บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษา
ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของนิสิตที่มีต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูล
โดยมีขั้นตอนดำเนินการศึกษารายละเอียดที่สำคัญดังต่อไปนี้
3.1 แบบของการวิจัย
3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
3.4 การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
3.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล
3.7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
แบบของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้
เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของนิสิตที่มีต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
(Population) ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
ที่กำลังศึกษาประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 10,503 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ นิสิตมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ที่กำลังศึกษาประจำปีการศึกษา 2558 โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม(Cluster Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 100 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งได้สร้างตามวัตถุประสงค์ แนวคิดทฤษฏี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
และตามกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามสถานภาพส่วนบุคคล
ได้แก่ เพศ อายุ คณะ ชั้นปี และรายได้ต่อเดือน จำนวน 5 ข้อ
ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับทัศนคติของนิสิตที่มีต่อการนำเสนอข้อมูลของสื่อมวลชน
เป็นลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า
(Rating Scale) ตามมาตราวัดของลิเคริ์ท
(Likert’Scale) แบ่งเป็น 5 ระดับ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
5 หมายความว่า มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด
4 หมายความว่า มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก
3 หมายความว่า มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับปานกลาง
2 หมายความว่า มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับน้อย
1 หมายความว่า มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับน้อยที่สุด
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยดำเนินการสร้างแบบสอบถามโดยมีขั้นตอนในการสร้าง
ดังนี้
1. ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ
และขอคำแนะนำจากอาจารย์ประจำวิชาจากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดมาบูรณาการสร้างแบบสอบถามให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระตามขอบเขตของการศึกษา
2. สร้างข้อคำถามตามกรอบแนวคิดของการวิจัย
3. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
คือ การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ดำเนินการดังนี้
3.1
นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์ประจำวิชาเพื่อตรวจสำนวนภาษาเนื้อหาสาระ
รูปแบบของการสอบถาม และความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
3.2
นำแบบสอบถามที่ปรับปรุง ตามคำแนะนำของอาจารย์ประจำวิชาแล้ว ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อตรวจสอบความตรงของข้อคำถามกับนิยามศัพท์เฉพาะ ตามกรอบแนวคิดการวิจัย
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้
ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้งนี้อย่างเป็นขั้นตอน ดังนี้
1. ผู้วิจัยจัดทำแบบสอบถามระดับทัศนคติของนิสิตที่มีต่อการนำเสนอข้อมูลของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลต่าง
ๆ
2.
ขอความอนุเคราะห์นิสิตมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ที่กำลังศึกษาประจำปีการศึกษา 2558 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเพื่อเก็บข้อมูลแบบสอบถาม
3. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลนิสิตมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
ที่กำลังศึกษาประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 100 คน โดยผู้วิจัยเข้าไปชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของการตอบแบบสอบถาม
และชี้แจงการตอบแบบสอบถาม และเก็บแบบสอบถามด้วยตนเอง
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้
ผู้วิจัยนำข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์(SPSS)
โดยใช้เทคนิคทางสถิติ
เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้
1. การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยพื้นฐาน
เพศ อายุ คณะ ชั้นปีและรายได้ต่อเดือน วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา
การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ (Percentage)
2. การวิเคราะห์ข้อมูลด้านความเห็นด้วยของนิสิต
วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard
Deviation)
เกณฑ์การประเมินค่าวัดระดับทัศนคติของนิสิตที่มีต่อการนำเสนอข้อมูลของสื่อมวลชน
มีอยู่ 5 ระดับ
การแปลความหมายค่าเฉลี่ยโดยผู้ศึกษาใช้วิธีการของ บุญชม ศรีสะอาด (2547:35) ดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายความว่า มากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายความว่า มาก
ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายความว่า ปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายความว่า น้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายความว่า น้อยที่สุด
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยนำข้อมูลประมวลผลและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางสังคมศาสตร์โดยใช้เทคนิคทางสถิติ
เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้
1.
สถิติพรรณนาใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่
เพศ อายุ คณะ ชั้นปีและรายได้ต่อเดือน
การแจกแจงความถี่
หาค่าร้อยละ
2.
สถิติอ้างอิงข้อมูลความเห็นด้วยของนิสิต
ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น