วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิจัย ระดับทัศนคติของนิสิตที่มีต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูล (บทที่ 4)

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
               
                การวิจัยเรื่อง  การศึกษาระดับทัศนคติของนิสิตที่มีต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูล ต่าง ๆ   มีวัตถุประสงค์ คือ  เพื่อศึกษาทัศนคติของนิสิตที่มีความเหมาะสมต่อบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าว  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  นิสิตมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต  ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1   4 ในปีการศึกษา 2558 จำนวน 100 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม(Cluster Random Sampling)   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้ แก่แบบสอบถาม จากนั้นนำแบบสอบถามที่รวบรวมได้มาดำเนินการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

4.1 ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ คณะ ชั้นปีและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ใช้การวิเคราะห์หาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และนำเสนอในรูปตารางประกอบการบรรยาย
ตอนที่ 2 ทัศนคติของนิสิตต่อการนำเสนอข้อมูลของสื่อมวลชน ใช้การวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
                ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ในการวิจัยเรื่องนี้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1   4 ในปีการศึกษา 2558 จำนวน 100 คน
ซึ่งมีข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ เพศ อายุ คณะ ชั้นปี และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ใช้การวิเคราะห์โดยการแจกแจงค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) แล้วนำเสนอในรูปแบบตารางดังตารางที่ 1



ตารางที่ 1: ปัจจัยส่วนบุคคล

ปัจจัยส่วนบุคคล
จำนวน
ร้อยละ
1.เพศ
          ชาย       
          หญิง

43
57

43.00
57.00
รวม
100
100.00
2.อายุ
           1ปี
           20  ปี
           21  ปี
           22  ปี

46
20
22
12

46.00
20.00
22.00
12.00
รวม
100
100.00
3.คณะ
           คณะบริหารธุรกิจ                                
           คณะบัญชี
           คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
           คณะวิศวกรรมศาสตร์
           คณะนิเทศศาสตร์                
           คณะศิลปศาสตร์
           คณะศิลปกรรมศาสตร์                        
           คณะนิติศาสตร์
           คณะรัฐศาสตร์                                      
           คณะศึกษาศาสตร์

10
10
10
10
10
10
10
10
10
10

10.00
10.00
10.00
10.00
10.00
10.00
10.00
10.00
10.00
10.00
รวม
100
100.00





ตารางที่ 1: ปัจจัยส่วนบุคคล (ต่อ)

ปัจจัยส่วนบุคคล
จำนวน
ร้อยละ
4.ชั้นปี
           ชั้นปีที่ 1
           ชั้นปีที่ 2
           ชั้นปีที่ 3
           ชั้นปีที่ 4

26
23
19
32

26.00
23.00
19.00
32.00
รวม
100
100.00
5.รายได้ต่อเดือน     
        น้อยกว่า 2,000 บาท
        2,001 – 5,000 บาท
        5,001 – 8,000 บาท 
        มากกว่า 8,001 บาท

13
26
38
23

13.00
26.00
38.00
23.00
รวม
100
100.00

                                จากตารางที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 100 คน  เป็นเพศชายจำนวน 43 คน เพศหญิง 57  คน มีอายุ 19 ปี จำนวน  46 คน คิดเป็นร้อยละ 46.00  อายุ 21 ปี จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ  22.00  อายุ 20 ปี จำนวน 20 คน  คิดเป็นร้อยละ  20.00  และ อายุ 22 ปี จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 12.00 ซึ่งมีทั้งหมด 10 คณะ โดยผู้วิจัยได้แบ่งเป็นคณะละ 10 คน คิดเป็นร้อยละ 10.00 ของแต่ละคณะ กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นปีที่ 4 จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 32.00 ชั้นปีที่ 1 จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 26 คน ชั้นปีที่ 2 จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 23.00 และชั้นปีที่ 3 จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 19.00 โดยมีรายได้ต่อเดือน ระหว่าง 5,001 – 8,000  บาท จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 38.00 รายได้ต่อเดือน  2,001 – 5,000  บาท จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ  26.00  มากกว่า 8,001 บาท จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 23.00 และมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 2,000 บาท จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 13.00
ตารางที่ 2 : ระดับทัศนคติของนิสิตต่อการนำเสนอข้อมูลของสื่อสารมวลชน
ลำดับ
รายการ
แปลผล

( )
(S.D.)
แปลผล

1.
การนำเสนอข้อมูลข่าวของสื่อมวลชนมีความสำคัญต่อประชาชน
2.98
0.96
น้อย

2.
สื่อมวลชนทำหน้าที่ในการแจ้งข่าวสาร ให้การศึกษา ให้ความบันเทิงแก่ประชาชนได้อย่างน่าพอใจ
3.42
0.79
ปานกลาง

3.
ปัจจุบันสื่อมวลชนมีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้
3.29
0.82
ปานกลาง

4.
ปัจจุบันสื่อมวลชนนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้ข้อเท็จจริงในการนำเสนอมากกว่าใช้ความรู้สึกของสื่อมวลชน
3.55
0.90
มาก

5.
การนำเสนอข่าวที่เป็นจริงของสื่อมวลชน
3.36
0.94
ปานกลาง

6.
ปัจจุบันการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร สื่อมวลชนนำเสนอข่าวตามเนื้อหาจริง เพื่อประชาชนได้เกิดความมั่นใจ
3.54
0.98
มาก

7.
สื่อมวลชนนำเสนอข่าวไปพร้อมกับการคิดวิเคราะห์พิจารณาข่าวด้วยความเป็นกลาง ให้เข้าใจถึงเนื้อหามากขึ้น
3.29
0.89
ปานกลาง

8.
ความเป็นกลางในการนำเสนอข่าว
3.08
0.95
ปานกลาง

9.
สื่อมวลชนให้ความรู้การศึกษาแก่ประชาชนได้อย่างน่าพอใจ
3.31
0.83
ปานกลาง

10.
การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร สื่อมวลชนนำเสนอข้อมูลเชิงลึกได้อย่างรอบด้าน
3.42
0.85
ปานกลาง

11.
การนำเสนอข้อมูลข่าวสารปัจจุบัน สื่อมวลชนผลิตขึ้นและนำเสนอด้วยความเป็นมืออาชีพ
3.41
0.91
ปานกลาง

12.
การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร สื่อมวลชนได้มาจากแหล่งข่าวจริง
3.43
0.85
ปานกลาง








13.
ปัจจุบันการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร
มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ
3.70
0.87
มาก

14.
การนำเสนอข้อมูลข่าวสารปัจจุบัน สื่อมวลชนใช้คุณธรรม จริยธรรมอันเป็นพื้นฐานในการทำหน้าที่
3.56
0.90
มาก

15.
การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร มีผลทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนได้
3.40
0.80
ปานกลาง

รวม
3.38
0.88
ปานกลาง



                จากตารางที่ 2 พบว่า ระดับทัศนคติของนิสิตต่อการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของสื่อสารมวลชน ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 100 คน มีทัศนคติต่อการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของสื่อสารมวลชน เรื่องการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.70 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ระดับ 0.87 และมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก รองลงมาเรื่องการนำเสนอข้อมูลข่าวสารปัจจุบัน สื่อมวลชนใช้คุณธรรม จริยธรรมอันเป็นพื้นฐานในการทำหน้าที่ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.56 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ระดับ 0.90 และมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก และเรื่องการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของสื่อมวลชน โดยใช้ข้อเท็นจริงในการนำเสนอมากกว่าใช้ความรู้สึกของสื่อมวลชน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.55 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ระดับ 0.90 และมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก และมีค่าที่เท่ากันเรื่องสื่อมวลชนทำหน้าที่ในการแจ้งข่าวสาร ให้การศึกษา ให้ความบันเทิงแก่ประชาชนได้อย่างน่าพอใจค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.42             มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ระดับ 0.79 กับเรื่องการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร สื่อมวลชนนำเสนอข้อมูลเชิงลึกได้อย่างรอบด้าน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.42 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ระดับ 0.85 มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาค่าที่เท่ากันเรื่องปัจจุบันสื่อมวลชนมีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.29  มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ระดับ 0.82 กับเรื่องสื่อมวลชนนำเสนอข่าวไปพร้อมกับการคิดวิเคราะห์พิจารณาข่าวด้วยความเป็นกลาง ให้เข้าใจถึงเนื้อหามากขึ้น ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.29 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ระดับ 0.89 มีควมเห็นด้วยอยู่ในระดับปานกลาง โดยทัศนคติของนิสิตต่อการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของสื่อสารมวลชนที่น้อยที่สุดคือ การนำเสนอข้อมูลข่าวของสื่อมวลชนมีความสำคัญต่อประชาชน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2.98 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ระดับ 0.96 และมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับน้อย และผลการศึกษาในภาพรวมของทัศนคติของนิสิตที่มีต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของนิสิตมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต นิสิตมีระดับทัศนคติต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ  ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 3.38 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ระดับ 0.88 และมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของสื่อมวลชน ยังไม่สอดคล้องกับประเด็นสมมติฐานที่ทางคณะผู้วิจัยได้ตั้งว่า คือ ทัศนคติของนิสิตต่อการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของสื่อมวลชนมีความเห็นด้วยต่อการนำเสนอของสื่อมวลชนอยู่ในระดับมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น