ชื่อเรื่อง ดินพื้นสุดท้าย
แนวคิด (Concept)
ดินพื้นสุดท้าย ผู้เขียนบทต้องการถ่ายทอดวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของเกษตรกรและคนไทยในต่างจังหวัด ที่มีมิตรไมตรีจิต เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ รักใคร่กลมเกลียว พึ่งพาอาศัยกัน ผ่านการผสมผสานเอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีในท้องถิ่น เพื่อสะท้อนประเพณีต่าง ๆ ที่ควรอนุรักษ์ เช่น การบายศรีสู่ขวัญข้าว การลงแขกเกี่ยวข้าว และศิลปวัฒนธรรมในการร้องรำกำเคียว บททำขวัญข้าวเพื่อบูชาพระแม่โพสพ
และยังเพิ่มเติมความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบในเรื่องของผลไม้ในฤดูกาลตามเดือนต่าง ๆ คุณค่าสรรพคุณของสมุนไพร ปฏิทินการทำนาปีแบบฉบับเกษตรกรไทย ที่เริ่มหว่านข้าวตั้งแต่เดือนพฤษภาคมหลังพิธีพืชมงคล ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าวเดือนพฤศจิกายนช่วงข้าวตั้งท้อง และมีการช่วยกันของชาวบ้านในการลงแขกเกี่ยวข้าว ในช่วงเดือนมกราคม และยังกล่าวถึงภูมิปัญญาชาวบ้านในหลายแขนง
โดยผ่านเนื้อเรื่องหลักคือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่เป็นแก่นของเรื่องผสมผสานโครงการและแนวทางในพระราชดำริต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยมีการบูรณาการโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ เช่น แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการนำหญ้าแฝกมาใช้ป้องกันการพังทลายของดินและโครงการพระราชดำริอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาประยุกต์และบูรณาการรวมกัน ซึ่งผู้เขียนบทนำมาปรับใช้และสอดแทรกผ่านตัวละครสำหรับการดำเนินเรื่องในชีวิตประจำวัน โดยมุ่งเน้นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเดินทางสายกลาง ความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี โดยการใช้ความรู้คู่คุณธรรม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของเกษตรกรและคนไทยในต่างจังหวัด
2. เพื่ออนุรักษ์ เอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี อันดีงามที่จะสูญหายไปตามกาลเวลาของคนไทย เกี่ยวกับการทำนา เช่น การบายศรีสู่ขวัญข้าว การลงแขกเกี่ยวข้าว
3. เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในรูปแบบที่ผู้ฟังเข้าใจและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตได้ง่าย โดยเน้น 3 ห่วง 2 เงื่อนไขเป็นหลักสำคัญ
4. เพื่อผสมผสานและบูรณาการโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เข้าร่วมกัน เป็นการต่อยอดและพัฒนาความก้าวหน้าให้ยั่งยืนของเกษตรกรไทย เข้ากับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้น 3 ห่วง 2 เงื่อนไขเป็นหลักสำคัญ
5. เพื่อรักษาเอกลักษณ์ละครวิทยุกระจายเสียง ในการใช้เสียงสร้างภาพ สื่ออารมณ์ สร้างสรรค์ความบันเทิง เพราะทุกเสียงสื่อความหมายให้ความลึกล้ำในอารมณ์ เป็นเสน่ห์ของละครวิทยุกระจายเสียงที่ไม่เหมือนใคร
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายของละครวิทยุ ดินผืนสุดท้าย กลุ่มเป้าหมายมีความหลากหลายในเรื่องของอายุ เพศ อาชีพ และการศึกษา ผู้จัดทำจึงได้เป็นแบ่งกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามช่วงอายุดังนี้ กลุ่มวัยรุ่น 15 – 25 ปี กลุ่มวัยทำงาน 26 – 60 ปี กลุ่มวัยสูงอายุ 61 – 80 ปีขึ้นไป ทั้งจากผู้ฟังคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า เป็นการช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟู ทำให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าทางศิลปะการแสดงที่คลาสสิคของละครวิทยุกระจายไม่ให้ลบเลือนไปจากความทรงจำ
บทละครวิทยุกระจายเสียง
เรื่อง “ ดินผืนสุดท้าย”
ความยาว 30 นาที
(เพลงบรรเลง)
“.....เศรษฐกิจพอเพียงนี้ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียว คือไม่ต้องทั้งหมด หรือแม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ ได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนามาช้านานแล้ว มาบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี่ดีมาก แล้วก็เข้าใจว่าปฏิบัติเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น หมายความว่า ถ้าทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ของประเทศก็จะพอ ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงและทำได้เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น ไม่ได้แปลว่า เศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541
(เพลงบรรเลง)
“.......ช่วงเวลาความบันเทิงต่อจากนี้ไป ขอเชิญชวนท่านผู้ฟัง ดื่มดำไปกับละครชีวิต สุดรันทด ฟันฝ่าอุปสรรค เพื่อค้นพบความสำเร็จในเรื่อง...........................”
(เพลงบรรเลง)
“ดินผืนสุดท้าย”
(เพลงบรรเลง)
“ดินพื้นสุดท้าย เรื่องราวชีวิตสุดรันทดของ ข้าวหอม เสาหลักของครอบครัวที่ต้องดิ้นรนสู้ชีวิต รับภาระทั้งหมดในหนี้สินหลังแม่เสียเกือบล้านบาท กับผืนดินผืนสุดท้ายที่เหลืออยู่ เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ข้าวหอมจะหาทางออก แก้ไขปัญหา และลบล้างหนี้สินทั้งหมดได้อย่างไร ต้องติดตามกันใน.....ดินพื้นสุดท้าย”
(เพลงบรรเลง)
ผู้บรรยาย : “ ท้องทุ่งนาเขียวชอุ่ม หอมกลิ่นดินที่เพิ่งรับน้ำฝน กลางทุ่งหน้ามีบ้านไม้หลังเล็กกะทัดรัด มุงด้วยสังกะสี เหมาะกับการอาศัยอยู่ของครอบครัวเล็ก ๆ ที่มี พ่อ แม่ พี่ และน้อง รวมถึงสัตว์เลี้ยงคู่ใจสำหรับทำการเกษตรนั้นก็คือ ควายเผือกสีขาวนวล ไม่ใกล้ไม่ไกลบริเวณบ้าน มีชานเก็บเครื่องมือการเกษตร เครื่องมือหากินตามท้องไร่ท้องนา ตามคลอง ตามประสาครอบครัวของคนไทยตามชนบท “
ฉากที่ 1 : บ้านข้าวหอม
(เสียงประกอบ : เสียงกวาดใบไม้)
ไอ้จุก : “ทุ่งนาแดนนี้ ไม่มีความหมาย เหลือเพียงกลิ่นโคลนสาบควาย
เห็นซากคันไถแล้วเศร้า เห็นนาที่ร้าง นั้นมีแต่ฟาง แทนรวงข้าว เห็นเคียวที่เกี่ยว เหน็บติดเสา เล่นเอาใจเรา สะท้อน” (ร้องเพลง รอยไถแปร)
(เสียงประกอบ : เสียงเท้ากำลังเดิน)
ข้าวหอม : “แหม๋ .... ร้องซะเพราะเลยนะ พ่อนักร้องคนดังแห่งบ้านทุ่งโคลน
อ้าว ไอ้เผือก กินซะ อาหารบำรุงกำลัง ของชายชาตรี
ของขวัญที่ช่วยข้าไถ่นา แปรดิน” (เสียงกระบือร้อง)
ไอ้จุก : “โถ่ ๆ อิจฉา ไอ้เผือก มันจังเน๊าะ นอนอยู่เฉย ๆ ก็มีคนหอบข้าวหอบน้ำมาให้กิน”
ข้าวหอม : “ไอ้เผือกเอ่ย ดู๋ดู คนบางคน อยู่เป็นคนดี ๆ ไม่ชอบ อยากเปลี่ยนตัวมาเป็นควายซะงั้น” (เสียงกระบือร้อง)
ไอ้จุก : “ก็แน่สิจ๊ะ วัน ๆ ไม่ต้องทำอะไร นอนกิน นั่งกิน ใช่ไหมไอ้เผือก”
(เสียงกระบือร้อง)
“ แล้ววันนี้พี่ข้าวหอม ไม่ไปนาหรอจ๊ะ ข้าวตั้งกล้า ชูยอดเขียวสวยทั่วทุ่งแล้ว”
ข้าวหอม : “ไม่หรอกวันนี้พี่จะไปจ่ายตลาดสักหน่อย ซื้อของตักบาตร ทำบุญ
พรุ่งนี้ครบรอบ 7 วัน ที่แม่เสียพอดีเมื่อคืนแกเข้าฝัน
อยากกินแกงไก่ใส่หน่อไม้ดอง กับน้ำพริกปลาดุกนา”
ไอ้จุก : “คิดแล้วก็อยากกินแกงไก่เหมือนกัน งั้นเดี๋ยวฉันไปด้วยนะจ๊ะ ฉันอยากกินตัวต่อ
คั่วเกลือ ของป้าแม้นไม่ได้กินเสียนานแล้ว เปรี้ยวปากเลย”
ข้าวหอม : “อ้าว แล้วใครจะอยู่ดูแลพ่อ “
(เสียงประกอบ : เดินลงบันได)
พ่อขุน : (เสียงไอ ไม่สบาย) “ไม่ต้องเป็นห่วงพ่อหรอก พ่ออยู่กับไอ้เผือกมันได้
ใช่ไหมไอ้เผือก“(เสียงกระบือร้อง)
ข้าวหอม : “จ๊ะ พ่อ เดี๋ยวฉันจะไปรีบ รีบกลับนะ “
ไอ้จุก : “ฉันไปก่อนนะจ๊ะลุงขุน เดี๋ยวจะหอบยาดองเจ๊ไฝ
ข้างวัดมาฝาก ยาแก้ไอชั้นหนึ่ง ที่ลุงติดใจ”
พ่อขุน : “ดีเหมือนกัน ข้าจะได้เอามาถอน ให้โล่ง หายไข้สักที”
ข้าวหอม : (เสียงตบหัว)
ไอ้จุก : (ร้องโอ๊ย)
ข้าวหอม : “เดี๋ยวจะโดนไม่ใช่น้อยนะไอ้จุก ข้ายิ่งจะให้พ่อเลิกเหล้าอยู่”
พ่อขุน : “ข้าล้อเล่นเฉย ๆ ไม่เอาหลอก ข้าสัญญากับแม่เอ็งก่อนตายแล้ว
ว่าจะเลิกเหล้า ก็ต้องเลิก โกหกคนตายมันจะไม่ดี”
(เพลงบรรเลง)
ฉากที่ 2 ตลาดบ้านทุ่งโคลน
(เสียงประกอบ : เสียงฝูงชน ผสม แม่ค้าในตลาด)
ป้าแม้น : “โอ๊ย เจ้าข้า พ่อหนุ่มรูปหล่อแห่งบ้านทุ่งโคลน มาตลาดเองโว๊ย”
ไอ้จุก : “ป้าแม้นก็ ฉันอยากกินตัวต่อคั่วเกลือของป้าแม้นนิจ๊ะ
มาตลาดบ้านทุ่งโคลน ถ้าไม่มาร้าน ป้าแม้น คนสวย นี่ถือว่ามาไม่ถึงนะจ๊ะ”
(เสียงประกอบ : เสียงฝูงชน ผสม แม่ค้าในตลาด)
ลุงเพิ่ม : “อ้าวเร็ว ๆ หมูสามชั้น เนื้อแดง สวย ๆ เอาไหมจ๊ะแม่หนู”
(เสียงกับกำลังสับหมู)
ข้าวหอม : “ไม่เอาหละจ๊ะ ขอบคุณนะจ๊ะลุงเพิ่ม”
ป้าสาย : “อ้าว ไอ้จุก วันนี้ไม่ซื้อมะม่วงดอง มาใหม่ ๆ กำลังหวาน กรอบเชียว”
ไอ้จุก : “ไม่เอาจ๊ะ ป้าสาย วันนี้ฉันได้มะปลิงของป้าปริกแล้ว จะเอาไปจิ้มกะปิเคยหอม ๆ สักหน่อย ไว้คราวหน้าฉันจะมาอุดหนุนนะจ๊ะ”
(เสียงประกอบ : เสียงฝูงชน ผสม แม่ค้าในตลาด)
ข้าวหอม : “จุก เอ็งช่วยพี่ถือไก่หน่อยสิ ไก่บ้านวัยรุ่น วัยกำลังเที่ยวเล่นซุกซน ทำแกงหน่อไม้ดองกำลังน่ากิน เนื้อนุ่ม ๆ ไม่เหนียวไป กำลังพอดี” (เสียงไก่ร้อง)
ไอ้จุก : “พี่ข้าวหอมจ้า พี่จะเอามันไปแกงจริงหรอจ๊ะ พี่ไม่สงสารมันหน่อยหรอ ดูสิตาละห้อย คอตกหมดแล้ว เจ้าไก่เอ่ย”
ข้าวหอม : “ไอ้จุกเอ่ย ข้าไม่ได้จะเอามันไปแกง ข้าเห็นมันโตกำลังพอดี จะเอาไปเป็นแม่พันธ์คู่กับไอ้โต้งของพ่อ เพื่อจะได้มีลูก มีไข่ ไว้กิน ไว้ขายกับเขาบ้าง”
ไอ้จุก : “แล้วใครจะไปรู้หละจ๊ะ ว่าพี่ข้าวหอมจะซื้อไก่สดไว้ แล้วเอาไก่เป็น ๆ ไปเลี้ยง ฉันก็ตกใจหมด คิดว่าพี่จะฆาตกรรมไก่มันได้ลงคอ”
ข้าวหอม : “กลับกันเถอะ ออกมานานแล้วเดี๋ยวพ่อเป็นห่วง”
ไอ้จุก : “ไปก่อนนะจ๊ะ ป้าแม้น เดี๋ยวคราวหน้าฉันมาอุดหนุนใหม่
ตัวต่อคั่วเกลือที่อร่อยที่สุดในโลก”
ป้าแม้น : “จ๊ะ พ่อรูปหล่อแห่งบ้านทุ่งโคลน”
ข้าวหอม : “ไปก่อนนะจ๊ะ ป้าแม้น สวัสดีจ๊ะ”
(เสียงประกอบ : เสียงฝูงชน ผสม แม่ค้าในตลาด)
ฉากที่ 3 : บ้านข้าวหอม
(เสียงประกอบ : รินน้ำ ดิ่มน้ำ และวางแก้วน้ำ)
เจ๊สำรวย : “ไหนเงินหละพ่อขุน ไหนพ่อขุนบอกกับฉันว่าเสร็จงานศพแม่สม
แล้วจะเอาเงินก้อนมาคืนฉัน เงินไม่ใช่น้อย ๆ นะจ๊ะ ฉันเองก็ต้องกินต้องใช้
แต่ถ้าไม่มีฉันก็จำเป็นต้องหาอย่างอื่นไป ล้างหนี้แทน”
พ่อขุน : “อ๋อ คือแม่สำรวย”
เจ๊สำรวย : “หรือว่าพ่อขุนไม่มีเงินให้ฉัน ไอ้พวง ไอ้นง ค้นบ้านค้นทรัพย์สินที่มีค่ามาให้หมด”
ไอ้พวง : “ได้ครับเจ๊”
พ่อขุน : “อย่านะ แม่สำรวย เดี๋ยวฉันหาเงินมาให้”
เจ๊สำรวย : "ฉันขอโทษนะพ่อขุน ที่ต้องทำแบบนี้”
(เสียงประกอบ : เสียงรกค้นของ ขว้างปาข้าวของ)
ไอ้พวง : “เจ๊ตรงนี้มีสร้อยทอง 1 สลึง” (เสียงสร้อยตก)
เจ๊สำรวย : “เอามา 1 สลึงก็ได้หลายพัน”
พ่อขุน : “นั้นสร้อยแม่สม ให้ข้าวหอมไว้ก่อนตาย อย่าเอาไปเลย ฉันขอร้อง”
เจ๊สำรวย : “ขอใครให้ใครไว้ฉันไม่สน เพราะที่ฉันสนคือต้องการเงินคืน”
(เสียงประกอบ : เสียงรกค้นของ ขว้างปาข้าวของ)
พ่อขุน : “เข้มขัดเงินของย่าทวด มันไม่มีค่าอะไร อย่าเอาไปเลย”
ไอ้นง : “หลบไป ไอ้ขุน ถ้ามีเงินก็เอามาใช้หนี้ แต่ถ้าไม่มีข้าก็ต้องเอาไป”
(เสียงประกอบ : เสียงรกค้นของ ขว้างปาข้าวของ)
พ่อขุน : “บอกให้หยุดไง วางลง บอกให้เลิกค้น”
ไอ้พวง : “หุบปากเถอะลุง”
ไอ้พวง : “หุบปากเถอะลุง”
พ่อขุน : “วางรูปแม่สมลงนะ อย่ายุ่งกับรูปแก”
(เสียงประกอบ : กรอบรูปแตก)
ข้าวหอม : “รูปแม่ แม่จ๋า แม่จ๋า ทำไมพวกแกทำกับแม่ข้าแบบนี้W
พ่อขุน : “ข้าวหอมลูก ข้าวหอม”
(เสียงประกอบ : เสียงรกค้นของ ขว้างปาข้าวของ)
ข้าวหอม : “พ่อจ๋า เกิดอะไรขึ้นพ่อ” (เสียงสะอื้น)
พ่อขุน : “ข้าวหอมลูก” (เสียงสะอื้น)
ข้าวหอม : “หยุด หยุดเดี๋ยวนี้ ฉันบอกให้หยุด” (เสียงสะอื้น)
เจ๊สำรวย : “อ้าว มาแล้วหรอข้าวหอม ไหนเงิน เงินที่จะเอามาใช้หนี้ฉัน”
ข้าวหอม : “เงิน เงินอะไร เจ๊สำรวย” (เสียงสะอื้น)
เจ๊สำรวย : “เงินที่พ่อแม่แกเป็นหนี้ฉันไง”
ข้าวหอม : “พ่อมีหนี้ด้วยหรอพ่อ” (เสียงสะอื้น)
เจ๊สำรวย : “ไม่ต้องมาพูด สรุปจะเอาไงเรื่องหนี้ของฉัน”
พ่อขุน : “ฉันของพลัดไปก่อน สักสอง สามเดือนได้ไหม
เงินสอง สามแสนเดี่ยวฉันจะรีบหามาให้” (เสียงสะอื้น)
ข้าวหอม : “สองสามแสนเลยหรอพ่อ ทำไมมันเยอะขนาดนั้น” (เสียงสะอื้น)
เจ๊สำรวย : “พ่อขุนลืมอะไรไปหรือป่าว เงินกู้มันมีดอกนะ ดอกมันก็งอกเงยทุกวัน
สี่ ห้าปีที่ผ่านมา จากเงินกู้สองสามแสน ตอนนี้มันเป็น เก้าแสนแล้ว ”
(เสียงประกอบ : เปิดซองกระดาษ)
ข้าวหอม : “เจ๊บ้าหรือป่าว ทำไมดอกเบี้ยมันขึ้นมาเยอะขนาดนี้
นี่เจ๊กำลังโกงฉันหรอจ๊ะ” (เสียงสะอื้น)
เจ๊สำรวย : “ฉันไม่ได้โกง ดูสัญญาที่พ่อแกเขียนไว้กับฉันสิ”
ข้าวหอม : “พ่อ ทำไมพ่อไปสร้างหนี้กับเขาไว้เยอะขนาดนี้ แล้วฉันจะหาที่ไหนมาคืน”
(เสียงสะอื้น)
พ่อขุน : “ข้าวหอมลูก พ่อ พ่อผิดไปแล้ว” (เสียงสะอื้น)
(เสียงประกอบ : เสียงรกค้นของ ขว้างปาข้าวของ)
ไอ้พวง : “เจ๊ครับ นี่ครับโฉลดที่นาของมัน”
ข้าวหอม : “โฉนด โฉนดที่นา ของครอบครัวฉัน” (เสียงสะอื้น)
เจ๊สำรวย : “แอ๊ะ พ่อขุน ฉันจำได้ ไหนพ่อขุนบอกว่าที่นาขายให้คนอื่นไปแล้ว
หรือพ่อขุนกำลังโกหกฉัน”
พ่อขุน : “คือ คือ ฉันขอโทษนะแม่สำรวย ที่ดินผืนนี้เป็นที่ดินของครอบครัวฉันที่หาซื้อกันมาด้วยน้ำพักน้ำแรง ฉันกลัวจะโดนยึดไป ฉันเลยโกหกว่าฉันขายที่ดินไปแล้ว”
(เสียงสะอื้น)
เจ๊สำรวย : “พ่อขุนโกหกฉันแบบนี้ มันไม่ดีเลยนะจ๊ะ”
พ่อขุน : “ฉันขอโทษ ฉันไม่ได้ต้องการ จะโกหกแม่สำรวย” (เสียงสะอื้น)
เจ๊สำรวย : “งั้นฉันขอโฉลดที่ดินนี้ไว้ก่อนนะ”
ไอ้พวง : “อ่ะนี่จ๊ะ เจ๊สำรวย”
พ่อขุน : “อย่า อย่าเอาของฉันไปเลยนะ ขอฉันเถอะ” (เสียงสะอื้น)
(เสียงประกอบ : เสียงรกค้นของ ขว้างปาข้าวของ)
พ่อขุน : (โดนต่อยหน้า) “โอ๊ย”
ไอ้พวง : “ไอ้แก่เอ่ย น่ารำคาน”
ข้าวหอม : “พ่อจ๋า ทำพ่อฉันทำไม พวกแกมันเลว โกงได้แม้กระทั่งคนจน
ทำร้ายคนที่ไม่มีทางสู้”
(เสียงสะอื้น)
ไอ้นง : ปากดีนักนะ นางนี่ เดี๋ยวโดน
เจ๊สำรวย : ไอ้นง ไอ้พวง พอแล้ว
ไอ้พวง : ครับเจ๊
เจ๊สำรวย : ข้าวหอม เป็นว่าเรามาพูดเรื่องของเรากันดีกว่า
เจ๊ใจดี เจ๊ไม่ใจร้าย เจ๊ก้ช่วยเหลือครอบครัวหนู
มาตลอด เราก้รู้จักกันนานจนกลายเป็นญาติสนิทมิตรสหาย
ถ้าหนูยอมรับเงื่อนไขในการใช้หนี้ของเจ๊
ข้าวหอม : แต่เจ๊
เจ๊สำรวย : ไม่มีแต่ ถ้าพวกเธอ 3 คน อยากมีที่ซุกหัวนอน ยังอยากมีชีวิตอยู่
(เสียงประกอบ : เปิดซองกระดาษ)
เจ๊สำรวย : เงื่อนไขของฉัน ข้อแรกโฉนดที่นา และนาข้าวที่กำลังปลูกอยู่นี้
ต้องอยู่ภายในการดูแลของฉันแต่เพียงผู้เดียว
(เสียงประกอบ : เปิดกระดาษหน้าต่อไป)
เจ๊สำรวย : เงื่อนไขที่สอง ห้ามเธอไปยุ่งวุ่นวาย ในแปลงนา
ไม่ว่าจะทำอะไรทั้งสิน ถ้าฉันเจอ ฉันยิงทิ้ง เพราะตอนนี้ที่นาและนาข้าว
เป็นที่ดินในกรรมสิทธิ์ของฉัน
ข้าวหอม : แต่เจ๊
เจ๊สำรวย : เงื่อนไขที่สาม ของที่ฉันค้นเจอในวันนี้ สร้อยคอ 1 สลึง เข็มขัดเงิน
พระเครื่อง และกำไรทองแดง ฉันจะยึดและให้โรงจำนำตีราคา
เพื่อไม่เอาเปรียบเธอและครอบครัว
ข้าวหอม : ได้ค่ะเจ๊
เจ๊สำรวย : เงื่อนไขของที่สี่ จากการประเมินค่าที่ดินกับทรัพย์สินที่ยึดได้วันนี้
คงใช้หนี้ได้แค่สองแสน เงินต้นเท่านั้นแหละ
ส่วนที่เหลืออีกเจ็ดแสนเธอต้องหามาเพื่อใช้หนี้ในส่วนดอกเบี้ย
ภายในเวลา 5 เดือน
ข้าวหอม : หาเพิ่มอีกเจ็ดแสน มันน่าจะได้ราคามากกว่านี้นะเจ๊
เพราะนาข้าวเรายังไม่ได้เก็บเกี่ยว ถ้าเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วคงได้หลายแสนอยู่
ที่ดินก็หลายไร่ หลายแปลง ทำไมเจ๊ถึงโกงกันแบบนี้
เจ๊สำรวย : อ่อและข้อที่ห้าที่นา และนาข้าวที่ถูกยึดถือเป็นกรรมสิทธิ์ของฉัน
เธอห้ามเก็บเกี่ยวและนำไปขาย เงินที่ขายข้าวครั้งนี้ได้จะต้องตกเป็นของฉัน เท่านั้นและบ้านหลังนี้ด้วยก็จะต้องโดนยึดด้วย
ข้าวหอม : แต่เจ๊ นั้นเป็นเงินลงทุนของพวกเรา เป็นปากเป็นท้องของครอบครัวเราเลยนะ
นาข้าวที่ปลูกมา หวังว่าจะลืมตาอ้าปาก จากเงินขายข้าวหลายเกวียนหลายหมื่นกับหายไปอยู่ในมือคนโกง มิหนำซ้ำยังมายึดที่นา และชุบมือเปิดจะเอาข้าวไปขายเอง มันใช่ที่ไหน ส่วนเรื่องบ้าน ถ้าเจ๊ยึดบ้านพวกฉัน ฉันไม่มีอยู่บ้านแล้ว แล้วฉันไปซุกหัวนอนอยู่ที่ไหน มันจะไม่เกินไปหรอเจ๊ (เสียงสะอื้น)
เจ๊สำรวย : มันก็เรื่องของพวกเธอ ว่าพวกเธอไปซุกหัวนอนอยู่ไหน
ข้าวหอม : ไม่ฉันไม่ยอม เจ๊จะโกงฉันไปถึงไหน เจ๊จะเอาทั้งที่นา
เอาทั้งบ้านฉันไป มันไม่ยุติธรรมเลยนะเจ๊
ฉันจะไปแจ้งตำรวจ แจ้งให้มาจับพวกเจ๊ทั้งหมดเลย ฉ้อโกง บุกรุก
เจ๊สำรวย : ก็ลองดุสิ ถ้าเธอเดินออกไปจากนี้ แค่ก้าวเดี๋ยวพ่อแกตายแน่
พ่อขุน : อย่า อย่านะ
ไอ้นง : อยากแก่ตาย หรืออยากโดนลูกตะกั่วฝังหัวตายหละจ๊ะ
ข้าวหอม : อย่าทำพ่อฉันนะ
เจ๊สำรวย : สรุปว่าเธอจะยอมรับเงื่อนไขของฉันไหม
ข้าวหอม : ไม่ ฉันจะไม่ยอมรับเงื่อนไขของเจ๊
เจ๊สำรวย : ไอ้พวง ไอ้นง ทำไงดี ลูกหนี้ไม่ยอมรับเงื่อนไขเจ้าหนี้ มีทางออกเพิ่มให้มันไหม
ไอ้พวง : มีจ๊ะเจ๊ ทางออกแรกโดนพวกเรายิงตาย ทางออกที่สองยิงตัวตายเอง
เอาทางเลือกไหนดีจ๊ะ
ไอ้นง : แต่ถ้าไม่สนใจทั้งสองทางเลือก เลือกมาเป็นเมียพี่ได้นะจ๊ะ น้องข้าวหอมคนสวย
ไอ้พวง ไอ้นง : (หัวเราะสะใจ)
เจ๊สำรวย : เลือกได้ไหม ว่าจะหาทางออกแบบไหน
ข้าวหอม : เจ๊สำรวย ฉันขอเวลานานกว่านี้ได้ไหม ห้าเดือนฉันคงหาเงินมาคืนเจ๊ไม่ทัน
เพราะถ้าเจ๊จะยึดที่นาของฉัน ยึดบ้านของฉัน ฉันเองก็คงต้องไปหาที่อยู่ใหม่
หาที่ทำกินใหม่ รบกวนเจ๊ช่วยเห็นใจฉันกับครอบครัวหน่อยนะจ๊ะ
ฉันขอร้อง
เจ๊สำรวย : ทำไมฉันต้องเห็นใจพวกแก ในเมื่อพวกแกก็ไม่คิด หรือดิ้นรนหาเงินมาใช้หนี้ฉัน
ข้าวหอม : ฉันไม่ได้ขอความเห็นใจในฐานะลูกหนี้ แต่ฉันขอความเห็นใจในฐานะเพื่อนมนุษย์ เจ๊ก็รู้ตอนนี้ฉันต้องเป็นเสาหลักของครอบครัวคนเดียว แม่ฉันก็เสียไปแล้ว พ่อฉันก็มาเจ็บมาป่วย ไอ้จุกอายุมันก็ใกล้จะต้องเข้าโรงเรียน ฉันขอร้องเจ๊นะจ๊ะ
เจ๊สำรวย : เอาเป็นว่า
ข้าวหอม : เจ๊จะให้ฉันกราบเท้าก็ได้นะจ๊ะ ฉันยอม ฉันขอแค่เลื่อนเวลาออกไปให้นานกว่านี้ ขอให้ฉันได้มีเวลาหาที่ทางใหม่หน่อยนะจ๊ะ
เจ๊สำรวย : เอาเป็นว่า ฉันเห็นใจเธอนะ เธอต้องรับภาระทุกอย่างไว้คนเดียว ในครอบครัวที่สิ้นไร้ไม้ตรอก ไม่มีหนทางที่จะหาเงินมาใช้ฉันได้ ฉันจะเลื่อนเวลาออกไปให้เป็น 10 เดือน ส่วนบ้านนี้ฉันยังไม่ยึด ฉันจะให้ไว้เป็นที่ซุกหัวนอนของเธอไปก่อน ส่วนที่นาฉันคงต้องยึดให้เป็นกรรมสิทธิ์ของฉัน ไม่ให้เข้ามาทำกิน หรือยุ่งวุ่นวายในที่นา ส่วนที่นาและนาข้าวที่กำลังปลูกและจะต้องเก็บเกี่ยวในอนาคต เงินค่าขายข้าวจะเป็นของฉันแต่เพียงผู้เดียว ให้ได้แต่บ้านที่อยู่อาศัยเท่านั้น
ข้าวหอม : ขอบคุณมากคะเจ๊สำรวย ขอบคุณเจ๊มากจริง ๆ
เจ๊สำรวย : แต่หลังจากนี้ไป 6 เดือน เธอไม่ใช่หนี้สินฉัน หรือหาเงินมาใช้หนี้ฉันไม่เต็มจำนวน ฉันจำเป็นต้องยึดและถ่ายโอนมาเป็นของฉัน ในส่วนของบ้านที่เหลืออยู่
ข้าวหอม : ขอบคุณมากนะเจ๊สำรวย ฉันสัญญาว่าฉันจะรีบหาเงินมาใช้หนี้เจ๊ให้ได้
เจ๊สำรวย : งั้นหลังจากนี้ 10 เดือน ฉันจะกลับมาใหม่ ไอ้พวง ไอ้นงกลับ
(เสียงประกอบ : เดินลงบันไดไม้)
ฉากที่ ในตัวบ้าน
(เสียงประกอบ : ขันน้ำ บิดผ้าประคบปาก)
พ่อขุน : โอ๊ย ๆ
ไอ้จุก : ลุงขุนจ๊ะ เป็นอย่างไรบ้าง เจ็บตรงไหนไม่จ๊ะ
พ่อขุน : โอ๊ย ๆ ข้าก็เจ็บสิ ถามได้ จับให้มันเบา ๆ หน่อยไอ้จุก
ไอ้จุก : ฉันขอโทษจ๊ะ ฉันไม่รู้ว่ามันจะทำลุงเจ็บขนาดนี้
ข้าวหอม : พ่อเป็นอย่างไรบ้างจ๊ะ เจ็บตรงไหนไหม ทำไมต้องทำกันแรงขนาดนี้ด้วย
ฉันไม่เข้าใจเลย
พ่อขุน : พ่อไม่เป็นอะไรหรอกลูก เจ็บแค่นี้มันไกลหัวใจ
แค่พ่อเห็นว่าลูกไม่เป็นอะไร พ่อก็ดีใจแล้ว
ข้าวหอม : ข้าวหอมรักพ่อนะ พ่อจ๋า (เสียงหอมแก้ม)
พ่อขุน : พ่อก็รักลูกเหมือนกันนะ พ่อขอโทษนะที่สร้างแต่ความวุ่นวาย ความลำบากให้ลูก
ข้าวหอม : ไม่หรอกจ๊ะ พ่อไม่เคยสร้างความวุ่นวาย ความลำบากให้ลูกคนนี้เลย
พ่อมีแต่สร้างความสุข สร้างความรักให้ลูกคนนี้ ลูกดีใจแค่ไหนที่ได้เกิดมาเป็นลูกของพ่อคนนี้ พ่อคนนี้ทำให้ลูกคนนี้กินอิ่มนอนหลับ มีความสุขมาเป็นเวลายี่สิบกว่าปี เรื่องแค่นี้ทำไมลูกคนนี้จะทำเพื่อตอบแทนบุญคุณไม่ได้หละจ๊ะ
ไอ้จุก : ฉันก็รักลุงขุน กับพี่ข้าวหอมมากนะจ๊ะ ฉันจะช่วยหาเงินใช้หนี้เขาอีกแรง
ข้าวหอม : บุญคุณไหนตอบแทนบุญคุณที่พ่อแม่เลี้ยงดูเรามาได้หมด
พ่อขุน : ขอบคุณมากนะลูก ไปเก็บของกันเถอะ บ้านรกหมดแล้ว
เก็บกวาดจะได้ทำความสะอาด แล้วพักผ่อนกัน
ข้าวหอม : แล้วเรื่องหนี้สินเราจะทำไงดีจ๊ะพอ
พ่อขุน : เอาไว้เดี่ยวเราค่อยคิดกันนะลูก
ฉากที่ ในบ้าน
(เสียนงประกอบ : กำลังทานข้าว)
ไอ้จุก : ไข่เค็มสูตรป้าสมนี่ยังอร่อยเหมือนเดิมเลยนะจ๊ะ ดองกำลังพอดี
ไม่เค็มไป ไข่แดงกำลังมันส์เลย
ข้าวหอม : นี่จ๊ะพอ แกงเทโพหมูสามชั้นของลุงเพิ่มฉันซื้อไว้หลายวันแล้ว
พ่อขุน : กินไปก่อนเถอะลูก พ่อยังไม่หิวเลย
ข้าวหอม : พ่อยังไม่หิวได้ไงจ๊ะ พ่อยังไม่ได้กินอะไรตั้งแต่เช้า
พ่อขุน : พ่อยังไม่หิว ลูกกับไอ้จุกกินกันไปก่อนเถอะ
ไอ้จุก : ทำไมลุงไม่กินด้วยกันหละจ๊ะ ไหนลุงบอกว่ากองทัพต้องเดินด้วยท้อง
ลุงเคยบอกฉัน ฉันจำได้
พ่อขุน : เฮ้อ ไอ้จุกเอ้ย แกยังเด็ก ยังไม่รู้ประสีประสาอะไร มันก็เป็นความสุขของแกเน๊าะ แต่ข้านี่สิ โตมาจนแก่แล้ว ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านความทุกข์ผ่านความสุข จะตายวันตายพรุ่งก็ยังไม่รู้เลย
ข้าวหอม : พ่อก็ พูดอะไรไม่รู้
ไอ้จุก : ลุงขุน ลองทานนี่หน่อยนะจ๊ะ น้ำพริกแมงดานากับดอกขจรผัดน้ำมัน
พ่อขุน : ข้าวหอมลูก เราจะทำอย่างไร พ่อว่าเราหนีจากที่นี่ ไปตายเอาดาบหน้าดีไหม ปล่อยให้เขายึดที่นี่ไป ไม่งั้นเราก็ตายไปด้วยกัน
ข้าวหอม : ทำไมหละจ๊ะ พ่อไม่รักผืนดิน ผืนนี้หรอจ๊ะ พ่อหามาจากน้ำพักน้ำแรงของพ่อกับแม่เลยนะ ที่นี่เป็นที่ดินของครอบครัวเราเลยนะจ๊ะ พ่อกับแม่ซื้อที่ดินด้วยเงินจากความรักที่ช่วยกันทำมาหากินก่อนแต่งงาน ตั้งแต่ฉันเกิด ข้าวก็วิ่งเล่น ล้มลุกคลุกคลานในที่ดินผืนนี้ ข้าวรักที่นี่มาก รักบ้าน รักทุ่งนา รักไอ้เผือก รักทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นสมบัติของเรา
พ่อขุน : ข้าวของมันเป็นแค่สมบัตินอกกาย ไม่ตายเราก็หาใหม่ได้
ข้าวหอม : แล้วเราจะต้องหนีแบบนี้ไปอีกสักเท่าไหร่กันจ๊ะ ต้องหนีอีกนานแค่ไหน
พ่อขุน : แล้วเราจะทำอย่างไรกันหละลูก ตอนนี้เราไม่เหลืออะไรแล้ว
ข้าวหอม : ปัญหาทุกปัญหาเราย่อมมีทางออกอยู่แล้วพ่อ ถ้าเราไม่หนีปัญหาเสียก่อน
พ่อขุน : พ่อก็เริ่มป่วยขึ้นทุกวัน เจ็บเล็กเจ็บน้อย พ่อก็ไม่รู้ว่าจะอยู่กับพวกเอ็งไปได้นานแค่ไหน ไม่รู้ว่าจะเป็นภาระให้พวกเอ็งไปทำไม
ข้าวหอม : พ่อไม่ใช่ภาระ พ่อคือพระในบ้าน พระที่ข้าวหอมบูชาและเทิดทูน เอาเป็นว่า ข้าวหอมจะหาวิธีหาเงินมาใช้หนี้เจ๊สำรวยเอง พ่อไม่ต้องห่วง
ไอ้จุก : ลุงขุนจ๊ะ พี่ข้าวหอม อันนี้กระดาษอะไรจ๊ะ ฉันเห็นมันตรงอยู่ตรงหิ้งอัฐิตา
ข้าวหอม : ไหนไอ้จุก ไหนพี่ดูหน่อย
พ่อขุน : เดี๋ยวนะ นี่มันโฉลดที่ดินทวนแกนิ
ข้าวหอม : ที่ดินตาหรอจ๊ะ ไหนพ่อบอกว่าเราไม่มีที่ดินแล้วไง ทำไมมีที่ดินตาอีกที่
พ่อขุน : พ่อก็จำไม่ค่อยได้ จำได้ว่าก่อนตาแกตาย ตาแกได้ฝากซองนี่ไว้กับแม่แก จนแม่แกลืมไปแล้วว่าเอาเก็บที่ไหน
ข้าวหอม : งั้นแปลว่าเราก็มีที่ดินเหลืออยู่ใช่ไหม ถึงมันจะเป็นที่ดินผืนสุดท้ายก็เถอะ
พ่อขุน : ใช่ลูก เรามีทางรอดแล้ว เรามีที่ดินทำกินแล้ว แต่เราจะทำอย่างไรภายในหกเดือน ให้มีเงินสี่แสน มาใช้หนี้แม่สำรวยเขา
ข้าวหอม : พ่อไม่ต้องห่วงหรอกจ๊ะ ข้าวจะทำเอง ข้าวจะปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ที่ดินผืนนี้ไม่ใช่แค่ผืนดินธรรมดา ที่ใช้เพาะปลูกทั่วไป แต่ข้าวจะทำให้ดินผืนนี้เป็นดินผืนสุดท้ายที่มีค่าที่สุด และเป็นสมบัติในดินที่สร้างคุณค่าให้เรามหาศาล
พ่อขุน : พ่อเชื่อว่าลูกทำได้ เราจะผ่านอุปสรรคนี้ไปด้วยกัน
(และทันใดนั้นเองข้าวหอมได้หันไปมองเห็น เมล็ดพันธุ์พืชผักต่าง ๆ ที่แม่ได้ตาก และเก็บใส่โหลไว้ก่อนตาย และเมล็ดพันธ์ข้าว และพืชผักพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ที่พ่อและแม่ ไว้บูชาบนหิ้งพระ และหันไปเห็นปฎิทินที่มีภาพการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ขณะทรงงานเยี่ยมแปลงนาสาธิต และมีข้อความเขียนเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า.........)
ข้าวหอม : ขอบคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าวจะนำทฤษฎีและเมล็ดพันธ์ที่พระองค์พระองค์พระราชทาน และทุกคนมอบไว้ให้ สร้างคุณค่าแก่ผืนดิน มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
พ่อจ๊ะ ไอ้จุก คืนนี้กินอิ่ม นอนหลับให้สบายนะ พรุ่งนี้เราจะไปที่ดินผืนใหม่กัน เราสร้างรายได้จากที่ดินผืนสุดท้ายนี้
ไอ้จุก : จ๊ะพี่ข้าวหอม ฉันจะช่วยพี่เอง
พ่อขุน : พ่อก็เหมือนกัน พ่อคนนี้จะช่วยลูกล้างหนี้สินเอง
(แสงสว่างยามรุ่งอรุณ แสงสีทองของดวงอาทิตย์ ทอดผ่านธรรมชาติ สร้างสีสันยามเช้าให้สดชื่น เวลาผ่านไป 1 เดือน สำหรับการจัดเตรียมหน้าดินเพื่อเพาะปลูก) (เสียงนกร้อง)
(เสียงประกอบ ไก่ขัน ไก่ร้อง)
ไอ้จุก : กุ๊ก ๆ (เสียงเรียกไก่)
มากินข้าวกันเร็ว กุ๊ก ๆ
แหม๋ ไอ้โต้งได้ลูกเดือนละกรงเลยนะ ไฟแรงจริง ๆ ไก่บ้านนี้ พอดีได้ไข่ไก่เยอะ ๆ จะได้ออกขาย
ข้าวหอม : ไอ้จุก อยู่ไหน ไอ้จุกเอ้ย
ไอ้จุก : จ๋าพี่ข้าวหอม ฉันอยู่นี่จ๊ะ
ข้าวหอม : เตรียมตัวหรือยัง วันนี้เราจะไปหว่านข้าวกันนะ
ไอ้จุก : หว่านข้าวกันหรอจ๊ะ
ข้าวหอม : ใช่สิ เดือนนี้เดือนพฤษภาคม เริ่มฤดูของการทำนาพอดี และอีกอย่างพี่พึ่งได้เมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทานจากในหลวงมาเพิ่ม เนื่องในวันพืชมงคลประจำปี นี่ท่านเกษตรอำเภอเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวมาแจก
ไอ้จุก : ดีจัง ท่านเกษตรอำเภอใจดีมาก สงสัยเขาคงจะชอบพี่แน่เลย งั้นเราก็ไปหว่านกันเถอะจ๊ะ ฉันอยากเห็นต้นข้าวมันโตเร็ว ๆ แล้ว อดภูมิใจไม่ได้เลยจ๊ะ
(ไม่นานทั้งสองก็เดินมาถึงที่ดินผืนสุดท้ายของพวกเขา ที่ใช้เวลาแรมเดือน ปรับปรุงหน้าดิน แบ่งสัดส่วนตามแนวพระราชดำริของในหลวง ที่ดิน 10 ไร่ แบ่งเป็น บ่อน้ำที่ใช้ในการใช้อุปโภค บริโภค 3 ไร่ (เสียงน้ำไหล) ทำนาข้าว 3 ไร่ ปลูกพืชไร่ พืชสวน ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช่สอย 3 ไร่ และ แบ่ง 1 ไร่ สำหรับทำที่พัก โรงเพาะเห็ด ปลูกผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์)
ข้าวหอม : นี่แหละที่นาของเรา 3 ไร่ ที่แบ่งจากทั้งหมด 10 ไร่ ที่นาของเราในครั้งนี้ พี่จะปลูกแบบนาหว่าน ที่เกษตรกรนิยมทำกันทั่วไป เนื่องจากประหยัดแรงงานและเวลา นี่แหละความพอเพียงแบบมีเหตุมีผล
ไอ้จุก : แล้วการหว่าน เราควรหว่านอย่างไรจ๊ะ
ข้าวหอม : การหว่านข้าว เราควรหว่านให้สม่ำเสมอทั่วแปลง ข้าวจะได้รับธาตุอาหาร แสงแดด และเจริญเติบโตสม่ำเสมอกัน ทำให้ได้ผลผลิตสูงด้วย
ไอ้จุก : อ๋อ ได้เลยจ๊ะ
ข้าวหอม : เดี๋ยวลองหว่านดูนะ ส่วนสำหรับข้าวที่เราจะปลูกกันในวันนี้คือ เมล็ดพันธุ์พระราชทาน ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ซึ่งเป็นข้าวที่หอมนุ่ม คุณภาพเมล็ดคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้ผลผลิตสูงประมาณ 770 กิโลกรัมต่อไร่ เลยนะ
ไอ้จุก : แค่ได้ยินก็ตื่นเต้นแล้วจ๊ะ ฉันจะได้ปลูกข้าว และกินข้าวที่ฉันปลูกเอง ภูมิใจสุด ๆ เลย
(ทั้งสองพี่น้อง ต่างพากันหว่านข้าวอย่างสนุกสนาน จนนาข้าวทั้ง 3 แปลง เต็มไปด้วยเมล็ดพันธุ์ข้าว สีน้ำตาลทอง สะท้อนกับน้ำในนาข้าว ระยิบระยับเล่นกับแดดของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นเวลาของเที่ยงวัน)
พ่อขุน : ข้าวหอมเอ่ย หว่านข้าวเสร็จแล้วใช่ไหมลูก เดี๋ยวพากันไปปล่อยปลาที่บ่อนะ
ข้าวหอม : ได้จ๊ะพ่อ เดี๋ยวฉันขอล้างเนื้อ ล้างตัวก่อน เดี๋ยวตามไป
ไอ้จุก : กินซะนะไอ้เผือก หญ้าคากับฟางข้าว หอม ๆ ของโปรดเอ็ง กินแล้วก็อย่าลืมคอยไล่นก ไล่กาด้วยหละ เพิ่งหว่านข้าวใหม่ ๆ เดี๋ยวมันจะโฉบมากิน บินมาขโมย เข้าใจไหม ไอ้ควายไล่กา (ขำๆ)
(เสียงประกอบ : กระบือร้อง)
(ณ บริเวณบ่อน้ำ)
ไอ้จุก : ลุงขุนจ๊ะ บ่อน้ำนี้ลึกไหม ฉันอยากลงไปเล่นจัง
พ่อขุน : ลึกสิ ข้าให้ชาวบ้านมาช่วยขุด ลึกตั้ง 4 เมตร เพราะจะจุน้ำได้ 19,000 ลูกบาศก์เมตร จะพอใช้ตลอดทั้งปีเลยแหละ เอ็งยังเป็นเด็กอยู่ ไปอาบน้ำโอ่งก่อนไป ไม่ควรมาเล่นคนเดียว เดี๋ยวจะโดนผีพรายดึงขาลงไปนะ
ไอ้จุก : ให้เล่นคนเดียว ฉันก็ไม่กล้าเล่นหรอกจ๊ะ ฉันกลัวผี
ข้าวหอม : (ขำๆ) พ่อก็หลอกมันไปได้ เออ ว่าแต่เราจะเอาปลาอะไรมาปล่อยในบ่อนี้หละจ๊ะ
พ่อขุน : พ่อไปขอพันธ์ปลานิลจากทางประมงจังหวัดมาปล่อย เพราะตามที่พ่ออ่านในหนังสือ ปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย ซึ่งกินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ มีขนาดลำตัวใหญ่ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธ์ง่าย และมีรสชาติดี และที่สำคัญเป็นปลาที่ในหลวงทรงทดลองเลี้ยงและแพร่พันธุ์ได้สำเร็จหลังจากที่สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ มาทูลเกล้าถวาย
ข้าวหอม : อ๋อฉันเข้าใจแล้ว พ่อเราก็เก่งเหมือนกันนะเนี้ย ใช้ความรู้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
พ่อขุน : เอ้า ไอ้จุก มาช่วยกันปล่อย 30 ตัวนี้ อีกไม่นาน เดี๋ยวมันก็แพร่พันธ์เป็น 60 ตัว เป็น 120 ตัว เหลือกิน ก็จะได้แบ่งเอาไปขาย เพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง
ไอ้จุก : (เสียงเทน้ำ เสียงปลาดิ้น) เจ้าปลานิลจ๋า รีบโต ๆ กัน นะจ๊ะ เดี๋ยวฉันจะพาไปอยู่ในฉู่ฉี่ (เสียงท้องร้อง) แหม๋ พูดแค่นี้ก็หิวเลย
พ่อขุน : ว่าง ๆ ข้าวหอมกับไอ้จุก ไปเอาฟางข้าว มาคนละกำสองกำ มาใส่ไว้ในบ่อน้ำ ริม ๆ ตลิ่ง สักอาทิตย์ละครั้งก็ได้ พอวางไปไม่นานมันจะได้เกิดไรแดง ไรน้ำ พวกปลานิลจะได้มากินอาหารชั้นดีแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน จะได้ลดค่าอาหารปลาไปในตัว
ข้าวหอม : ได้จ๊ะพ่อ
พ่อขุน : งั้นเดี๋ยวพ่อไปก่อนนะ จะแวะไปเอากอหญ้าแฝกแถวบ้านผู้ใหญ่ จะเอามาปลูกไว้รอบ ๆ จะได้ป้องกันการกัดเซาะและลดการพังทลายของหน้าดิน ช่วงหน้าฝนตกหรือพายุเข้า เวลาน้ำไหลลงบ่อ
ข้าวหอม : ได้จ๊ะพ่อ เดี๋ยวฉันกับไอ้จุก ก็จะไปลงกล้าต้นไม้กันต่อ
(ถัดมาอีกแปลงใกล้ ๆ บ่อน้ำ เป็นแปลงสำหรับปลูกพืชไร่ พืชสวน ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ปลูกผลไม้ ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย สมุนไพร เป็นการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง”)
ข้าวหอม : เราจะแบ่งแปลงนี้ออกเป็นสามส่วนนะจุก ส่วนแรกจะเป็นผลไม้ก่อน ซึ่งจะผสมผลไม้ทุกฤดูกาล เช่น มะม่วง ขนุน น้อยหน่า มะละกอ กระท้อนหรือไม่ก็มีมะพร้าวด้วยสักสี่ห้าต้น เพื่อเอาไว้กิน แต่ถ้าเหลือเราจะได้ไปแบ่งขายได้ จะเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง
(เสียงขุนดิน เสียงหอบ เสียงเหนื่อย เสียงรดน้ำต้นไม้)
ไอ้จุก : อ๋อ จ๊ะ งั้นต่อไปนี้ฉันก็สบายเลย ไม่ต้องไปเสียเงินซื้อผลไม้ ป้าปริกอีกแล้ว
ข้าวหอม : .ใช้แล้ว ประหยัดเงินไปอีกหนึ่งช่องทาง อีกแปลงหนึ่งเราจะปลูกเป็นไม้ยืนต้น เพื่อเอาไปสร้างที่อยู่อาศัยก็ได้ หรือเอาไปเพื่อใช้สอยก็ได้ ในการทำฟืน เผาเป็นถ่าน
ไอ้จุก : แล้วต้นไม้ที่เราจะปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ของมัน มีอะไรบ้างจ๊ะ
ข้าวหอม : ก็จะเป็นพวกต้นชิงชัน ต้นประดู่ ต้นยางนา ต้นขี้เหล็ก ผสมไปกับต้นแคบ้าน ต้นมะรุม ต้นผักหวาน ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ และนำผลผลิตมารับประทานได้ด้วย
ไอ้จุก : งั้นดีเลย ฉันจะได้กินแกงผักหวานใส่ไข่มดแดง ทุกมื้อ จะได้ประหยัดค่ากับข้าว และมีเหตุมีผลด้วย เพราะผักหวานมีราคาแพง และในหมู่บ้านเราก็ไม่ค่อยมีเยอะ จะได้เอาไปขาย
ข้าวหอม : เห็นอะไรก็จะเอาไปขายหมดเลยนะ เอาแค่พอกินพอใช้ในครอบครัวเราก่อนหละกันนะจุก ถ้าเหลือหรือมีเยอะก็ค่อยว่ากันอีกทีว่าจะทำอย่างไรต่อ
ไอ้จุก : ได้เลยจ๊ะพี่ข้าวหอม
(เสียงรดน้ำต้นไม้)
ข้าวหอม : หลังจากแปลงนี้เสร็จแล้ว ก็จะมีอีกแปลงหนึ่ง แปลงนี้จะเป็นพวกสมุนไพร เครื่องเทศ และ ผักสวนครัว เพื่อปลูกไว้เป็นอาหารและยารักษาโรค สมุนไพรก็มี ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด ลูกใต้ใบ ที่ช่วยลดไข้ ลดตัวร้อน กระเจี๊ยบแดง คำฝอยที่ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด เตยหอม มะลิลา ที่เป็นพืชหอมบำรุงหัวใจ แล้วก็มีอีก 10 กว่าชนิด ที่พี่ไปหาตามหมู่บ้าน แค่นี้บ้านเราก็จะเป็นคลินิกขนาดย่อม ๆ แล้ว ที่รักษาโรคด้วยตัวเอง
ไอ้จุก : ดีเลย งั้นฉันก็จะได้ไม่ป่วย บ่อย ๆ พอได้ยินชื่อสมุนไพรพวกนี้ ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด เท่านั้นแหละ ฉันสบายดีเลยจ๊ะ ไม่งั้นโดนโจรยิงตายแน่เลย
ข้าวหอม : เด็กหนอเด็ก ช่างไร้เดียงสาเหลือเกิน (หัวเราะ)
ไอ้จุก : ส่วนผักสวนครัวนี้ เราก็แปลงมาปลูกจากที่บ้านใช่ไหมจ๊ะ
ข้าวหอม : .ใช้แล้ว ตรงที่อยู่หลังบ้าน นั้นเอาไว้สำหรับกินในครอบครัว แต่ที่เอามาปลูกที่นี่เอาไว้ขายโดยเฉพาะ
ไอ้จุก : ก็จะมี ขิง ข่า ตะไคร้ มะเขือ ชะอม พวกนี้ใช่ไหมจ๊ะ
ข้าวหอม : ใช้แล้วจ๊ะ อย่าลืมนะ หลังจากปลูกต้นไม้ หรือลงกล้ามันแล้ว ก็ต้องดูแลมัน มั่นรดน้ำ พรวนดิน ดูแลวัชพืชไม่ให้ไปแย่งอาหาร และมั่นเติม อาหารเสริม วิตามิน ให้มันหน่อยด้วยการใส่ปุ๋ยคอกจากมูลไอ้เผือกลงไป
ไอ้จุก : ปลูกไปแล้ว รอไม่นานพวกนี้ก็คงจะออกผลผลิต ให้เราได้เก็บกิน เก็บขาย รายได้จากธรรมชาติจริง ๆ เลยจ๊ะ พี่ข้าวหอม
(เสียงรดน้ำต้นไม้ พรวนดิน ขุดดิน)
ข้าวหอม : ส่วนที่ดินอีกแปลงที่เราแบ่งออกมาอีก 1 ไร่ ที่เป็นที่อยู่อาศัย เราก็จะทำเป็นโรงเรือนเพาะเห็ด ปลูกเห็ดชนิดต่าง ๆ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง ทำที่ไว้สำหรับเก็บฟืน เผาถ่าน ที่ทำสำหรับเลี้ยงสัตว์ เป็ด กับ ไก่ ในอนาคตอาจจะเพิ่มหมู มาอีกก็ได้
ไอ้จุก : ถ้าบ้านเรามีพร้อมแบบนี้ ก็คล้าย ๆ ห้างสรรพสินค้าในกรุงใช่ไหมจ๊ะ มีทุกอย่างให้จับจ่ายใช้สอย แต่ของเราก็มี และอาจจะดีกว่าด้วย เป็นห้างสรรพสินค้าแบบธรรมชาติ ซื้อจะต้น สอยจากต้น เด็ดจากต้น แบบไม่เสียเงินสักบาท นี่แหละสินะ สวรรค์ของความพอเพียง
ข้าวหอม : ใช้แล้วจุก ความพอเพียง ไม่ได้อยู่แค่การประหยัดเงิน ประหยัดใช้ แบบคนทั่วไปรู้จักนะ แต่เรายังสามารถนำมาปรับใช้และผสมผสานบูรณาการในด้านอื่น ๆ ได้ด้วย นี่แหละ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
ไอ้จุก กับ ข้าวหอม : พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัว ด้วยการใช้ความรู้ และคุณธรรม
ข้าวหอม : (หัวเราะ) เก่งมากจ๊ะ
ไปล้างไม้ล้างมือกันเถอะ เดี๋ยวไปรับไอ้เผือกกลับบ้านด้วยนะ เดี๋ยวพี่จะไปทำกับข้าวเย็นก่อน
ไอ้จุก : ได้จ๊ะพี่ข้าวหอม เดี๋ยวฉันจะต้อนไอ้เผือกกลับบ้านเอง
(หลังจากเหตุการณ์ทวงหนี้ในครั้งนั้นของเจ๊สำรวย ทำให้ครอบครัวข้าวหอม ต้องสูญเสียนาข้าว และเกือบจะสูญเสียบ้านที่พักอาศัย จากความท้อแท้ ความท้อถอย หมดหนทางที่จะสู้ กลับมีแสงสว่างเปล่งประกายมาเติมเต็มชีวิตพวกเขาอีกครั้ง ในที่ดินผืนเก่า ๆ ที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น ที่หายเลือนไปจากความทรงจำของพ่อขุนไปเป็น 10 ปี มาพร้อมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นดั่งพรความรู้วิเศษ ที่เสกสรรมาให้ครอบครัวนี้ โดยใช้เป็นหลักในยึดมั่น หลักในการปรับใช้ชีวิตของตนเอง สู่เส้นทางสายกลาง หนทางเห็นความพอเพียงแบบบูรณาการ จน 3 เดือนผ่านไป)
ข้าวหอม : เดือนนี้เดือน 8 แล้ว 4 เดือนที่ผ่านมา เราก็ลงปลูกผลไม้วันละต้น วันละชนิด จากที่ดินแปลงกว้าง ๆ 3 ไร่ ตอนนี้แน่นขนัดไปด้วย ทั้งไม้ผล ไม้ยืนต้น เป็นธรรมชาติที่ผสมผสานได้อย่างลงตัว ผลไม้ของเราก็เริ่มออกผลเต็ม จนกินกันไม่ไหวแล้ว
ไอ้จุก : (เสียงวิ่ง) พี่ข้าวหอมจ๊ะ พี่ข้าวหอมจ๋า ตรงนู้นน้อยหนากับฝรั่งออกผลเต็มต้นแล้ว ฉันเก็บได้เลยไหมจ๊ะ
ข้าวหอม : จุกเก็บฝรั่งก่อนหละกัน เดี๋ยวน้อยหน่า ป้าปริกแกจะมารับไปขายเองจากสวน น่าจะได้อยู่ที่เจ็ดถึงแปดร้อยบาทได้ ส่วนพี่จะไปเก็บกล้วยไข่ ด้านนู้นผลสุกจะเต็มเครือแล้ว จะได้เอาไปทำกล้วยตาก กล้วยเชื่อมต่อ
พ่อขุน : จุกเอ่ย เก็บฝรั่งด้านนั้นเสร็จแล้ว อย่าลืมมาช่วยลุงเก็บผักนะ ช่วงนี้ต้นขี้เหล็กออกเยอะเลย ลุงจะได้ทำแกงขี้เหล็กใส่ปลาทู ไปถวายวัดพระ เดี๋ยวข้าวหอมตักแบ่งใส่ชาม ไปให้ลุงพร กับป้าศรี หน่อยนะลูก แทนคำขอบคุณที่มาช่วยลงแขกหว่านปุ๋ยชีวะภาพในนา
ข้าวหอม : ได้จ๊ะพ่อ เดี๋ยวฉันจะได้เอา มะแว้งเครือไปให้แกสักหน่อย เห็นป้าศรีแก่บอกว่าลุงพร ไอ มีเสหะ
พ่อขุน : ดี ๆ แกมาช่วยเรา เราก็ไปดูแลแกสักหน่อย
ข้าวหอม : จ๊ะพ่อ
( 5 เดือนผ่านไป เริ่มเข้าสู่เดือน 10 ผลผลิตในแปลงต่าง ๆ เริ่มคงที่ ส่วนที่เหลือจากกิน จากบริโภค ผลไม้ พืชผักสวนครัว ปลานิล หรือแม้แต่ ไข่เป็ดไข่ไก่ เริ่มมีการนำไปขายในตลาดของหมู่บ้าน มีการต่อยอดแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และสร้างราคาสินให้ดีขึ้น เป็นรายได้เข้าครอบครัวอีกส่วนหนึ่ง บางครั้งถ้าผลผลิตเหลือก็จะมีการแบ่งปัน แจกจ่าย เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ให้กับชาวบ้าน คนรู้จักต่อเป็นเป็นมิตรไมตรีจิตที่ดีงามต่อกันของสังคมไทย ที่ควรอนุรักษ์เอาไว้)
ฉากตลาด
(เสียงประกอบ ฝูงชน พ่อค้า แม่ค้า)
ข้าวหอม : เชิญเลยจ้า ใครผ่านไปผ่านมาแถวนี้ มาดูผัดสดปลอดสารพิษ จากฟาร์มพ่อขุน มาอุดหนุนไข่สด ๆ จากฟาร์ม มาซื้อปลานิล ตัวโต ๆ ได้ทางนี้เลยนะจ๊ะ
ไอ้จุก : สวัสดีจ๊ะ ป้าละมุดจ๊ะ วันนี้รับอะไร
ป้าละมุด : ป้าอยากได้ ไข่ไก่สักครึ่งโหล แล้วขอคะน้า กับ กวางตุ้ง และ ผังบุ้งอย่างละกำหละกัน
ไอ้จุก : ได้เลยจ๊ะ เดี๋ยวพ่อค้าจุกคนนี้ จัดให้เลยนะจ๊ะ
ป้าละมุด : ผักนี่สดจังเลยนะพ่อจุก
ไอ้จุก : แน่นอนจ๊ะป้าละมุด เราเก็บมาขายวันต่อวัน ผักบ้านเราไร้สารเคมี ใช้ปุ๋ยชีวะภาพล้วน ๆ ห่วงใยคน ห่วงใยโลกด้วยจ๊ะ
ข้าวหอม : นี่จ๊ะ ป้าละมุด 80 บาทพอดี ไม่ขาดไม่เกิน
ไอ้จุก : ขอบคุณมากนะจ๊ะป้าละมุด
เกษตรอำเภอ : เป็นไงขายของดีไหม ข้าวหอม
ข้าวหอม : ก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ จ๊ะ หลังจากหันมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ใช้การปลูกแบบธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี ตามคำแนะนำของท่านเกษตรอำเภอ ตอนนี้ผลหมากรากไม้ พืชผักสวนครัว เก็บกิน เก็บใช้ เก็บมาขายแทบไม่ไหว
ไอ้จุก : ใช้แล้วจ๊ะ ท่านเกษตรอำเภอ ดูพุงฉันสิจ๊ะ กินทุกอย่างในสวนจนพุงจะแตกตายแล้ว
เกษตรอำเภอ : มีอะไรให้ผมช่วย ก็ติดต่อผมได้ที่อำเภอเลยนะ สำหรับข้าวหอมผมยินดีช่วยเสมอ
ข้าวหอม : ขอบคุณมากค่ะ ท่านเกษตรอำเภอนี่ใจดีจริง ๆ เลยนะค่ะ นี่ค่ะ ผลผลิตจากสวน กล้วยน้ำว้า กับการแปรรูปเป็น กล้วยฉาบ และกล้วยเชื่อม ฉันให้ท่านเกษตรอำเภอไว้ทานนะค่ะ
เกษตรอำเภอ : ขอบคุณมากครับ มีของฝากให้กันทุกเดือนแบบนี้มีหวังผม น้ำหนักขึ้นชัวร์
ข้าวหอม : ไม่ขนาดนั้นหรอกค่ะ
เกษตรอำเภอ : อ๋อ ส่วนเรื่องที่จะส่งผักขายในโครงการหลวง ผมดำเนินเรื่องให้แล้วนะ อีกไม่นานคงได้รับข่าวดี
ข้าวหอม : ขอบคุณมากนะค่ะ
เกษตรอำเภอ : ผมขอตัวก่อนนะ
ข้าวหอม : ได้ค่ะ สวัสดีค่ะ
ป้าแม้น : เดี๋ยวนี้ จากลูกค้า มากลายเป็นพ่อค้าแล้วรึไอ้จุก ถึงว่าเดี๋ยวนี้หายไป ไม่มากินตัวต่อคั่วเกลือของข้าบ้าง
ไอ้จุก : แหม๋ ป้าแม้นจ๊ะ เวลาผ่านไปเราก็ต้องพัฒนาบ้างสิจ๊ะ ไว้เดี่ยวแผงว่าง ๆ ไม่มีคนฉันจะไปอุดหนุนตัวต่อคั่วเกลือ กับ รถด่วนทอดสมุนไพร ให้หนำใจเลยจ๊ะ
ข้าวหอม : ป้าแม้นรับอะไรดีจ๊ะ
ป้าแม้น : วันนี้ได้ติดใบเตยหอมมาบ้างไหมจ๊ะ พอดีจะทอดรถด่วนสมุนไพร แต่ใบเตยดันหมด ป้าจะมาขอซื้อหน่อย
ข้าวหอม : นี่จ๊ะป้าแม้น ฉันติดมาพอดี เอามาไว้ดับกลิ่นทั่วไป เดี๋ยวป้าเอามัดนี้ไปเลยก็ได้จ๊ะ
ป้าแม้น : เท่าไหร่จ๊ะ ข้าวหอม
ข้าวหอม : ไม่เป็นไรค่ะป้าแม้น คนกันเอง ถือว่าเป็นน้ำใจหละกันนะจ๊ะ ฉันให้ฟรีไม่คิดเงิน
ไอ้จุก : ใช่จ๊ะ ฉันให้ฟรี
ป้าแม้น : ขอบใจมากนะข้าวหอม
ข้าวหอม : ไม่เป็นไรค่ะป้า ที่บ้านมีอีกเยอะ แบ่ง ๆ กันไป วันไหนอยากได้เพิ่มก็ไปตัด หรือเอาไปปลูกก็ได้นะจ๊ะ
ป้าแม้น : หนูนี่ น่ารักแถมยังใจดีอีกด้วย
ข้าวหอม : อ๋อ ป้าแม้นจ๊ะ ป้าแม้นเคยเป็นหมอบายศรีสู่ขวัญ พอดีนาของฉันกำลังตั้งท้องออกรวงแล้ว อยากให้ป้าไปทำพิธีให้หน่อย
ป้าแม้น : ได้สิข้าวหอม เหมือนเจ็ด แปดปีก่อน ป้าเคยไปทำที่บ้านผู้ใหญ่นะ แต่เดี๋ยวนี้ไม่เคยมีใครทำแล้ว เขาไม่ค่อยถือเรื่องพวกนี้กัน แล้วหนูคิดอย่างไรจะทำบายศรีข้าว
ข้าวหอม : พอดีฉันเพิ่งปลูกข้าวที่ดินใหม่จ๊ะ ทำอะไรหลาย ๆ อย่างเป็นที่แรก เลยอยากได้ความมงคล เลยจะให้ป้าแม้น ไปทำพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าว เพื่อเป็นศิริมงคลต่อนาแรกของฉัน กับครอบครัวฉันหน่อยจ๊ะ
ป้าแม้น : ได้สิจ๊ะ
(เวลาผ่านไม่นาน หลังจากการเริ่มต้นหว่านข้าวทำนา เมื่อเดือน 4 ปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติ ใช้ปุ๋ยชีวะภาพในการบำรุงดิน บำรุงนาข้าว จนตอนนี้เข้าเดือน 10 ข้าวทั่วท้องทุ่งตั้งท้อง สีทองสวยทั่วท้องนาท้องทุ่ง มีสถานที่ทำพิธีสู่ขวัญข้าวเล็ก อยู่ริมคันนา มีโต๊ะบูชาปูด้วยผ้าสีขาว และที่นั่งทำพิธีสำหรับหมอขวัญข้าว)
ไอ้จุก : นี่จ๊ะ พี่ข้าวหอม ไข่ต้ม ผลไม้ต่าง ๆ รวมทั้งขนมหวานที่ให้ฉันเตรียมไว้
ข้าวหอม : เอาวางเลยนะ จัดใส่พาน ใส่สำหรับ ใส่กระทงสวย ๆ ไว้ให้พระแม่โพสพ
(เสียงประกอบ : เดิน)
ป้าแม้น : อ้าว เตรียมของครบยัง ที่ป้าให้เตรียมไว้
ข้าวหอม : ใกล้จะครบแล้วจ๊ะ ขาดตะกร้าขวัญข้าวอยู่
ไอ้จุก : นั่นไง ลุงขุนกำลังเดินเอามาให้แล้ว
(เสียงประกอบ : เดิน)
พ่อขุน : พี่แม้น สวัสดีจ๊ะ
ป้าแม้น : สวัสดีได้ของครบไหมหละ พ่อขุน
พ่อขุน : ได้ครบแล้วจ๊ะ นี่จ๊ะ ตะกร้าขวัญข้าว ที่ทำด้วยไม้ไผ่สาน ในตะกร้าขวัญข้าว ฉันใส่ใบคูน ใบยอ หมาก 5 คำ ยาเส้น 5 คำ ขันห้าดอกไม้ ข้าวต้มมัด ไข่ไก่ และ เหล้า นะจ๊ะ
(การทำขวัญข้าวเป็นประเพณี ที่ชาวนาเมื่อข้าวเริ่มตั้งท้องชาวนาจะเอาไม้ไผ่มาสานชะลอมแล้วนำเครื่องแต่งตัวของหญิง เช่นแป้ง น้ำมันใส่ผม น้ำอบไทย หวี กระจกใส่ในชะลอม พร้อมด้วยขนมหวานสักสองสามอย่าง ส้มเขียวหวาน ปักเสาไม้ไผ่แล้วเอาชะลอมแขวนไว้ในนา เพื่อให้แม่พระโพสพแต่งตัวและเสวยสิ่งของนั้น จะได้ออกรวงได้ผลดี)
ป้าแม้น : งั้นถ้าครบแล้ว ป้าเริ่มทำพิธีเลยนะข้าวหอม
ข้าวหอม : ได้เลยจ๊ะป้า
ป้าแม้น : แม่โพสพ แม่โพศรี แม่ธรณี แม่คงคา เชิญมาคุ้มครอง มาเถิดแม่มา ลูกปลูกข้าวในนา ช่วยมาคุ้มแอก คุ้มไถ คุ้มไร่ คุ้มนา มิ่งมาขวัญมา ขอให้ได้ผลดี ขอให้มีข้าวเต็มยุ้ง ขอให้ได้กกละหม้อ กอละเกวียน สัพพะโภสา
พ่อขุน : ขอให้ได้ผลผลิตเยอะ ๆ ขอให้ได้ข้าวคุณภาพดีด้วยเถิด
ข้าวหอม : นี่จ๊ะป้าแม้น ค่าครูทำขวัญ 99 บาท ถึงมันจะไม่มา แต่ก็ถือเสียว่า เป็นค่าบูชาครูนะจ๊ะ
ป้าแม้น : จะค่ามาก ค่าน้อยมันก็เงินแหละแม่หนู เงินนี้เป็นค่าครู ป้าก็ใช่ไม่ได้อยู่ดี ฝากแม่หนูเอาเงินนี้ไปทำบุญแทนป้าหละกันนะจ๊ะ
ข้าวหอม : ได้จ๊ะป้า
ไอ้จุก : เดี๋ยวเชิญ ลุงขุน ป้าแม้น ลุงพร ป้าศรี และลุงผู้ใหญ่ ไปทานข้าวที่กระท่อมปลายนากันก่อนนะจ๊ะ จุกจัดใส่สำหรับไว้ให้แล้ว ทางนี้จ๊ะ
ลุงผู้ใหญ่ : แหม๋ ครั้นจะเกรงใจก็กระไรอยู่ ไปกันพวกเรา เดี๋ยวกับข้าวกับข้าวจะเย็นเสียหมด
พ่อพร : จ๊ะ พ่อผู้ใหญ่
(เสียง ทานข้าว เสียงช้อน เสียงจาน)
ป้าแม้น : (เสียงดื่มน้ำ) ได้ดื่มน้ำลอยดอกมะลิ หอม ๆ ก็ชื่นใจหายเหนื่อย
พ่อขุน : นี่จ๊ะ ฉู่ฉี่ปลานิลราดหัวกระทิ ปลานิลทอดเกลือ และ ต้มยำปลานิล พอดีช่วงนี้ปลานิลกำลังโต อย่าเพิ่งเบื่อปลานิลกันนะจ๊ะ
ข้าวหอม : ถ้าไม่พอรับเพิ่มได้นะจ๊ะ ข้าวหอมให้ไอ้จุกห่อใส่ปิ่นโตให้ทุกคนแล้ว
ป้าศรี : มาบ้านนี้ทีไร ฉันนี้หายอดหายอยาก ได้กินอิ่มหนำสำราญ จริง ๆ
พ่อขุน : เราคนบ้านใกล้ เรือนเคียง มีอะไรก็ต้องเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปันกันหละจ๊ะ แม่ศรี
ลุงผู้ใหญ่ : ฉันก็พลอยได้อนิสงค์ผลบุญกับเขาไปด้วย ขอบคุณมากนะจ๊ะ พ่อขุน
(เสียง หัวเราะกันเสียงดังอย่างมีความสุข)
เจ๊สำรวย : อิจฉาจริ๊งจริง กินข้าวกินปลากันอย่างมีความสุข ไม่รู้ทุก ไม่รู้ร้อน
ลุงผู้ใหญ่ : อ้าว แม่สำรวย ไปไง มาไง มาถึงที่นี่ได้ มากินข้าวกินปลากันก่อนมา
เจ๊สำรวย : ไม่หรอกจ๊ะ ลุงผู้ใหญ่ ฉันก็แค่เดินผ่านมาแถวนี้ เลยแวะมาดูลูกหนี้สักหน่อย ผ่านมา 7 เดือนแล้ว เหลืออีก 3 เดือน ไม่รู้จะหาเงินใช้หนี้ฉันทันไหม ตั้งเจ็ดแสน
พ่อขุน : โถ่ แม่สำรวย ฉันหาเงินใช้หนี้ได้ทันแน่นอนจ๊ะ รออีกสักนิดนะจ๊ะ ยังไม่ถึงเวลากำหนดเลย
เจ๊สำรวย : ฉันมาวันนี้ ฉันก็ไม่ได้มาทวงหรือมาเก็บเงินอะไรหรอกพ่อขุน ฉันแค่เห็นว่าที่ดินผืนนี้มันสวยดิ เพาะปลูกอะไรก็ขึ้นทันตา ถ้าพ่อขุนหาเงินฉันใช้หนี้ไม่ทัน เอาที่ดินผืนนี้มาให้ฉันยึดก็ได้นะจ๊ะ ฉันยินดีรับไว้
ข้าวหอม : ฉันไม่มีทางให้เจ๊สำรวย ยึดที่ฉันง่าย ๆ หรอกจ๊ะ ฉันจะทำทุกวิถีทางหาเงินมาใช้หนี้เจ๊ให้ได้ เงินบริสุทธิ์กับเงินที่คดโกงดูสิ เงินไหนจะมีค่ามากกว่ากัน
เจ๊สำรวย : ฉันก็จะรอดูเหมือนกัน ว่าถึงกำหนดคืนเงินแล้ว พวกแกยังจะปากดีกับฉันแบบนี้ไหม ระวังจะไม่มีที่ซุกหัวนอน หรือแม้แต่ดินผืนสุดท้ายที่จะไม่มีให้ทำกิน ระวังไว้ละกัน แม่ตัวดี
พ่อขุน : ข้าวหอม ทำไมพูดกับแม่สำรวยเขาแบบนั้น ขอโทษแม่สำรวยเขาเดี๋ยวนี้
ข้าวหอม : ขอโทษจ๊ะ
เจ๊สำรวย : ช่างเถอะพ่อขุน เรื่องพวกนี้ฉันไม่ใส่ใจ เอาไว้ครบกำหนดอีก 3 เดือนข้างหน้า ฉันกลับมาใหม่อีกครั้งนะ
ถ้าไม่มีเงินคืน ก็เตรียมตัวเก็บข้าวเก็บของออกไปได้เลย
(ตลอดระยะเวลา 7 เดือนที่ผ่านมา หลังจากการท้วงหนี้ของเจ๊สำรวย ข้าวหอม และครอบครัว ทำทุกวิถีทางในการหาเงินใช้หนี้มาโดยตลอด โดยใช้การหารายได้จากธรรมชาติในสวนของเขา ทั้งพืช ผัก สวนครัว ผลไม้ ต้นไม้ หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ที่เลี้ยงไว้ ทั้งปลานิล เป็ด ไก่ หรือแม้แต่หมู โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผสมผสานบูรณาการกับแนวพระราชดำริอื่น ๆ ทุกสิ่งที่อย่างที่เหลือและพอจากการอุปโภค บริโภคในครอบครัว ของสด ของแห้ง ข้าวหอมก็นำมาแปรรูป นำมาถนอมอาหาร นำมาประยุกต์และต่อยอด ให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้น จนตอนนี้มีเงินเก็บเพื่อไว้ใช้หนี้เจ๊สำรวยแล้วเป็นเงินห้าแสนเจ็ดหมื่นบาท ยังขาดอีกประมาณ หนึ่งแสนกว่าบาท)
ฉากที่บ้าน ตอนกลางคืน
(เสียงจิ้งหรีด จักจั่นร้อง มีฝนตกพร่ำๆด้วย)
ข้าวหอม : นี่ก็เข้าช่วงปลายฝนต้นหนาวแล้วนะพ่อ เงินเก็บของเราก็ขาดอยู่แสนกว่าบาท เราจะหาเงินกันทันไหม
พ่อขุน : อย่าท้อไปเลยลูก มันยังไม่ถึงเวลา เราไม่รู้อนาคตหรอกว่าจะเกิดอะไรขึ้น พ่อว่าเราทำวันนี้ให้ดีที่สุดก็พอ
ข้าวหอม : ข้าวก็ขอให้เป็นแบบนั้นหละกันนะจ๊ะพอ
พ่อขุน : นอนเถอะลูก พรุ่งนี้เราต้องไปนากันแต่เช้า ใกล้จะเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว
ข้าวหอม : ข้าวหอมรักพ่อนะจ๊ะ
พ่อขุน : พ่อก็รักลูกมากเช่นกัน ดวงใจของพ่อ (พ่อหอมแก้มข้าวหอม)
ข้าวหอม : จุก ๆ ตื่น ไปนอนในมุ้งได้แล้ว นอนแบบนี้เดี๋ยวยุงจะกัดเป็นไข้เลือดออกเอา หน้าฝนยุงยิ่งเยอะอยู่
ไอ้จุก : จ๊ะ พี่ข้าวหอม (เสียงหาว ง่วงนอน)
(แสงสว่างยามรุ่งอรุณเบิกฟ้า ส่องสว่างสาดแสงกระทบกับรวงข้าวสีทอง ได้ยินเสียงเพลงรำเคี่ยวเกี่ยวข้าวมาแต่ไกล เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวตามฤดูกาลทำนาแล้ว)
(เพลง เต้นกำรำเคียว)
ลุงพร : มากันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่มามารึมา แม่มา (ซ้ำ)
มาเถิดเเม่นุชน้อง พี่จะเป็นฆ้องให้น้องเป็นปี่ ต้อยตะริดติ๊ดตอด น้ำเเห้งน้ำหยอดที่ตรงลิ้นปี่
มาเถิดนะ แม่มา มารึมาแม่มา มาเต้นกำย่ำหญ้ากันในนานี้เอย
เอิง เอ่ย พ่อเอ่ย มาเต้นกำย่ำหญ้า กันในนานี้เอย
ป้าศรี : มากันเถิดนายเอย เอ๋ยรา พ่อมามารึมา พ่อมา ฝนกระจายปลายนา แล้วน้องจะ
มาอย่างไรเอย
มาอย่างไรเอย
เอิง เอ่ย พ่อเอ่ย ฝนกระจายปลายน่ แล้วน้องจะมาอย่างไร
พ่อขุน : ไปกันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่ไปไปรึไป แม่ไป ไปชุมนุมกันที่ในป่า ไปชมพฤกษากันในไพร ไปชม ชะนีผีไพรเล่นกันที่ในดงเอย
เอิง เอ่ย แม่เอ่ย ไปชม ชะนีไพร เล่นกันที่ในดงเอย
ป้าแม้น : ไปกันเถิดนายเอย เอ๋ยรา พ่อไปไปรึไป พ่อไป น้องเดินขยิกจิกไหล่ ตามก้นพี่ชายไปเอย
เอิง เอ่ย พ่อเอ่ย น้องเดินขยิกจิกไหล่ ตามก้นพี่ชายไปเอย
ข้าวหอม : นี่หรอจ๊ะ เต้นกำรำเคียว เกิดมาฉันเพิ่งได้ฟัง สนุกจริง ใช่ไหมไอ้จุก
ไอ้จุก : ใช่จ๊ะ พี่ข้าวหอม ฉันนี่รำไปรำมา ข้าวแทบไม่ได้เกี่ยวเลยสักกอ
ลุงผู้ใหญ่ : นี่แหละ วัฒนธรรมไทยที่สูญหาย ต้องขอบคุณพ่อขุน ที่ชวนพวกเราและชาวบ้านมาลงแขกเกี่ยวข้าว มาเต้นกำรำเคียวกันอีกด้วย
ป้าแม้น : ต้องขอบคุณหนูข้าวหอมด้วยอีกคน เก่งจริง ๆ เลย ปลูกข้าวแบบชีวภาพไร้สารเคมี ข้าวถึงออกรวงสวย ต้นข้าวก็สุขภาพดี พวกป้านี่เกี่ยวไปยิ้มไปเลย
ลุงพร : เหลืออีกนิดหน่อยก็หมดแล้ว พวกที่เก็บเกี่ยวแล้ว หนูข้าวหอมกับไอ้จุก เอาขึ้นไปไว้ที่ลานตากเลยนะ ตากไว้สักสอง สามวัน ค่อยมาช่วยกันนวดข้าว แล้วก็สีไปขายได้เลย
ป้าศรี : เดี๋ยวเรื่องนวดข้าว ป้ามาช่วยอีกแรง ป้าถนัดนวด นวดให้ลุงพรแกอยู่ทุกคืน
ไอ้จุก : ฮิ้ว ๆ เจ้าข้าเอ่ย ถึงว่าทำไมลูก หลานเยอะจัง ก็ป้าศรีเล่นนวดให้ลุงพรทั้งคืนแบบนี้นี่เอง
ลุงผู้ใหญ่ : (ขำ)
พ่อขุน : ไอ้จุกนี่ เป็นเด็ก เป็นเล็ก ทะลึ่งลามปามใส่ผู้ใหญ่ เดี๋ยวโดน
ป้าศรี : ไม่เป็นไรหรอกพ่อขุน ฉันไม่โกรธหรอก
ข้าวหอม : ถ้าเกี่ยวข้าวกันเสร็จแล้ว ก็พักทานข้าวกันที่กระท่อมเหมือนเดิมนะจ๊ะ ฉันเตรียมสำหรับกับข้าวไว้ให้แล้ว
ป้าแม้น : ได้จ๊ะแม่หนู
(ดูเหมือนว่า ผลผลิตข้าวในครั้งนี้ น่าจะเป็นที่พอใจสำหรับข้างหอมและครอบครัว เนื่องจากประหยัดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยเคมีหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพแบบเกษตรอินทรีย์แทนแล้ว ยังประหยัดแรงงานในการเกี่ยวอีกด้วย ได้ญาติมิตรที่รู้จักมาช่วยลงแขกเกี่ยวข้าว อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยอีกด้วย ส่วนข้าวที่เหลือจากเก็บในยุ้งฉางไว้บริโภคทั้งปีแล้ว ก็ยังแบ่งออกขายให้ชาวบ้าน หรือคนที่สนใจข้าวปลอดสารพิษ ได้อุดหนุนซื้อไปหุงหารับประทาน ถึงราคาจะค่อนข้างสูง แต่เสียงตอบรับก็ดีจนมีคนต่อคิวรอในหน้านาใหม่ เป็นการทำการเกษตรแบบคุ้มค่า คุ้มราคา ตามแนวพระราชดำริจริง ๆ)
(เสียงหยอดเหรียญใส่กระปุกออมสินสังกะสี)
ข้าวหอม : (นับเลข 90 100)
ถ้ารวมทั้งหมดนี้ก็หกแสนเจ็ดหมื่นพอดี เหลืออีก 3 วัน จะหาอีกสามหมื่นทันไหมเนี้ยเรา คิดแล้วกลุ้มใจ
พ่อขุน : ทำอะไรอยู่ลูก
ข้าวหอม : เพิ่งทำบัญชีรายรับรายจ่ายเสร็จจ๊ะพ่อ อีก 3 วันเราจะหาเงินใช้หนี้ เขาทันไมจ๊ะ
พ่อขุน : ถ้าไม่ทันเราก็ต้องยอมให้เขายึดบ้านนี้ไปแหละลูก แล้วถ้าเขาจะเอาอะไรอีก จะยึดอะไรอีก ก็คงต้องปล่อยเขาไป
ข้าวหอม : เราต้องยอมแพ้แล้วใช่ไหมพ่อ
พ่อขุน : เราไม่ได้แพ้หรอกลูก เราแค่ไม่ชนะเท่านั้นเอง
ข้าวหอม : ไปนอนกันเถอะพ่อ ชีวิตไม่สิ้น ก็ต้องดิ้นกันไป
ไอ้จุก : (นอนกรน)
ข้าวหอม : จุกเข้ามานอนในมุ้งเร็ว พี่จะดับไฟแล้ว
ไอ้จุก : พี่ข้าวหอม (เสียงหาว)
(เมื่อครบกำหนดวันใช้หนี้ของเจ๊สำรวย)
(เสียงไก่ขัน)
เจ๊สำรวย : พ่อขุน พ่อขุน อยู่ไหมจ๊ะ
พ่อขุน : อ้าว เจ๊สำรวย รอสักครู่นะจ๊ะ พวกฉันกำลังเก็บของกันอยู่
เจ๊สำรวย : เก็บของกันแล้วหรอจ๊ะ แปลว่ารู้ชะตากรรมสินะ ไอ้พวง ไอ้นง ไปช่วยพวกมันเก็บของหน่อยสิ
ไอ้พวง : ได้ครับ เจ๊
(เสียงเดินขึ้นบันได)
ข้าวหอม : เราแพ้แล้วจริง ๆ ใช่ไหมจ๊ะพ่อ
พ่อขุน : เก็บของเถอะลูก จะได้ไปจากที่นี่กัน
เจ๊สำรวย : เก็บของไปให้หมดนะจ๊ะ เพราะเดี๋ยวพรุ่งนี้จะมีคนซื้อมาดูบ้าน มาดูที่ ถ้าเขาชอบฉันจะได้ขายไป
ไอ้จุก : โถ่ ไอ้เผือก ถ้าข้าไปแล้ว ข้าคงคิดถึงเอ็งแย่ ไปอยู่กับลุงพรป้าศรี ก็อย่าลืมคิดถึงข้าบ้างนะ (เสียงสะอื้น)
(เสียงประกอบ กระบือร้อง)
ลุงผู้ใหญ่ : อ้าว พ่อขุนกับข้าวหอม เก็บของจะไปไหนกันหละ
ข้าวหอม : ฉันคงต้องไปจากที่นี่แล้วหละ ลุงผู้ใหญ่ ฉันหาเงินมาใช้หนี้เขาไม่ได้
ลุงผู้ใหญ่ : เดี๋ยวสิใครบอกว่าใช้ไม่ได้ ดูนี่ก่อน
เกษตรอำเภอ : สวัสดีครับ ลุงขุน ข้าวหอม
พ่อขุน : อ้าว สวัสดีคุณเกษตรอำเภอ มาถึงที่นี่มีเรื่องอะไรหรือป่าว
ลุงผู้ใหญ่ : เอาหละ วันนี้มันเป็นเรื่องกะทันหันนะ ฉันเลยเรื่องประชุมคนได้เท่านี้ ก็มีแต่พวกเราทั้งนั้น ยายแม้น ป้าศรี ลุงพร พ่อเพิ่ม และมีกลุ่มก็แม่สำรวยด้วย มาด้วยความบังเอิญ อ่ะ ลุงผู้ใหญ่ ยกให้พ่อเกษตรอำเภอดำเนินการต่อเลย
เกษตรอำเภอ : ขอบคุณมากครับลุงผู้ใหญ่ ผมเกษตรอำเภอ เป็นตัวแทนของอำเภอและโครงการหลวงนะครับ วันนี้ผมเป็นเกียรติและดีใจอย่างมาก ที่จะได้มามอบเงินสบทบทุนโครงการเกษตรกรปลอดภัย ซึ่งคัดสรรจากตัวแทนเกษตรกรในอำเภอของเราทั้งหมด ให้กับนางสาว ขวัญข้าว เปี่ยมสุข หรือข้าวหอม ซึ่งทางเกษตรอำเภอมาช่วยในการดูแลพัฒนาที่ดินการเกษตร และทางผู้แทนจากโครงการหลวงตรวจเยี่ยมที่ดิน แปลงการเกษตร เพื่อนำเข้าโครงการหลวงต่อไป
ข้าวหอม : ขอบคุณมากค่ะ ขอบคุณค่ะ
ลุงผู้ใหญ่ : นี่ใบเกียรติบัตรสำหรับโครงการนี้จ๊ะ
เกษตรอำเภอ : นี่คือเงินสด สำหรับสมทบทุนโครงการการเกษตรกรปลอดภัย 10,000 บาท
ข้าวหอม : ขอบคุณมากค่ะ ฉันดีใจมากค่ะ
เกษตรอำเภอ : ทางผมและอำเภอ ร่วมถึงผู้ใหญ่บ้านจะมาช่วยดูแลที่ดินแปลงนี้ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ชาวบ้าน ผู้ที่สนใจ ในเรื่องของเกษตรทฤษฏีใหม่ โครงการในพระราชดำริต่าง ๆ ที่มีการผสมผสานในที่ดินผืนนี้ อย่างครบวงจร
ผู้ใหญ่บ้าน : และจะมีช่วยให้ความรู้ประชาชน ชาวบ้าน ผู้ที่สนใจ ในเรื่องการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีครอบครัวนี้เป็นต้นแบบอีกด้วย
ข้าวหอม : ข้าวหอมต้องขอบคุณทุกคนมาก ๆ ทั้งเกษตรอำเภอ ลุงผู้ใหญ่ และใครหลาย ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่ช่วยเหลือ และเล็งเห็นถึงความสำคัญของที่ดินของข้าวหอมในการดำเนินแนวทางพระราชดำริเกษตรทฤษฏีใหม่ ถึงความจริงแล้ว จะเกิดจากความคิดเพียงแค่ทำขึ้นมาเพื่อใช้หนี้สิน แต่ไม่คิดว่าจะมีคุณค่าถึงเพียงนี้
พ่อขุน : ขอบคุณมากนะครับ ขอบคุณผู้ใหญ่กับเกษตรอำเภอจริง ๆ ที่ช่วยครอบครัวเรามาโดยตลอด
ถ้าไม่ได้พวกท่านช่วยผมคงแย่
ไอ้จุก : พี่ข้าวหอมจ๊ะ ฉันเก็บของครบแล้ว เราจะไปกันยังจ๊ะ
ข้าวหอม : ไปสิจุก เราคงต้องไปกันแล้ว
ลุงผู้ใหญ่ : ไปไหนกันหละ ทำไมไม่อยู่ที่นี่กันต่อ
พ่อขุน : ฉันหาเงินมาใช้หนี้ เจ๊สำรวยไม่ได้ตามเวลาที่กำหนด ฉันเองก็คงต้องไปแล้ว
เจ๊สำรวย : ไม่มีเงินก็ไปสิ มายืนทำหน้าเศร้าทำไม (ขำๆ)
พวกแกก็เหมือนกัน ป้าศรี ลุงพร เงินฉันที่ยืมไป ไม่ได้ให้ฟรีนะ อย่าลืมคืนฉันด้วย
ลุงผู้ใหญ่ : เงินสมทบทุนนี้ เอาไปใช้หนี้ก่อนก็ได้นะหนูข้าวหอม
ผู้หมวดเอก : ขอโทษนะครับ นี่ใช้คุณ รัศมี เรืองเอก หรือเจ๊สำรวยป่าวครับ
เจ๊สำรวย : คือ คือ ฉันเองค่ะ ไม่ทราบคุณตำรวยมีอะไรหรือป่าวค่ะ
ผู้หมวดเอก : ผมได้รับหมายศาล ให้จับกุมคุณในข้อหา ข่มขู่ทำร้ายร่างกายหมายจะเอาชีวิต บุกรุกที่อยู่อาศัยในยามวิกาต คิดดอกเบี้ยลูกหนี้เกินอัตราที่กฏหมายกำหนด
เจ๊สำรวย : ไม่ใช่นะค่ะ ไม่จริงนะค่ะ
ผู้หมวดเอก : นี่ครับหลักฐาน (เสียงเปิดกระดาษ) ทำแบบนี้ไม่ดีเลยนะครับ มีหวังติดคุกหัวโตแน่
เจ๊สำรวย : ปล่อยฉันนะ จะจับฉันทำไม (เสียงกุญแจมือ)
ผู้หมวดเอก : จับนายนง กับนายพวงด้วย ข้อหา สมรู้ร่วมคิด ข่มขู่ทำร่างกายหมายจะเอาชีวิต บุกรุกที่อยู่อาศัยในยามวิกาต
เกษตรอำเภอ : ขอบคุณมากนะ ผู้หมวดเอก
ผู้หมวดเอก : ไม่เป็นไรเพื่อ เป็นหน้าที่ของตำรวจอยู่แล้วที่ต้องดูแลทุกข์ สุข ของประชาชน
ข้าวหอม : แล้วหนี้ของดิฉันหละ ที่ต้องใช้เจ๊สำรวจเขา
ผู้หมวดเอก : หนี้จากการกู้ยืมในสัญญาที่ผมค้นเจอ พ่อกับแม่คุณกู้เงิน มาทำนา ซื้อปุ๋ย ซื้อสารเคมีมาแค่ สองแสนบาทเองครับ ใช้เพียงแค่เงินต้นที่กู้ยืมมาก่อน ส่วนดอกเบี้ยต้องรอว่าศาลจะตัดสินอย่างไร อ๋อ นี่ครับโฉลดที่นา กับบ้าน
ข้าวหอม : ขอบคุณผู้หมวด และเกษตรอำเภอมากเลยนะค่ะ ที่ช่วยเหลือฉัน บุญคุณนี้ต้องทนแทนอีกนานกว่าจะหมด
ลุงผู้ใหญ่ : เรื่องร้าย ๆ ก็หมดไป ต่อไปเราจะกลับมาทำเรื่องดี ๆ กันมั้งนะ
ลุงขุน : งั้น เดี๋ยวผู้หมวด พ่อผู้ใหญ่ ท่านเกษตรอำเภอ และชาวบ้านอย่างเพิ่งกลับกันนะจ๊ะ เดี๋ยวฉัน กับลูก หลาน จะทำกับข้าวเลี้ยงแทนคำขอบคุณสักหน่อยจ๊ะ
(ฟ้าหลังฝนย่อมงดงามเสมอ เจ๊สำรวยต้องรับโทษทัณฑ์ที่ตัวเองก่อ ข้าวหอมกับครอบครัว มีความสุขที่ได้ที่ดินของตัวเองกลับมา จนตอนนี้กลายเป็นครอบครัวต้นแบบแห่งความพอเพียงแล้ว)
(หลายเดือนผ่านไป ไอ้จุก หลังจากที่บ้านพอมีเงิน มีทอง ก็ได้มาร่ำเรียนในโรงเรียนบ้านทุ่งโคลน ชอบร้องเพลงเป็นชีวิตจริงใจ จนตอนนี้ประกวดร้องเพลงในเวทีใหญ่ ๆ ได้เลย จนกลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงที่คนในบ้านทุ่งโคลนก็รู้จัก)
(เสียงกริ่งเข้าเรียน)
ไอ้จุก : เห่เฮ้ ห่าฮ้าเสร็จจากงานนา แล้วเมื่อเวลาเย็นๆ เป่าขลุ่ยและพาเจ้าทุยเดินเล่น ลมพัดเย็นๆ มาเดินเล่นไปตามคันนา (ร้องเพลงชมทุ่ง)
ครูไสว : เด็กชายจุก
ไอ้จุก : ครับคุณครูไสวคนสวย
ครูไสว : แหม๋ พ่อนักร้องคนดังแห่งบ้านทุ่งโคลน เดี๋ยวเถอะ ไม่ยอมทำการบ้านส่ง จะจับตีให้ขาลายเลย
ไอ้จุก : (เสียงเจ็บ) พ่อแล้ว ครูครับ ผมกลัวแล้ว
(สำหรับพ่อขุน หันมาทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ใช่ยาฆ่าแมลง ปลูกแบบชีวิภาพ เพื่อรักษาคุณภาพของธรรมชาติที่ให้มาพร้อมผลผลิต จนกลายเป็นปราชญ์เดินดิน ผู้ที่มีความรอบรู้และเก่งอีกคนหนึ่ง)
พ่อขุน : อ้าว ไอ้เผือก กินฟางข้าว เยอะ ๆ หละ จะได้มีแรงถ่ายมูลเยอะ ๆ ให้ข้าได้ทำปุ๋ย
ตั้งแต่ มี ไอ้นวล กับ ไอ้สวย มาอยู่ในคอกนี้ รู้สึกเอ็งอ่อนเพลียไปเยอะเลยนะ
ไอ้เผือก : (เสียงกระบือร้อง)
พ่อขุน : เรื่องลูก ข้าไม่รีบนะ แต่ถ้ามีเลยก็ดี จะได้ทันไถ่นา แปรดินกัน
ไอ้เผือก : (เสียงกระบือร้อง)
พ่อขุน : เอ็งนี่ น่ารักอย่างไรก็ยังเป็นแบบนั้นเลยนะ ควายคู่ใจของข้า
(ส่วนขวัญก็ได้ผันตัวมาเป็นวิทยากรตัวอย่าง คอยให้คำปรึกษา แนะนำ สาธิต เปิดอบรม ให้ชาวบ้าน ประชาชน หรือข้าราชการจากหน่วยงานต่าง ๆ ในเรื่องของการดำเนินวิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการบูรณาการผสมผสานแนวทางพระราชดำริของในหลวงสำหรับเกษตรกรที่สนใจการทำเกษตรทฤษฏีใหม่)
ข้าวหอม : พี่ ป้า น้า อา อย่าลืมนะจ๊ะ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรานำมาปรับใช้ไม่อยากเลย ขอเพียงแค่เรามี 3 ห่วง 2 เงื่อนไข เท่านั้นเอง
ไอ้จุก : พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี ภายใต้ความรู้ และคุณธรรม
ข้าวหอม : ใช่แล้วจ๊ะ ต่อไปนี้เราจะทำอะไรของให้นึกถึง 3 ห่วง 2 เงื่อนไขเป็นหลัก แค่นั้นชีวิตของเราก็จะมีความสุขภายใต้ความพอเพียง ตามที่ต้องการแล้วจ๊ะ สำหรับการอบรมวันนี้หมดเวลาลงแล้ว ข้าวหอมขอปิดการอบรม การดำเนินวิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไว้เพียงเท่านี้ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
(เสียงปรบมือ)
(จากอุปสรรคที่ฝ่าฝันจนมาถึงการเปลี่ยนแปลงของชีวิต เพื่อความยั่งยืน เดินตามรอยพระบาทพระบาทสมเด็จฯ อยู่บนความพอเพียง และปรับใช้ชีวิตตามแนวทางพระราชดำริ จากด้วยบทเรียนของพระองค์ที่เคยทดลอง ค้นคว้า ดำริ และปฏิบัติ พัฒนาจนกลายมาเป็นวิชาชีวิต เป็นหลักปรัชญาแห่งความพอเพียง ที่พระราชให้พสกนิกรได้ใช้ ได้เรียนรู้ ถือว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงของปวงชนชาวไทย)
แหล่งอ้างอิง
“เกษตรทฤษฎีใหม่”. ไม่ปรากฏปี. [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา : http://huaysaicenter.org/new_theory.php (1 มีนาคม 2558)
“โครงการเศรษฐกิจพอเพียง”. 2551. [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา : http://เศรษฐกิจพอเพียง.net/โครงการเศรษฐกิจพอเพียง.html
(1 มีนาคม 2558)
“ปฏิทินกิจกรรมในการทำนา (นาปี-ภาคอีสาน)”. 2557. [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา : http://www.isstep.com/ปฎิทินกิจกรรมทำนาปี/ (1 มีนาคม 2558)
“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”. 2551. [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา : http://เศรษฐกิจพอเพียง.net/ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.html
(1 มีนาคม 2558)
“พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง”. 2551. [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา : http://เศรษฐกิจพอเพียง.net/พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง.html
(1 มีนาคม 2558)
“พิธีทำขวัญข้าว”. 2553. [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/304272 (1 มีนาคม 2558)
“เพลงเต้นกำรำเคียว”. ไม่ปรากฏปี. [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา : https://www.google.co.th/urlilwc.aru.ac.th%2FContents%2F
SongThai%2FSongThai16.html (1 มีนาคม 2558)
“เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข”. 2551. [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา : http://เศรษฐกิจพอเพียง.net/เศรษฐกิจพอเพียง3ห่วง2เงื่อนไข.html
(1 มีนาคม 2558)
“สมุนไพรไทย 200 ชนิด”. 2548. [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_200.htm
(1 มีนาคม 2558)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น