วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิจัย ระดับทัศนคติของนิสิตที่มีต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูล (บทที่ 5)

บทที่
สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาระดับทัศนคติของนิสิตที่มีต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ มีวัตถุประสงค์  คือ  เพื่อศึกษาทัศนคติของนิสิตต่อบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน ในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ
                ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 4 ในปีการศึกษา 2558 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม(Cluster Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)  การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยนำข้อมูลประมวลผลและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางสังคมศาสตร์โดยใช้เทคนิคทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ สถิติพรรณนาใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ เพศ อายุ คณะ ชั้นปีและรายได้ต่อเดือน การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และสถิติอ้างอิงข้อมูลความเห็นด้วยของนิสิต ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้ระยะเวลาที่วิจัย ตั้งแต่เดือนสิงหาคม เดือนพฤศจิกายน

สรุปผลการวิจัย
                จากการวิจัยพบว่า ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 4 ในปีการศึกษา 2558  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงรองลงมาเป็นเพศชาย มีอายุมากสุดคือ 19 ปี รองลงมาอายุ 21 ปี อายุ 20 ปีและอายุ 22 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในทุกคณะของมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ศึกษาในระดับชั้นปีที่ 4  รองลงมาชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 โดยมีรายได้ต่อเดือน ระหว่าง 5,001 – 8,000  บาท รองลงมา มีรายได้ต่อเดือน  2,001 – 5,000  บาท มากกว่า 8,001 บาท และมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 2,000 บาท ซึ่งการวิจัยพบอีกว่า ทัศนคติของนิสิตต่อการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ของสื่อมวลชน จากการวิจัยพบว่า ระดับทัศนคติของนิสิตต่อการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของสื่อมวลชน ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 100 คน ส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของสื่อสารมวลชน เรื่องการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาเรื่องการนำเสนอข้อมูลข่าวสารปัจจุบัน สื่อมวลชนใช้คุณธรรม จริยธรรมอันเป็นพื้นฐานในการทำหน้าที่ และเรื่องการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของสื่อมวลชน โดยใช้ข้อเท็จจริงในการนำเสนอมากกว่าใช้ความรู้สึกของสื่อมวลชน ดยทัศนคติต่อการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของสื่อมวลชนที่น้อยที่สุดคือ สื่อในการนำเสนอข้อมูลข่าวของสื่อมวลชนมีความสำคัญต่อประชาชน ในผลรวมของทัศนคติของนิสิตที่มีต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของนิสิตมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต นิสิตมีระดับทัศนคติต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับปานกลาง  จากผลของการวิจัยทำให้ทราบว่า ทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของสื่อมวลชน เรื่องบทบาทหน้าที่การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน ยังไม่สอดคล้องกับประเด็นสมมติฐานที่ทางคณะผู้วิจัยได้ตั้งไว้ คือ ระดับทัศนคติของนิสิตต่อการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของสื่อมวลชนมีความเห็นด้วยต่อการนำเสนอของสื่อมวลชนอยู่ในระดับมาก

อภิปรายผล
                จากการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีทัศนะคติเรื่องการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินคุณค่าข่าว ของ รองศาสตราจารย์ดรุณี หิรัญรักษ์ ที่กล่าวถึงใน (ปรุณรัตน์ พิงคานนท์, 2548) โดยกล่าวว่า เมื่อหนังสือพิมพ์ตัดสินใจพิมพ์ข่าวเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะต้องประเมินคุณค่าข่าวของเหตุการณ์นั้นว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยใช้หลักพื้นฐานในการประเมินคุณค่าข่าว 3 ประการดังต่อไปนี้ 1. ข้อเท็จจริง (Fact) สื่อมวลชนจะต้องพยายามนาข้อเท็จจริงมานำเสนอต่อผู้รับสาร ต้องระลึกเสมอว่า ข่าวจะต้องมีที่มาจากข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ต่างๆดังนี้ ข่าวจะต้องมาจากสถานการณ์(Situation) เหตุการณ์(Occurrence) และความคิด(Thoughts) ข้อคิดเห็น(Ideas) ที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่สิ่งที่เขียนขึ้นตามความรู้สึกนึกคิดของผู้สื่อข่าวเอง ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด อาจไม่ได้นามาเสนอเป็นข่าว เนื่องจากประเด็นบางประเด็น รายละเอียดปลีกย่อยบางข้อ มีความสำคัญค่อนข้างน้อยและขาดความน่าสนใจ ซึ่งไม่จาเป็นต้องนำเสนอข่าวก็เป็นได้ 2. ข่าวต้องเป็นสิ่งที่น่าสนใจ (News must be interesting) โดยใช้หลักการประเมินความน่าสนใจดังนี้ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด อาจจะเป็นสิ่งที่น่าสนใจ หรือไม่น่าสนใจสาหรับการนำเสนอเป็นข่าวก็ได้ระดับความน่าสนใจของข้อเท็จจริง มักจะแตกต่างกันออกไป หากข้อเท็จจริงใดมีความน่าสนใจมาก ย่อมมีคุณค่าข่าวสูงไปด้วย 3. ข่าวจะต้องเป็นสิ่งที่น่าสนใจสาหรับคนหมู่มาก ข่าวมักเป็นเรื่องที่น่าสนใจของประชาชนในวงกว้าง อาจจะเป็นระดับจังหวัด ภูมิภาค ประเทศ หรือนานาประเทศ เป็นต้น       ซึ่งผู้วิจัยพบว่าหลักการและข้อมูลต่าง ๆ ยังเป็นพื้นฐานข้อมูลในเรื่องการประเมินคุณค่าข่าวได้อย่างดี เมื่อเทียบจากการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนในปัจจุบัน ที่ส่วนใหญ่มีการนำเสนอข่าวในเนื้อหาสาระน่าสนใจ และบางข่าวดังจากสื่อออนไลน์หรือ นำมาเสนอโดยมีการประเมินคุณค่าข่าว โดยถ้าข่าวเกิดขึ้นแล้ว โดยไม่ว่าจะเหตุการณ์ใดๆ และได้รับความสนใจ หากไม่น่าสนใจข้อเท็จจริงดังกล่าวก็จะไม่ได้รับการรายงานให้ผู้อ่านทราบ หากสื่อมวลชนพิจารณาเห็นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจก่อเกิดความน่าสนใจของเหตุการณ์ลำดับต่อมา ก็จะนำเสนอเป็นข่าวต่อไป      จากการวิจัยยังพบว่า เรื่องการนำเสนอข้อมูลข่าวของสื่อมวลชนมีความสำคัญต่อประชาชนในค่าระดับที่น้อย โดยไม่สอดคล้องกับทฤษฎีแนวคิด ในเรื่องความสำคัญของการสื่อสารมวลชน โดยกล่าวถึง (ศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ : 2540) ซึ่งกล่าวว่า การสื่อสารมวลชนเข้ามามีบทบาทสำคัญแทนที่การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า (Face to Face Communication) และการสื่อสารแบบบอกปากต่อปาก (Word of Mouth Communication) การสื่อสารมวลชน ทำให้สามารถทาการสื่อการกันได้โดยไม่ถูกจากัดในเรื่องจำนวนคน เวลา และระยะทาง โดยสามารถระบุความสำคัญได้ 5 ประการ คือ 1. ความสำคัญต่อกระบวนการสังคม (Social Process) โดยการเสนอข่าวสารและความคิดเห็นที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนระบบสถาบันต่าง ๆของสังคมให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้รวมทั้งสืบเสาะเบาะแสความไม่ดีไม่งามของสังคม พร้อมกับเสนอแนวทางแก้ไขที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 2. ความสำคัญต่อข่าวสารโดยการนาข่าวสารทุกประเภทมาถึงประชาชนเพราะสังคมปัจจุบันเป็นสังคมข่าวสาร (Information Society) ข่าวสารเป็นเครื่องมือในการสนทนาในชีวิตประจาวัน และเป็นข้อมูลในการวางแผนและประกอบการตัดสินใจ 3. ความสำคัญต่อวัฒนธรรม โดยการนาและถ่ายทอดวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ให้ปรากฏอย่างแพร่หลาย ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นและลดความขัดแย้งระหว่างกันได้ 4. ความสำคัญต่อความเป็นสากลโดยการเผยแพร่ข่าวสารอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ทำให้ผู้คนสามารถรับรู้ข่าวสารได้พร้อมๆ กันทั่วโลก (Globalization)  5. ความสำคัญต่อธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไปสู่กลุ่มประชาชนผู้บริโภค ซึ่งผู้ศึกษาพบว่าหลักการและข้อมูลต่าง ๆ ยังเป็นพื้นฐานข้อมูลที่ยังไม่มีการแปลผันหรือเปลี่ยนแปลงในเรื่องความสำคัญของการสื่อสารมวลชนได้อย่างดี      ดังนั้นจากผลวิจัยในเรื่องความสำคัญในการนำเสนอข้อมูลข่าวของสื่อมวลชนต่อประชาชน ผู้วิจัยสามารถอภิปรายได้ว่าด้วยในปัจจุบันสื่อสำหรับการนำเสนอหรือเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ไม่ได้มีแค่สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ ด้วยระยะเวลาที่เปลี่ยนไปพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สื่อในช่องทางใหม่เริ่มเกิดขึ้นในชื่อของเครือข่ายสังคมออนไลน์(Facebook, Line, Twitter,youtube) ที่สื่อมวลชนสามารถนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้ทุกเวลา และประชาชนสามารถเข้าถึงและรับข้อมูลข่าวสารได้ทุกที่เช่นกัน ดังนั้นความจำเป็นในการรับสื่อผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ก็ลดลงตาม สื่อช่องทางใหม่ที่เกิดขึ้น ที่สามารถความสะดวกสบาย และเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา      และผลการวิจัยในภาพรวมของระดับทัศนคติของนิสิตต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชนในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งสอดคล้องในเรื่องหน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชน ของ (ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ, 2553) โดยฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันได้อธิบายหน้าที่ของการสื่อสารไว้ดังนี้ 1. การสังเกตการณ์สภาพแวดล้อม (Surveillance of the Environment) นั่นคือการเฝ้าดูแลสอดส่องเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งภัยอันตรายที่อาจส่งผลกระทบกับสมาชิกในสังคม 2. การประสานสัมพันธ์ส่วนต่างๆ ของสังคม (Correlation of the Parts) นั่นคือการสื่อสารช่วยให้สมาชิกกลุ่มต่างๆ ในสังคมมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน และอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสงบเรียบร้อย 3. การถ่ายทอดมรดกทางสังคม (Transmission of Social Inheritance) นั่นคือช่วยให้อนุชนรุ่นหลังมีการสืบทอดวัฒนธรรมต่อๆ กันไปโดยไม่ขาดตอน เปรียบเสมือนการให้การศึกษา นอกจากหน้าที่พื้นฐานทั้ง 3 ประการแล้ว ชาร์ล ไรท์ (Charles R. Wright) ยังได้เสนอหน้าที่ในการให้ความบันเทิงเพิ่มเติมด้วย สื่อมวลชนในฐานะสื่อหรือเครื่องมือในการสื่อสารของสมาชิกในสังคมจึงมีหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการ คือ 1. หน้าที่ในการให้ข่าวสาร การให้ข่าวสาร นับเป็นหน้าที่แรกของสื่อมวลชนที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกล่าวในบริบทของการสื่อสาร หน้าที่การให้ข่าวสารนับเป็นหน้าที่อันดับแรกที่เก่าแก่และยาวนานที่สุดของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อสังคมมนุษย์ขยายขอบเขตมากขึ้นต้องอาศัยสื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร หน้าที่การให้ข่าวและข่าวสารจึงยังคงเป็นหน้าที่ที่สำคัญลำดับแรกของสื่อมวลชน การให้ข่าวและข่าวสารของสื่อมวลชนด้วยการเก็บรวบรวม ประมวล วิเคราะห์ ข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ภาพ เสียง เหตุการณ์ต่างๆ เพื่อนาไปเผยแพร่เป็นข่าวให้สมาชิกในสังคมได้ทราบถึงสภาพแวดล้อมของสังคมนั้นๆ เพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นและความสนใจของบุคคล ช่วยให้เกิดความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย ส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาตัวเองของสมาชิกในสังคม การให้ข่าว ข่าวสาร อาจนับได้ว่ามีประสิทธิผลในการเสริมสร้างทางปัญญาของสมาชิกในสังคมอีกด้วย 2. หน้าที่ในการแสดงความคิดเห็น นอกจากการให้ข่าว ข่าวสารแล้วสื่อมวลชนยังต้องมีหน้าที่ในการอธิบาย แปลความหมาย ตีความ และวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความหมายของข่าว ข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นบทบรรณาธิการทางหน้าหนังสือพิมพ์ที่แสดงถึงความคิดเห็น สารคดีเชิงข่าวทางโทรทัศน์ที่เสนอภูมิหลังของข่าวหรือเหตุการณ์และข้อวิพากษ์วิจารณ์ บทวิเคราะห์ข่าวทางวิทยุกระจายเสียงในการเปิดเผยสาเหตุของเหตุการณ์ และคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต การแสดงความคิดเห็นเหล่านี้จัดเป็นหน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชนที่จะต้องทาเพื่อประโยชน์ของสมาชิกในสังคม รวมทั้งการเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นของสังคมเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจและความร่วมใจกัน 3. หน้าที่ในการให้การศึกษา การให้การศึกษานับเป็นการเสนอสาระความรู้อย่างมีระบบ มีวิธีการ เพื่อให้อยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆในสังคมได้ การให้การศึกษานี้สื่อมวลชนสามารถให้ได้ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย อันหมายรวมถึงการถ่ายทอดวัฒนธรรม ค่านิยม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี บทบาท หน้าที่ ของสมาชิกในสังคมด้วย สื่อมวลชนจะเป็นผู้นาสารในลักษณะของความรู้และประสบการณ์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสติปัญญา การปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ และการปรับภูมิปัญญาเข้าสู่มาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน 4. หน้าที่ในการให้ความบันเทิง สื่อมวลชนมีหน้าที่ตอบสนองทางด้านจิตวิทยาแก่สมาชิกในสังคมได้เป็นอย่างดี ด้วยการช่วยคลายเหงาเพื่อทดแทนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลซึ่งมีน้อยลง ช่วยให้ร่างกายและจิตใจได้พักผ่อนและมีกาลังใจเพิ่มขึ้น รวมทั้งช่วยรักษาเยียวยาภาวะต่างๆ ภายในจิตใจ เช่น ความเศร้าหมอง ความวิตกกังวล ความผิดหวัง ช่วยให้หลีกหนีปัญหาต่างๆ ให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และลดความตึงเครียดของจิตใจ      ผู้วิจัยสามารถอภิปรายผลได้ว่า ปัจจุบันนี้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารรอบตัวเรานั้น สามารถรับได้หลากหลายช่องทางทั้งง่าย สะดวก รวดเร็ว และข่าวที่เกิดขึ้นมานั้นก็มีทั้งผลดีและผลเสีย ฉะนั้นนิสิตที่จะเสพข้อมูลข่าวสารในยุคปัจจุบันนี้ ต้องใช้สติและวิจารณญาณพอสมควร เพราะข่าวที่เกิดขึ้นนั้นมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สื่อมวลชนมีบทบาทต่อข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั้งบทบาทในการนำเสนอ การนำเสนอความคิดเห็น การให้ความรู้ และประชาสัมพันธ์ เมื่อถึงยุคข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันทำให้คนมีช่องทางในการสื่อสารกันมากขึ้น ข้อมูลข่าวสารจากความคิดของคน ๆ หนึ่ง สามารถสื่อสารไปสู่คนได้จำนวนมาก ด้วยช่องทางการสื่อสารยิ่งมากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงแค่หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ แต่ยังมีสื่อออนไลน์ และสื่อต่าง ๆ อีกมากมาย ที่สื่อมวลชนสามารถเผยแพร่และนำเสนอข้อมูลได้ยิ่งขึ้น ทำให้ประชาชนต้องการสื่อที่เป็นกลาง นำเสนอข้อมูลที่เป็นจริงให้กับประชาชน โดยไม่มีการบิดเบือนข้อมูล สร้างอคติ หรือนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เอียงไปเอียงมาและชักจูงให้สังคมเชื่อและเกิดอคติมีผลคล้อยตามในเรื่องนั้น ๆ ดังนั้นในเรื่องทัศนคติของนิสิตต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชนในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ สื่อจะต้องนำเสนอความจริงของข้อมูลอย่างมีสีสันและน่าสนใจ สามารถสร้างประโยชน์ สร้างความรู้ และสร้างความตระหนัก เป็นช่องทางในการเชื่องโยงการรับรู้ข่าวสารของคนในสังคม นำเสนอแต่สิ่งดีๆ มาสู่สังคมอย่างน่าสนใจบนพื้นฐานของจรรยาบรรณสื่อสารมวลชน แนวคิดเกี่ยวกับทิศทางการนำเสนอข่าวสาร และความเป็นกลางในการนำเสนอข่าว เพื่อให้ข้อมูล ให้ข่าวสาร ให้ความรู้ และให้ความบันเทิง ในหน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชน

ข้อเสนอแนะ
                ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
1.             นำผลการวิจัยระดับทัศนคติของนิสิตนิสิตต่อการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ สู่สาธารณะ เพื่อปรับใช้ในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน
2.              เพื่อนำผลการวิจัยไปปรับใช้ร่วมกับรายวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากยิ่งขึ้น และรู้จักบทบาทหน้าที่การทำงานของนิสิตด้านการทำงานสื่อสารมวลชนมากขึ้น

                ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป
1.             ควรเพิ่มเวลาในการทำวิจัยเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่ครอบคลุมมากขึ้นและจะได้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือและสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
2.             ควรมีการทำวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกนิสิตมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เห็นถึง   ข้อเสนอแนะและความต้องการของนิสิตอย่างทั่วถึง

3.             ควรขยายระยะเวลาการวิจัย และกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมทุกช่วงอายุ เพื่อสะท้อนระดับทัศนคติของนิสิตต่อการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ สู่สาธารณะ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น