแก่ตัว แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจ การค้นพบที่น่าชื่นชม หรือเรื่องราวที่ให้ความรู้สึกพึงพอใจเป็นสุข โดยภาพรวมคือเนื้อหาที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

                ข่าวเชิงลบ หมายถึง ข่าวที่ผู้อ่าน อ่านแล้วตีความ หรือเกิดความรู้สึกโดยทั่วไปว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าพอใจ เป็นความขัดแย้ง สุขภาพเสื่อม ไม่เห็นด้วย ต่อต้านสังคม น่าสยดสยอง ล่มสลาย ทาลาย เจ็บปวด เป็นอันตรายทรุดโทรม ถดถอย หรือเรื่องราวที่ให้ความรู้ที่ไม่เป็นสุข โดยภาพรวมคือเนื้อหาที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงในทางที่เลวลง

                ข่าวเชิงเป็นกลาง หมายถึง ข่าวที่นอกเหนือไปจากทั้งสองขั้วข้างต้น คือเนื้อหาที่ไม่มีลักษณะของการให้อารมณ์ความรู้สึกแก่ผู้อ่านไปด้านใดด้านหนึ่งอย่างชัดเจน เป็นการเสนอข้อเท็จจริงทั่วไป เป็นข่าวที่ไม่ให้ความรู้สึกพึงพอใจเป็นพิเศษ ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ให้ความรู้สึกเป็นทุกข์ และในบรรดาข่าวที่มีทิศทางแตกต่างกันระหว่างบวก จนไปถึง ลบนั้น

                Galtung และ Ruge ให้เหตุผลเชิงสนับสนุนว่า ข่าวเชิงลบมีคุณสมบัติเด่น และถูกเลือกมาเป็นข่าวมากกว่าข่าวเชิงบวก เนื่องจากข่าวเชิงลบ เป็นที่ชื่นชอบและเข้ากันดีกับกิจการของหนังสือพิมพ์เพราะเรื่องราวร้ายๆ มักเป็นที่พอใจของผู้อ่าน
                ข่าวเชิงลบ เป็นเรื่องที่ประชาชนจะเชื่อ ยอมรับ หรือเห็นด้วยได้ง่ายกว่าเรื่องราวลักษณะอื่น เพราะไม่มีความซับซ้อน การกระทาผิดพลาดของคน มักจะเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด และเข้าใจได้ง่าย
                ข่าวเชิงลบ สอดคล้องกับปัญหาประจำวันที่คนเผชิญอยู่ ข่าวเชิงลบ จึงช่วยเติมเต็มความรู้สึกของคนได้ ข่าวเชิงลบมักเป็นสิ่งที่คาดไม่ถึง นั่นคือ น่าติดตามนั่นเอง
               
                โดยการจากไปของราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ สะท้อนภาพการเผยแพร่ข่าวสาร ในยุคสื่อไร้ Social Media และการทำงานของสื่อมวลชน ซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิดเกี่ยวกับทิศทางในการนำเสนอข่าวสาร ของ Haskins, Millers และ Quarles การรายงานเนื้อหาข่าวการเสียชีวิตของพุ่มพวง ดวงจันทร์ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเน้น เชิงบวก อำลา อาลัย พูดถึงผลงาน และสิ่งดี ๆ ที่เธอทำ รวมถึงเรื่องในแง่มุมที่ดีของเธอที่ยังมีชีวิตอยู่

                ซึ่งทำผู้อ่านอ่านแล้วตีความหรือเกิดความรู้สึกโดยทั่วไปว่าเป็นเรื่องที่ให้ผลในทางดี มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น น่าชื่นชม ไม่ได้ก่อให้เกิดความเกลียดชัง แตกแยก หรือต้องการทำลายภาพลักษณ์ของผู้เสียชีวิตผ่านข่าว แต่จะนำเสนอข่าวเพื่อแสดงความรู้สึกเห็นด้วย สนับสนุน ชื่นชม ส่งเสริมศีลธรรมจรรยา แสดงถึงการพัฒนาการร่วมมือกลมเกลียวน่ายกย่อง ช่วยเหลือกัน ไม่เห็นแก่ตัว แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจ การค้นพบที่น่าชื่นชม หรือเรื่องราวที่ให้ความรู้สึกพึงพอใจเป็นสุข โดยภาพรวมคือเนื้อหาที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของการจากไปอย่างที่น่าจดจำของพุ่มพวง ดวงจันทร์ ในฐานะ ราชินีลูกทุ่งชื่อดัง
               

แนวคิดเกี่ยวกับการเปิดรับสื่อ

                แคลปเปอร์ (Klaper, 1960) กล่าวว่า มนุษย์มีกระบวนการเลือกรับข่าวสารที่ประกอบด้วยกัน 4 ขั้นตอน คือ 
                1. การเลือกเปิดรับ โดยบุคคลเลือกเปิดรับสื่อและข่าวสารตามความสนใจและความต้องการ  
                2. การเลือกสนใจ หลังจากเลือกเปิดรับสารแล้ว บุคคลยังเลือกให้ความสนใจเฉพาะข่าวสารที่ทอดคล้องกับทัศนคติและความเชื่อดั้งเดิม  
                3. การเลือกรับรู้หากข่าวสารที่ได้รับมาขัดแย้งกับทัศนคติและความเชื่อดั้งเดิม บุคคลจะบิดเบือนข่าวสารนั้นให้สอดคล้องกับทศนคติและความเชื่อของตน  
                4. การเลือกจดจำบุคคลเลือกจดจำเนื้อหาสาระของสารในส่วนที่ต้องการจำเข้าไปเก็บไว้เป็นประสบการณ์เพื่อใช้ในโอกาสต่อไปและพยายามลืมในส่วนที่ต้องการจะลืม ดังนั้นผู้รับสารจะเลือกรับข่าวสารทางการเมืองตามช่องทางและมากน้อยเพียงไรนั้น จึงขึ้นอยู่กับกระบวนการเลือกรับข่าวสารทั้ง 4 ขั้นตอนดังกล่าว โดยข่าวสารใดที่ตรงตามความสนใจ ความต้องการ สอดคล้องกับทศนคติและความเชื่อดั้งเดิมของผู้รับสาร ข่าวสารนั้นก็จะถูกเลือกจดจำ ส่วนข่าวสารใดที่ผู้รับสารไม่ต้องการหรือไม่อยู่ในความสนใจ ข่าวสารนั้นก็จะถูกลืมในที่สุด

                การจากไปของราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ สะท้อนภาพการเผยแพร่ข่าวสาร ในยุคสื่อไร้ Social Media และการทำงานของสื่อมวลชน สอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับการเปิดรับสื่อ โดยสมัยก่อนความหลากหลายของศิลปิน แนวเพลง และรูปแบบการทำงานด้านบันเทิงยังไม่หลากหลายเท่าในปัจจุบันการแข่งขันยังน้อย ทำให้ผู้รับสารมีอิทธิพลในการเปิดรับสาร ผ่านความพึงพอใจ ความชอบ และปัจจัยส่วนบุคคลที่ผู้รับสารพึงมี ทำให้การรับข่าวสารมีประสิทธิภาพและมีกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน ยิ่งด้วยข่าวของการจากไปของบุคคลที่มีชื่อเสียง อย่างพุ่มพวง ดวงจันทร์ ดังนั้นผู้รับสารก็ไม่พลาดที่จะรับรู้ความเคลื่อนไหว ข่าวสารของการจากไป ไม่ใช่แค่ข่าวการเสียชีวิต แต่ข่าวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างที่เธอยังมีชีวิตอยู่ ผู้รับสาร

                รวมถึงเนื่องจากสื่อโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียงมี เนื้อหาสาระ ที่มีการนำเสนอสลับสับเปลี่ยนตลอดเวลา และด้วยที่คุณสมบัติสื่อโทรทัศน์ ที่สามารถรับสื่อได้ด้วยการฟังการมองเห็นภาพ จึงมีส่วนช่วยอย่างมากต่อการรับรู้และความเข้าใจของผู้รับข่าวสาร เพราะสามารถให้ทั้งภาพ เสียง การเคลื่อนไหว สะดวก สบาย ไม่จำเป็นต้องหาข้อมูลเองหรือรอเพียงแค่หนังสือพิมพ์รายวัน ก็สามารถที่จะรับรู้ข้อมูลได้มากมายผ่านสื่อเหล่านี้ได้ ยิ่งสร้างความสะดวกสบายและการเปิดรับที่เข้าถึงข่าวสารได้ตลอดเวลา จึงเป็นอีกตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการรับสื่อเกี่ยวกับเรื่องราวการจากไปของพุ่มพวง ดวงจันทร์

                ในเรื่องของสื่อมวลชนสมัยก่อน การทำงานเปรียบเป็นดั่งนักปราชญ์ที่ค่อยรายงานข่าวให้พระราชา การทำข่าวราบรวมข่าวสาร สำหรับหนังสือพิมพ์ จะพิมพ์วันต่อวัน อัพเดตข่าวสารตลอดเวลา ผสมกับความน่าเชื่อของเนื้อหาและแหล่งที่มาของข่าวสารที่น่าเชื่อถือและสามารถรับสื่อได้ ทำให้คนสมัยก่อนจะชอบเปิดรับสื่อหนังสือพิมพ์กันเยอะ ด้วยสำนวนภาษาการเขียนที่น่าติดตามของสื่อมวลชนสมัยก่อน

                หลังจากการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีสื่อสารมวลชนและการทำงานของสื่อเกี่ยวกับปรากฏการณ์การจากไปของราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ สะท้อนภาพการเผยแพร่ข่าวสาร ในยุคสื่อไร้ Social Media และการทำงานของสื่อมวลชน ทำให้คณะผู้จัดทำ ทราบว่า ช่องทางในการเปิดรับสื่อสมัยก่อน ยังมีไม่หลากหลายมากเท่าในปัจจุบัน หนังสือพิมพ์ใช้การพิมพ์แบบวันต่อวัน  ดังนั้นแรงในการกระจายข่าวสารการจากไปของพุ่มพวง ดวงจันทร์เป็นการใช้การกำหนดวาระข่าวสาร ผสมกับการกระจายเป็นทฤษฎีกระสุนปืน (Magic Bullet Theory) คือ ตั้งข่าวใหญ่ต่อวัน จากนั้นระดมสื่อทั้ง โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง และหนังสือพิมพ์ ออกข่าว พาดหัวใหญ่ จากสื่อใหญ่สู่สื่อท้องถิ่น จากท้องถิ่นสู่หมู่บ้าน จากหมู่บ้าน สู่ชุมชนและเผยกระจายเข้าตามครัวเรือน ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ด้วยข้อจำกัดที่โทรทัศน์ และวิทยุกระจายเสียง สมัยก่อน ยังไม่มีการเริ่มออกอากาศ 24 ชั่วโมงในปัจจุบัน แต่ด้วยแรงทฤษฎีกระสุนปืน มีการพูดบอกกล่าวกันในวงสังคม ทำให้เกิดแรงตอบรับหรือ Feedback ในเรื่องของการมาร่วมกันของประชาชนจากทั่วทุกสารทิศเกือบครึ่งแสน มาร่วมพิธีรดน้ำศพและร่วมงานศพของพุ่มพวงดวงจันทร์ ภายในระยะเวลาที่ออกขายไปไม่ถึง 24 ชั่วโมง
               
       รวมถึงความพึงพอใจในการเปิดรับสื่อของผู้รับสารในอดีต ที่พร้อมจะรับสารทุกเมื่อ และพร้อมจะหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าข้อมูลที่เปิดรับนั้นเป็นข้อมูลความจริง ซึ่งการเปิดรับสื่อในสมัยนั้น จะเปิดรับผ่านปัจจัยส่วนบุคคลและความพึงพอใจ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเกี่ยวกับความชื่นชอบชื่นชมส่วนตัวที่ผู้รับสารมีให้ต่อพุ่มพวง ดวงจันทร์  ที่ส่วนใหญ่ตัวแปรอิทธิพลด้านความต้องการ จะสอดคล้องกับ ทฤษฎีการใช้สื่อเพื่อประโยชน์และความพึงพอใจ ในเรื่องความต้องการด้านความรัก ที่เกี่ยวข้องกับ ความชื่นชอบส่วนตัว ของรัก ศิลปินที่รักก็เกี่ยวข้อง ตามที่มาสโลว์ (Maslow) ได้กล่าวไว้ในทฤษฎีนี้ และยังมีตัวแปรประกอบต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้รับสารเปิดรับสื่อที่แตกต่างไป เช่น ความสนใจในช่วงวัยนั้น ความสามารถในการรับสาร สภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเปิดรับสื่อ การโน้นน้าวใจและพฤติกรรมของผู้รับสาร ด้านอารมณ์ ด้านทัศนคติ ที่จะเป็นตัวกำหนดท่าทีของการเปิดรับ การตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือข้อมูลข่าวสารที่รับรู้ก็มีส่วนสำคัญในการรับสื่อ

                และองค์ประกอบสุดท้ายที่พบเจอในเรื่อง ปรากฏการณ์การจากไปของราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ สะท้อนภาพการเผยแพร่ข่าวสาร ในยุคสื่อไร้ Social Media และการทำงานของสื่อมวลชน แนวคิดเกี่ยวกับทิศทางในการนำเสนอข่าวสาร ของ Haskins, Millers และ Quarles การรายงานเนื้อหาข่าวการเสียชีวิตของพุ่มพวง ดวงจันทร์ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเน้น เชิงบวก อำลา อาลัย พูดถึงผลงาน และสิ่งดี ๆ ที่เธอทำ รวมถึงเรื่องในแง่มุมที่ดีของเธอที่ยังมีชีวิตอยู่

                ซึ่งทำผู้อ่านอ่านแล้วตีความหรือเกิดความรู้สึกโดยทั่วไปว่าเป็นเรื่องที่ให้ผลในทางดี มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น น่าชื่นชม แต่จากการศึกษาเราก็เห็นข้อแตกต่างของสื่อมวลชนสมัยก่อนประมาณ 24 ปี เรื่องความนิยมในการถ่ายภาพศพ ให้เห็นศพ เห็นสภาพศพที่กำลังเสียชีวิต เนื่องจากสมัยก่อนประชาชนมีความศรัทธาในตัวของบุคคลที่มีชื่อเสียง ดารา นักร้อง หรือ บุคคลสำคัญของประเทศ จนต้องมีการถ่ายภาพพิสูจน์ เพื่อยืนยันว่าบุคคลนั้นเสียชีวิตแล้วจริง ๆ เพื่อทำให้ประชาชนเชื่อถึงการจากไป จนกลายเป็นเรื่องปกติ ธรรมดา

                แต่การนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับทิศทางในการนำเสนอข่าวสารที่จะมีสื่อมวลชนในสมัยนั้น บางหัว บางสำนักที่ใช้ภาพศพ ภาพการตาย ภาพการเสียชีวิต รวมถึงการเขียนข่าวในเนื้อหาเชิงลบ ทำลายภาพลักษณ์ สอดแทรกกับเนื่องหาการหมื่นประมาทผู้เสียชีวิต จนกลายเป็นค่านิยมของสื่อมวลชนในสมัยก่อน จากภาพบุคคลดังในบ้านเมือง ภาพศพของมิตร ชัยบัญชา ภาพศพคนดังในวงการบันเทิง  ซึ่งถ้าเราศึกษาในมุมลึกจริง ๆ จะพบว่าในสมัยนั้น ยังไม่มีการ ปฏิรูปสื่อ สื่อยังคงทำตามอำนาจและคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา โดยแสดงออกทางภาพลักษณ์หนังสือว่า ถ้าสื่อมวลชนสำนักนั้น ผู้บังคับบัญชาต้องการนำเสนอแต่ข่าวเชิงบวก ภาพลักษณ์นั้นก็จะเป็นหนังสือดี ผิดกับอีกเล่มถ้าผู้บังคับบัญชา คิดในแง่ลบ สื่อมวลชนทำตามคำสั่งแต่แง่ลบ หนังสือเล่มนั้นจะเป็นหนังสือแง่ลบที่แค่เอ่ยชื่อก็นึกถึงภาพรวมของหนังสื่อเล่มนั้นออก

                จนตั้งแต่ ปี 2540 เป็นต้นมาก็เริ่มมีการปฏิรูปสื่ออย่างเป็นทางการ โดยสื่ออยู่ภายใต้สิทธิ เสรีภาพสื่ออย่างเต็มที่ อย่างเต็มที่ภายใต้กรอบจริยธรรมของตนเองที่มีไว้ จากการศึกษาทำให้เราทราบว่า สมัยก่อนในยุคที่ Social Media ความรัก ความศรัทธาในตัวแหล่งข่าวและผู้รับสารคือพลังงานที่เผยแพร่รวดเร็วที่สุด รวมทั้งการตั้งวาระข่าวสาร และการกำหนดภาพลักษณ์ข่าวให้น่าสนใจ ยังเป็นที่ต้องการในสังคม และอิทธิพลการเปิดสื่อของผู้รับสารที่เลือกรับสารด้วยปัจจัยอิทธิพลส่วนบุคคลไม่มีขอแปรผัน






















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น