บทที่ 2
แนวคิด
ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยเรื่องการศึกษาระดับทัศนคติของนิสิตที่มีต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลต่าง
ๆ สู่สาธารณะชน ผู้วิจัยจะทำการศึกษาข้อมูลได้ทำการศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่สามารถนามาอ้างอิง
เพื่อสนับสนุน และเป็นแนวทางในการวิจัยดังนี้
1. แนวคิดหน้าที่พื้นฐานและบทบาทของสื่อสารมวลชน
2. แนวคิดเกี่ยวกับข่าวและประเด็นข่าว
3. ทฤษฎีการกำหนดวาระข่าวสาร
4. แนวคิดเกี่ยวกับทิศทางการนำเสนอข่าวสารและความเป็นกลางในการนำเสนอข่าว
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดหน้าที่พื้นฐานและบทบาทของสื่อสารมวลชน
ความหมายการสื่อสารมวลชน
ปรมะ สตะเวทิน (2541) “การสื่อสารมวลชนเป็นกระบวนการของการสื่อสารไปยังคนจำนวนมากในเวลาเดียวกันหรือในเวลาที่ใกล้เคียงกันโดยอาศัยสื่อมวลชนเป็นสื่อ”
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ (2547) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เสนอว่า
“การสื่อสาร” (communication) มารวมกับคำว่า
“มวลชน” (mass) หมายถึง คนจำนวนมากๆ คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานได้รับเอาคาว่า
“สื่อสารมวลชน” มาใช้กับคาว่า “mass
communication” หมายถึง สื่อสารไปสู่มวลชน
พจนานุกรมการสื่อสารมวลชน “การสื่อสารมวลชนเป็นแบบหนึ่งของการสื่อสาร
สามารถกระจายเรื่องราวความรู้ เปิดเผยไปสู่คนส่วนใหญ่ ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกัน และไปถึงผู้รับพร้อมกัน
มีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวโน้มทางวัฒนธรรมของมวลชน” กระทรวงศึกษาธิการได้บัญญัติศัพท์คาว่า
“สื่อมวลชน” ตรงกับคาว่า “mass media” ย่อจาก “medium/ media of communication”
ความสำคัญของการสื่อสารมวลชน
การสื่อสารมวลชนเข้ามามีบทบาทสำคัญแทนที่การสื่อสารระหว่างบุคคล
(Interpersonal Communication) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า (Face
to Face Communication) และการสื่อสารแบบบอกปากต่อปาก (Word
of Mouth Communication) การสื่อสารมวลชน ทำให้สามารถทาการสื่อการกันได้โดยไม่ถูกจากัดในเรื่องจำนวนคน
เวลา และระยะทาง (ศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ, 2540) โดยสามารถระบุความสำคัญได้ 5 ประการ คือ
1.ความสำคัญต่อกระบวนการสังคม (Social Process) โดยการเสนอข่าวสารและความคิดเห็นที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนระบบสถาบันต่าง ๆของสังคมให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้รวมทั้งสืบเสาะเบาะแสความไม่ดีไม่งามของสังคม
พร้อมกับเสนอแนวทางแก้ไขที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
2.ความสำคัญต่อข่าวสารโดยการนาข่าวสารทุกประเภทมาถึงประชาชนเพราะสังคมปัจจุบันเป็นสังคมข่าวสาร
(Information Society) ข่าวสารเป็นเครื่องมือในการสนทนาในชีวิตประจำวัน
และเป็นข้อมูลในการวางแผนและประกอบการตัดสินใจ
3.ความสำคัญต่อวัฒนธรรม โดยการนาและถ่ายทอดวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในส่วนต่าง
ๆ ของประเทศ ให้ปรากฏอย่างแพร่หลาย ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นและลดความขัดแย้งระหว่างกันได้
4.ความสำคัญต่อความเป็นสากลโดยการเผยแพร่ข่าวสารอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
ทำให้ผู้คนสามารถรับรู้ข่าวสารได้พร้อมๆ กันทั่วโลก (Globalization)
5.ความสำคัญต่อธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไปสู่กลุ่มประชาชนผู้บริโภค
หน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชน
สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการสื่อสารของสังคม ด้วยศักยภาพของสื่อมวลชนจึงทำให้สื่อมวลชนยิ่งทวีความสำคัญในฐานะสื่อกลางของการสื่อสาร
ดังนั้นหากกล่าวถึงหน้าพื้นฐานของสื่อมวลชนจึงสมควรอ้างอิงหน้าที่สำคัญพื้นฐานของการสื่อสาร
เพื่อสร้างความเข้าใจเบื้องต้น (ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ,
2553) ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันได้อธิบายหน้าที่ของการสื่อสารไว้ดังนี้
1. การสังเกตการณ์สภาพแวดล้อม (Surveillance of
the Environment) นั่นคือการเฝ้าดูแลสอดส่องเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งภัยอันตรายที่อาจส่งผลกระทบกับสมาชิกในสังคม
2. การประสานสัมพันธ์ส่วนต่างๆ ของสังคม
(Correlation of the Parts) นั่นคือการสื่อสารช่วยให้สมาชิกกลุ่มต่างๆ
ในสังคมมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน และอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสงบเรียบร้อย
3. การถ่ายทอดมรดกทางสังคม (Transmission of
Social Inheritance) นั่นคือช่วยให้อนุชนรุ่นหลังมีการสืบทอดวัฒนธรรมต่อๆ
กันไปโดยไม่ขาดตอน เปรียบเสมือนการให้การศึกษา
นอกจากหน้าที่พื้นฐานทั้ง 3 ประการแล้ว ชาร์ล ไรท์
(Charles R. Wright) ยังได้เสนอหน้าที่ในการให้ความบันเทิงเพิ่มเติมด้วย
สื่อมวลชนในฐานะสื่อหรือเครื่องมือในการสื่อสารของสมาชิกในสังคมจึงมีหน้าที่พื้นฐาน
4 ประการ คือ
1. หน้าที่ในการให้ข่าวสาร
2. หน้าที่ในการให้ความคิดเห็น
3. หน้าที่ในการให้การศึกษา
4. หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
1. หน้าที่ในการให้ข่าวสาร การให้ข่าวสาร นับเป็นหน้าที่แรกของสื่อมวลชนที่สำคัญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกล่าวในบริบทของการสื่อสาร หน้าที่การให้ข่าวสารนับเป็นหน้าที่อันดับแรกที่เก่าแก่และยาวนานที่สุดของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ
เมื่อสังคมมนุษย์ขยายขอบเขตมากขึ้นต้องอาศัยสื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร หน้าที่การให้ข่าวและข่าวสารจึงยังคงเป็นหน้าที่ที่สำคัญลำดับแรกของสื่อมวลชน
การให้ข่าวและข่าวสารของสื่อมวลชนด้วยการเก็บรวบรวม ประมวล วิเคราะห์ ข้อมูล
ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ภาพ เสียง เหตุการณ์ต่างๆ เพื่อนำไปเผยแพร่เป็นข่าวให้สมาชิกในสังคมได้ทราบถึงสภาพแวดล้อมของสังคมนั้นๆ
เพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นและความสนใจของบุคคล ช่วยให้เกิดความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย
ส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาตัวเองของสมาชิกในสังคม
การให้ข่าว ข่าวสาร อาจนับได้ว่ามีประสิทธิผลในการเสริมสร้างทางปัญญาของสมาชิกในสังคมอีกด้วย
2. หน้าที่ในการแสดงความคิดเห็น นอกจากการให้ข่าว ข่าวสารแล้วสื่อมวลชนยังต้องมีหน้าที่ในการอธิบาย
แปลความหมาย ตีความ และวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความหมายของข่าว ข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆ
ที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นบทบรรณาธิการทางหน้าหนังสือพิมพ์ที่แสดงถึงความคิดเห็น
สารคดีเชิงข่าวทางโทรทัศน์ที่เสนอภูมิหลังของข่าวหรือเหตุการณ์และข้อวิพากษ์วิจารณ์
บทวิเคราะห์ข่าวทางวิทยุกระจายเสียงในการเปิดเผยสาเหตุของเหตุการณ์ และคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต
การแสดงความคิดเห็นเหล่านี้จัดเป็นหน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชนที่จะต้องทาเพื่อประโยชน์ของสมาชิกในสังคม
รวมทั้งการเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นของสังคมเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจและความร่วมใจกัน
3. หน้าที่ในการให้การศึกษา การให้การศึกษานับเป็นการเสนอสาระความรู้อย่างมีระบบ
มีวิธีการ เพื่อให้อยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆในสังคมได้ การให้การศึกษานี้สื่อมวลชนสามารถให้ได้ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน
การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย อันหมายรวมถึงการถ่ายทอดวัฒนธรรม ค่านิยม
ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี บทบาท หน้าที่ ของสมาชิกในสังคมด้วย สื่อมวลชนจะเป็นผู้นาสารในลักษณะของความรู้และประสบการณ์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสติปัญญา การปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ และการปรับภูมิปัญญาเข้าสู่มาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน
4. หน้าที่ในการให้ความบันเทิง สื่อมวลชนมีหน้าที่ตอบสนองทางด้านจิตวิทยาแก่สมาชิกในสังคมได้เป็นอย่างดี
ด้วยการช่วยคลายเหงาเพื่อทดแทนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลซึ่งมีน้อยลง ช่วยให้ร่างกายและจิตใจได้พักผ่อนและมีกาลังใจเพิ่มขึ้น
รวมทั้งช่วยรักษาเยียวยาภาวะต่างๆ ภายในจิตใจ เช่น ความเศร้าหมอง ความวิตกกังวล ความผิดหวัง
ช่วยให้หลีกหนีปัญหาต่างๆ ให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และลดความตึงเครียดของจิตใจ ซึ่งสื่อมวลชนนำเสนอในรูปของ
ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ รายการเพลงทางวิทยุกระจายเสียง นวนิยาย เรื่องสั้นในสารคดี คอลัมน์บันเทิงต่างๆในหนังสือพิมพ์
บทบาทหน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชน(Media Function Basic) ตามแนวคิดของMcquail (1994 อ้างถึงใน จุฬาพิศ มณีวงศ์,
2539 : 4 ) โดยแบ่งหน้าที่ของสื่อมวลชนตามความคิดของสังคมออกเป็น5
ประการ ได้แก่
1. หน้าที่ในการให้ข่าวสาร (Information)
1.การให้ข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์และสถานการณ์ในสังคมและในโลก
2.แสดงถึงความสัมพันธ์ของอำนาจต่างๆ ในสังคม
3.ส่งเสริมความคิดใหม่ๆ การปรับตัว ให้เจริญก้าวหน้า ทันสมัย
2. หน้าที่ในการประสาน (Correlation)
1.อธิบาย ตีความ ให้ข้อคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ เหตุการณ์และข่าวสารที่เกิดขึ้น
2.ให้การสนับสนุนผู้ที่อยู่ในอำนาจที่ถูกต้องและบรรทัดฐานเป็นที่ยอมรับกันของสังคม
3.เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม
4.ประสานกิจกรรมต่างๆ ของสังคม
5.สร้างความสอดคล้องกันในสังคม
6.กำหนดว่าเรื่องใดสำคัญมากน้อยกว่ากัน หรือการกำหนดวาระทางสังคม
3. หน้าที่ในการสร้างความต่อเนื่อง (Continuity)
1. การแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมหลักและวัฒนธรรมย่อยและการพัฒนาวัฒนธรรมใหม่ๆ
2. เสริมสร้างและทานุบำรุงค่านิยมพื้นฐานของสังคม
4. หน้าที่ด้านความบันเทิง (Entertainment)
1.ให้ความขบขัน ความเพลิดเพลินบันเทิงใจแก่สมาชิก
2. ลดความเครียดของสังคม และข้อขัดแย้งทางสังคม
5. หน้าที่ในการระดมความร่วมมือ (Mobilization)
1. การรณรงค์เพื่อเป้าหมายทางสังคม ด้านการเมือง สงคราม
เศรษฐกิจ การทางาน อาชีพ
หน้าที่ของสื่อมวลชนตามบริบททางสังคม
สื่อมวลชนนับเป็นสถาบันของสังคมที่มีบทบาทหน้าที่ช่วยให้มนุษย์สามารถอยู่รวมกันในสังคม
สื่อมวลชนเปรียบเสมือนสายใยที่ยึดเหนี่ยวให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันได้ และช่วยให้สมาชิกในสังคมมีการสื่อสารซึ่งกันและกันด้วยความเข้าใจกัน
หากวิเคราะห์ถึงพัฒนาการของสื่อมวลชนจะเห็นว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของสื่อมวลชน 4 ประการ คือ 1.เทคโนโลยี 2.บริบททางสังคมคือสภาพสังคม
เศรษฐกิจ การเมือง 3. ภารกิจที่สื่อได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติเพื่อตอบสนองความจาเป็นของสังคม
4.ประชาชนกลุ่มต่างๆ ในสังคม (กาญจนา แก้วเทพ,
2545) เมื่อปัจจัย 4 ประการเปลี่ยนแปลงสังคมย่อมเปลี่ยนแปลง
เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของสื่อมวลชนย่อมเปลี่ยนแปลงตามบริบททางสังคมด้วย
หน้าที่ของสื่อมวลชนตามบริบททางสังคมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือหน้าที่ของสื่อมวลชนต่อปัจเจกชนกับหน้าที่ของสื่อมวลชนในระดับสังคม
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. หน้าที่ของสื่อมวลชนต่อปัจเจกชน สามารถแบ่งได้คือ
1.1 หน้าที่ของสื่อมวลชนในการเป็นแหล่งสารสนเทศนั่นคือ การให้ข่าว
ข่าวสารของเหตุการณ์ สภาพการณ์ในสังคม การแปลความหมายข่าวสารและเหตุการณ์ จึงจะนับเป็นแหล่งสารสนเทศในการเพิ่มพูนสติปัญญาให้กับคนในสังคม
อันจะนาไปสู่สังคมสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพทั้งด้านสติปัญญา
ร่างกาย และจิตใจ
1.2 หน้าที่ของสื่อมวลชนในการยกระดับความคาดหวังของบุคคล
สื่อมวลชนจะทำให้ประชาชนเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนเอง การรับข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิดใหม่ๆ
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลในสิ่งที่คิดว่าดีกว่าเดิม ส่งผลให้สมาชิกในสังคมปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ
พฤติกรรม ค่านิยม ทัศนคติและวิถีชีวิตตามความต้องการของตนเอง
1.3 หน้าที่ของสื่อมวลชนในการเสริมสร้างสถานภาพทางสังคมของบุคคล
โดยเฉพาะตัวบุคคลที่มีการเผยแพร่ชื่อเสียงทางสื่อมวลชน ประชาชนมักจะมีแนวโน้มมองเห็นความสำคัญของบุคคลนั้น
และบุคคลนั้นจะกลายเป็นแหล่งข้อมูลที่รู้และสามารถตอบได้ทุกเรื่อง
1.4 หน้าที่ของสื่อมวลชนในการสนองความต้องการทางด้านอารมณ์
ลักษณะของสมาชิกในสังคมใหญ่ลักษณะต่างคนต่างอยู่โดดเดี่ยวมากกว่าสังคมในชนบท การสื่อสารระหว่างบุคคลมีน้อย
ดังนั้นสื่อมวลชนมีหน้าที่ในการเติมเต็มทางด้านอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นความบันเทิง ความเพลิดเพลินทางอารมณ์
การผ่อนคลายความตึงเครียดในชีวิตประจำวัน
1.5 หน้าที่ของสื่อมวลชนในการโน้มน้าวชักจูงใจ การโน้มน้าวชักจูงใจให้บุคคลไปสู่เป้าหมาย
ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ให้บุคคลเกิดความมานะพยายามและตัดสินใจที่จะเลือกแนวทางที่จะนาไปสู่เป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
ให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติในสิ่งที่ดีกว่า
2. หน้าที่ของสื่อมวลชนในระดับสังคม สามารถแบ่งได้ดังนี้
2.1 หน้าที่ของสื่อมวลชนในการเสริมสร้างสังคม หน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคมเพื่อให้สมาชิกได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตน
ช่วยให้การดาเนินชีวิตมีประสิทธิภาพ เกิดจิตสานึกในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆ ในสังคม
ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจเพื่อประโยชน์ของสังคม นอกจากนี้แล้วสื่อมวลชนต้องมีหน้าที่ในการกระตุ้นเร้าให้สมาชิกในสังคมตัดสินใจเลือกแนวทางและพฤติกรรมที่ถูกต้องตามเป้าหมาย
เช่น โครงการรณรงค์เกี่ยวกับค่านิยม ปัญหาทางด้านสาธารณสุข การส่งเสริม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเป็นต้น
2.2 หน้าที่ของสื่อมวลชนในการเสริมสร้างระบบการเมือง สื่อมวลชนมีหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งในระบบการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นการให้ข่าว ข่าวสาร ความรู้ ทางการเมือง การจัดระเบียบวาระหรือการเสนอประเด็นปัญหาทางการเมืองที่ควรจะนามาถกเถียงอภิปราย
การเผยแพร่อุดมการณ์ การปลูกฝังความเชื่อทางการเมือง การพัฒนาประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยสร้างบรรยากาศกระตุ้นเร้า
ชักจูงใจประชาชน สื่อมวลชนจะเป็นตัวกลางระหว่างรัฐ รัฐบาลกับประชาชน เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นในการส่งผ่านปัญหา
นโยบาย แนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันตามระบบการปกครอง
2.3 หน้าที่ของสื่อมวลชนในการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจนี้หมายความถึงการจัดการ
การบริหารทรัพยากรบุคคล องค์การ ชุมชน ประเทศ ด้วยความประหยัดเพื่อก่อให้เกิดผลิตผลและความเจริญมั่นคงของประเทศ
(สมควร กวียะ, 2543) สื่อมวลชนมีหน้าในการเป็นตัวกลางที่เป็นแหล่งข้อมูล
แหล่งสารสนเทศในการช่วยค้นหา พัฒนา จัดเก็บ และเผยแพร่ข้อมูล การมีข้อมูลที่สมบูรณ์
ถูกต้อง ทันสมัย และเป็นสากล จะช่วยในการตัดสินใจวางนโยบาย แผนงานทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
ในทานองเดียวกันสื่อมวลชนจะเป็นผู้ช่วยให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และความร่วมมือจากประชาชนในการช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้า
ทั้งด้วยวิธีการทางโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ และการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในยุคสังคมข่าวสารจะทำให้มีการเร่งสร้างบุคลากรด้านข้อมูลข่าวสาร
ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจที่ใช้ข้อมูลข่าวสารเป็นหลักในการดาเนินงาน
2.4 หน้าที่ของสื่อมวลชนในการเสริมสร้างการศึกษา ด้วยศักยภาพของสื่อมวลชนในการส่งสารได้กว้างไกล
รวดเร็ว เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี สื่อมวลชนจึงอาจเป็นตัวสื่อหรือครู หรือเข้าไปผสมผสานในระบบการศึกษา
สาหรับการให้ความรู้ การศึกษา แก่ประชาชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน หรือการเรียนรู้ตามอัธยาศัยด้วยการแทรกซึมข่าวสาร
ข้อมูล ความรู้ต่างๆ จากสื่อมวลชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทวีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน ประชาชนจะได้รับข้อมูลข่าวสาร
ความรู้อยู่ทุกวันด้วยการซึมซับอย่างไม่รู้ตัว อันส่งผลให้คนในสังคมมีการเพิ่มพูนความรู้ในมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน
ช่วยสร้างให้สมาชิกในสังคมสามารถเรียนรู้ด้วยการชี้นาตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
2.5 หน้าที่ของสื่อมวลชนในการยกระดับวัฒนธรรมมวลชน ด้วยปัจจัยทางเทคโนโลยีดาวเทียมก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของโลก
วัฒนธรรมของโลกจะกลายเป็นวัฒนธรรมมวลชนอันจะหล่อหลอมความรู้สึกนึกคิดของคนส่วนใหญ่ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
แต่สื่อมวลชนมีหน้าที่ในการสะท้อน แสดงออก และอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติ ทั้งในระดับชาติ
ภูมิภาค และระดับท้องถิ่น และเป็นปากเป็นเสียงให้วัฒนธรรมของกลุ่มต่างๆ ในสังคม รวมทั้งช่วยกระตุ้นและส่งเสริมสติปัญญา
จินตนาการ ความต้องการ ความคิดสร้างสรรค์ด้วยรสนิยมอันดีมีสุนทรียภาพด้วย
2.6 หน้าที่ในการให้บริการสาธารณะ สื่อมวลชนส่วนใหญ่มีการดาเนินการด้านธุรกิจโดยมีผลกาไรเป็นเป้าหมายหลัก
สังคมจึงคาดหวังว่าสื่อมวลชนควรตอบแทนสังคมและชุมชนโดยสื่อมวลชนสามารถกระทาได้ในรูปแบบหลากหลาย
เช่น รายการทุกข์ชาวบ้านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 สีรายการร่วมด้วยช่วยกันของสถานีวิทยุกรมการรักษาดินแดน
ซึ่งประกาศว่าเป็นสถานีวิทยุชุมชน City Radio มีเนื้อหาหลักเพื่อช่วยเหลือชุมชนในทุกเรื่องที่ประชาชนร้องขอเข้ามา
คอลัมน์การสมัครงานในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นการบริการสาธารณะเพื่อตอบแทนสังคมทั้งสิ้น
บทบาทของสื่อมวลชน
บทบาท คือ พฤติกรรมที่คาดหวังสาหรับบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสถาบันว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร
บทบาทจึงเป็นการทาตามสิทธิ์และหน้าที่ที่ตนมี
1. สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ ด้วยศักยภาพของสื่อมวลชนแขนงต่างๆ
ทำให้สื่อมวลชนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศไม่ว่าจะเป็นระบบการปกครองแบบใด
สื่อมวลชนจึงเป็นสถาบันสังคมที่มีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศทั้งด้าน การเมือง
เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การศึกษา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การเกษตรและสาธารณสุข
ด้วยการให้ข่าวสารเพื่อให้ทราบถึงความจาเป็นในการเปลี่ยนแปลง การโน้มน้าวชักจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและวางนโยบายพัฒนาประเทศ
และการถ่ายทอดความรู้และทักษะเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงต่อไป
ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม
การเกษตรและสาธารณสุข
2. สื่อมวลชนมีบทบาทในการขัดเกลาทางสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังระเบียบวินัย
เพื่อปลูกฝังความมุ่งหวังหรือช่วยสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อสอนให้สมาชิกของสังคมรู้จักบทบาทและทัศนคติที่เหมาะสม
และเพื่อสอนให้สมาชิกมีทักษะและความชำนาญ
สื่อมวลชนเป็นสถาบันที่สำคัญในกระบวนการขัดเกลาทางสังคมด้วยการสอนบทบาท การสร้างค่านิยมและทัศนคติ
การกำหนดบรรทัดฐานของสังคม และการใช้ชีวิตให้กับสมาชิกของสังคม เพื่อให้สังคมมีคุณภาพต่อไป
3. สื่อมวลชนมีบทบาทในการสร้างประชามติด้วยการเผยแพร่ข่าวสารของรัฐบาล
องค์การ สถาบัน ให้ประชาชนได้รับทราบด้วยการจัดเนื้อหาสาระที่เหมาะสม สื่อมวลชนจะเป็นผู้เสนอประเด็นปัญหาต่อสังคม
และเปิดโอกาสให้กลุ่มประชาชนทุกกลุ่มเสนอความคิดเห็นและนาสารนั้นกลับไปสู่ รัฐบาล องค์การ
สถาบัน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และช่วยกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ลดความตึงเครียดของสังคม
อันจะส่งผลให้สมาชิกในสังคมสามารถดารงชีวิตอย่างสงบสุข (ธีรารักษ์
โพธิสุวรรณ, 2553)
การศึกษาเรื่องทัศนคติของนิสิตที่มีต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลต่าง
ๆ สู่สาธารณะชน ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่และบทบาทของสื่อมวลชน มาพิจารณาใช้เป็นแนวทางข้อมูลพื้นฐานประกอบและจะนามาใช้วิเคราะห์ช่วยในการอภิปรายผลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูล
ในปัจจุบันมีบทบาทหน้าที่อย่างไร และทำหน้าที่ครบถ้วนแล้วหรือไม่อย่างไร หรือมีบทบาทใดที่สื่อมวลชนที่อาจจะละเลยในการทำหน้าที่
และพึงควรปฏิบัติให้สมบูรณ์ครบถ้วน
แนวคิดเกี่ยวกับข่าว และประเด็นข่าว
ข่าว คือ การบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสังคม โดยเฉพาะเมื่อเหตุการณ์นั้นมีผลกระทบต่อสังคม
การเมือง สาธารณชน ข่าวจึงมีไว้เพื่อตอบคาถามสังคม ว่ามีอะไรเกิดขึ้น ใครมีส่วนเกี่ยวข้อง
เกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร ทาไมจึงเกิด และมีผลกระทบอย่างไร
(Berger, 1990 : 121)
ข่าว คือ การรายงานบางสิ่งบางอย่างที่ใหม่ และเป็นที่น่าสนใจของผู้รับสาร
โดยมีคุณค่าอยู่ที่หลายปัจจัย เช่น สถานการณ์ที่เกิดเหตุมีความสัมพันธ์กับผู้รับสาร
ผลกระทบที่เกิดขึ้นในวงกว้าง จุดเด่นของเหตุการณ์ เป็นข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนต้องการอย่างเร่งด่วน
สารสนเทศใหม่ๆที่มีผลกระทบต่อสังคม ข่าวไม่มีความคงทนเมื่อผู้คนเข้าใจแล้วข่าวนั้นก็หมดความสำคัญและจะกลายเป็นประวัติศาสตร์(พัชนี เชยจรรยา และคณะ, 2538 : 88) ในแต่ละวันมีข่าวจำนวนมากที่หลั่งไหลมายังโต๊ะของบรรณาธิการข่าว
แต่เนื่องจากเวลาและเนื้อที่อันจากัด จึงเป็นไปได้ยากที่จะนำเสนอข่าวนั้นทั้งหมด ดังนั้นผู้ที่ทาการคัดเลือกข่าวที่เหมาะสมกับการตีพิมพ์
จึงต้องทางานหนักในการคัดเลือกข่าวที่ดีที่สุด และมีประโยชน์กับผู้อ่านมากที่สุด ซึ่งเกณฑ์ในการคัดเลือกข่าวไม่ได้มีตายตัวแน่นอน
แต่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และผู้มีวิจารณญาณของผู้มีอำนาจในการเลือก
การประเมินคุณค่าข่าว
(New Judgment)
รองศาสตราจารย์ดรุณี หิรัญรักษ์ (อ้างถึงใน ปรุณรัตน์ พิงคานนท์,
2548 : 6-7 ) กล่าวว่า เมื่อหนังสือพิมพ์ตัดสินใจพิมพ์ข่าวเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
จะต้องประเมินคุณค่าข่าวของเหตุการณ์นั้นว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยใช้หลักพื้นฐานในการประเมินคุณค่าข่าว
3 ประการดังต่อไปนี้
1. ข้อเท็จจริง (Fact) สื่อมวลชนจะต้องพยายามนาข้อเท็จจริงมานำเสนอต่อผู้รับสาร
ต้องระลึกเสมอว่า ข่าวจะต้องมีที่มาจากข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ต่างๆดังนี้ ข่าวจะต้องมาจากสถานการณ์(Situation)
เหตุการณ์(Occurrence) และความคิด(Thoughts)
ข้อคิดเห็น(Ideas) ที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่สิ่งที่เขียนขึ้นตามความรู้สึกนึกคิดของผู้สื่อข่าวเอง
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด อาจไม่ได้นามาเสนอเป็นข่าว เนื่องจากประเด็นบางประเด็น
รายละเอียดปลีกย่อยบางข้อ มีความสำคัญค่อนข้างน้อยและขาดความน่าสนใจ ซึ่งไม่จาเป็นต้องนำเสนอข่าวก็เป็นได้
2. ข่าวต้องเป็นสิ่งที่น่าสนใจ (News must be
interesting) โดยใช้หลักการประเมินความน่าสนใจดังนี้ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด
อาจจะเป็นสิ่งที่น่าสนใจ หรือไม่น่าสนใจสาหรับการนำเสนอเป็นข่าวก็ได้ระดับความน่าสนใจของข้อเท็จจริง
มักจะแตกต่างกันออกไป หากข้อเท็จจริงใดมีความน่าสนใจมาก ย่อมมีคุณค่าข่าวสูงไปด้วย
3. ข่าวจะต้องเป็นสิ่งที่น่าสนใจสาหรับคนหมู่มาก ข่าวมักเป็นเรื่องที่น่าสนใจของประชาชนในวงกว้าง
อาจจะเป็นระดับจังหวัด ภูมิภาค ประเทศ หรือนานาประเทศ เป็นต้น
จากเนื้อหาข้างต้น พอจะอธิบายได้คร่าวๆว่า ข่าวคือเหตุการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว
และได้รับความสนใจ หากไม่น่าสนใจข้อเท็จจริงดังกล่าวก็จะไม่ได้รับการรายงานให้ผู้อ่านทราบ
ในทางตรงกันข้าม หากสื่อมวลชนพิจารณาเห็นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจก่อเกิดความน่าสนใจของเหตุการณ์ลำดับต่อมา
ก็จะนำเสนอเป็นข่าวต่อไป
องค์ประกอบข่าว
(News Elements)
นอกจากหลักพื้นฐานในการประเมินคุณค่าข่าวเบื้องต้น รองศาสตราจารย์มาลี
บุญศิริพันธ์ (2522 : 26) กล่าวถึง องค์ประกอบของข่าวที่มีความสำคัญต่อการคัดเลือกข่าว
และจัดลำดับความสำคัญประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. ความสด (Immediacy) ข่าวต้องได้รับการรายงานอย่างรวดเร็ว
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถ้าได้รับเสนอต่อผู้อ่านทันที และทันเหตุการณ์ย่อมถือว่ามีคุณค่าด้านความสดสูง
2. ความถูกต้องกับกาลเทศะ (Timeliness) ข่าวที่มีคุณค่าต้องได้รับการรายงานให้ทันเวลาและตรงกับความสนใจของประชาชน
3. ความใกล้ชิด (Proximity) โดยปกติคนทั่วไปมักให้ความสำคัญกับคนใกล้ตัวเสมอ
เรื่องที่มีความใกล้ชิด และมีผลกระทบต่อผู้อ่านโดยตรงจะมีคุณค่าสูงเป็นพิเศษ
4. ความเด่น (Prominence) ข่าวส่วนมากมักมีองค์ประกอบของความเด่นอยู่ด้วยเสมอ
เช่น บุคคลเด่น สถานที่เด่น เหตุการณ์เด่น เป็นต้น
5. ความขัดแย้ง (Conflict) ข่าวที่ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์
มักเป็นเหตุการณ์ที่มีเรื่องความขัดแย้งเป็นส่วนมาก ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางความคิด
หรือด้านผลประโยชน์ หรือการแข่งขัน โดยปกติวิสัยมนุษย์มักชอบสนใจต่อเรื่องที่ไม่ลงรอยกัน
และอยากทราบข้อยุติจากความขัดแย้งนั้น
6. ความผิดปกติ (Oddity) ความผิดปกติจากธรรมชาติ
แปลกจากธรรมดามักได้รับความสนใจมาก ยิ่งแปลกมากก็ยิ่งมีคุณค่ามากเช่นกัน
7. ความกระทบกระเทือนอารมณ์ (Human interest) เป็นเหตุการณ์ที่มีองค์ประกอบของความกระทบกระเทือนอารมณ์ของผู้อ่าน ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมกับบุคคลในเหตุการณ์ทั้งในด้านบวกและด้านลบ
คือ เห็นใจ ดีใจ สะใจ ฯลฯ
8. ความมีเงื่อนงา (Suspense) หมายถึง
ข่าวที่มีเงือนงา สลับซับซ้อน ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัด เช่น การคอรัปชั่น ทำให้คนอยากรู้อยากติดตาม
โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อส่วนรวมจะมีคุณค่าแก่การนำเสนอมากกว่า
9. ผลกระทบกระเทือน (Consequence) คือ เหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก เกิดความสูญเสีย กระทบต่อชีวิต
ความรู้สึกมวลชน เป็นต้น
10. ความก้าวหน้า (Progress) มนุษย์มีความพยายามดิ้นรนที่จะเอาชนะธรรมชาติอยู่เสมอ
มนุษย์จึงได้ค้นคว้าทดลองหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ บางครั้งทำให้ประชาชนทั่วโลกสนใจจึงถือว่ามีคุณค่าทางข่าวสูงเช่นกัน
11. เพศ (Sex) ธรรมชาติของมนุษย์มักมีความสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับเพศ
ทั้งเพศเดียวกัน และต่างเพศ หรือความผิดปกติทางเพศ รวมถึงสิทธิสตรี การประกวดนางงาม
36
ประเด็นข่าว
ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธ์ และอังธิดา ลิมป์ปัทมปาณี ได้อธิบายถึงแนวคิดของความหมายของการจับประเด็นข่าว
ประเภทของประเด็นข่าว การจับประเด็นข่าว และปัจจัยที่มีผลต่อการคัดสรรประเด็นข่าว โดยสรุปได้ดังนี้ (ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธ์ และคณะ, 2547 : 215 - 222)
1. ความหมายของประเด็นข่าว
ประเด็นข่าว คือ ส่วนสำคัญที่สุดของเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่มีแง่มุม
มีความน่าสนใจอันจะนาไปสู่การรายงานข่าวสาธารณชน ซึ่งนักวิชาชีพหมายถึง ประเด็นข่าว
หรือ Point of View หรือ News Peg การรายงานข่าวแต่ละข่าว
หรือการสื่อข่าวแต่ละเหตุการณ์มีข้อมูลข่าวสารเป็นจำนวนมาก จาเป็นต้องคัดเลือกเหตุการณ์หรือคัดเลือกแง่มุม
การจะได้ประเด็นข่าวที่ดี ต้องผ่านกระบวนการคิดและการจับประเด็น
ความหมายของประเด็นข่าว จึงหมายถึง แง่มุมต่างๆของเหตุการณ์ที่มีความสำคัญที่สุดของเหตุการณ์เป็นแง่มุมของเหตุการณ์ที่ผู้สื่อข่าวตัดสินว่าสำคัญที่สุดในการนำเสนอไปยังประชาชนการคัดสรรแง่มุมของเหตุการณ์ออกมาเพื่อนำเสนอเป็นประเด็นข่าวนั้น
ผู้สื่อข่าวต้องพิจารณาว่าในสถานการณ์ เหตุการณ์ หรือการแถลงเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นสิ่งใดมีความสำคัญโดดเด่นที่สุด
โดยอาจพิจารณาจากเกณฑ์องค์ประกอบข่าว ประกอบกับพิจารณาเปรียบเทียบกับช่วงเวลา หรือสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
ในเชิงปฏิบัติงานข่าว ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นเป็นภาพชัดเจน หลังจากที่คัดสรรเหตุการณ์หรือสถานการณ์เป็นข่าวได้แล้ว
โดยพิจารณาองค์ประกอบข่าวและคุณลักษณะของข่าวแล้ว ผู้สื่อข่าวจะเรียงข่าวไว้บนโต๊ะ
ข่าวนั้นจะแบ่งเป็นห้องต่างๆ ซึ่งเรียกห้องข่าวเหล่านั้นว่า ประเด็น แล้วแต่ผู้สื่อข่าวหรือบรรณาธิการข่าวจะเลือกหยิบ
ห้องข่าว อะไรมานำเสนอก่อน
หากจะถามว่าทาไมต้องมีประเด็นข่าว หรือประเด็นข่าวมีความสำคัญอย่างไร ประเด็นข่าวมีประโยชน์ต่อการทางานของผู้สื่อข่าวหรือบรรณาธิการ
ในการลำดับความสำคัญของข่าว ในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการ รวมทั้งทำให้ผู้รับสารเข้าใจเรื่องราวหรือเหตุการณ์ได้ง่ายเรื่องที่เกิดขึ้นมีแง่มุมใดที่มีความสำคัญที่สุดประชาชนควรได้รับรู้ความสำคัญดังกล่าวควรยึดเอาประชาชนผู้รับสารเป็นสำคัญ
โดยผู้สื่อข่าวต้องมีมุมพิจารณาเลือกสรรแง่มุมของข่าวนั้นๆ ออกมา หรือผู้สื่อข่าวมักเรียกว่า
จับประเด็น เพื่อนาไปสู่การตรวจสอบ การสัมภาษณ์ การค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมก่อนนาไปสู่ข้อสรุป
เพื่อรายงานหรือนำเสนอข่าวนั้น นี่คือความสำคัญของประเด็นข่าว อย่างไรก็ตามประเด็นข่าวอาจรวมไปถึงแง่มุมของข่าวหรือเหตุการณ์ที่ยังมีเงื่อนงา
หรือยังไม่ถูกทำให้กระจ่างชัด ซึ่งผู้สื่อข่าวสามารถหยิบแง่มุมที่ยังไม่ชัดเจนจากเหตุการณ์เหล่านั้นมากำหนดเป็นประเด็นในการทาข่าว
หรือสมมติฐาน ข้อสงสัย เพื่อสืบค้น หรือแสวงหาคาตอบ นาสรุปเพื่อนำเสนอต่อไป การตั้งประเด็นในการทาข่าวนี้มีลักษณะเดียวกับการตั้งประเด็นในการสืบสวนสอบสวนของตำรวจในการติดตามคดี
แต่ผู้สื่อข่าวสามารถตั้งประเด็นข่าวขึ้นจากการศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ ในเบื้องต้น หรือจากประสบการณ์ทางานของตน
2. ประเภทของประเด็นข่าว
ผู้สื่อข่าวต้องมี จมูกข่าวที่ไวต่อการรับรู้ข่าว และอะไรไม่เป็นข่าว การหยิบยกแง่มุมต่างๆ
ของเรื่องราวที่เกิดขึ้นก็ดี หรือการสังเกต ตั้งข้อสงสัยจากสิ่งผิดปกติ นาไปสู่การค้นหาคาตอบที่แท้จริงก็ดีย่อมเป็นประเด็นข่าว
ประเด็นข่าวอาจตามได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากการตั้งสมมติฐานของผู้สื่อข่าว และจากสภาพทั่วไปที่ดารงอยู่
2.1 ประเด็นข่าวตามเหตุการณ์ คือแง่มุมที่เกิดจากการเลือกสรรของผู้สื่อข่าวที่พิจารณาจากเหตุการณ์สถานการณ์
หรือการแถลงข่าวที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น โดยผู้สื่อข่าวต้องตรวจสอบหรือพิจารณาอย่างรอบด้านจากเหตุการณ์
ข้อมูล หลักฐาน ตลอดจนการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ แล้วพิจารณาตามหลักองค์ประกอบข่าวว่าเป็นไปตามหลักใดบ้าง
หากเป็นเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ ประเด็นข่าวมักมุ่งเน้นไปที่ความคืบหน้าของเหตุการณ์
โดยผู้สื่อข่าวพิจารณาความคืบหน้าของเหตุการณ์เป็นอย่างไร และในความคืบหน้านั้นๆ เข้าหลักองค์ประกอบหรือไม่
หากมีลักษณะเข้ากับองค์ประกอบข่าวที่สำคัญมีคุณค่าเพียงพอในการรายงาน
2.2 ประเด็นข่าวจากสมมติฐาน คือแง่มุมที่ผู้สื่อข่าวตั้งขึ้นจากสมมติฐานของตนเอง
หรือตั้งขึ้นจากกองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
เป็นแง่มุมที่ต่างไปจากการรับรู้หรือการรายงานข่าวโดยทั่วๆ ไป ส่วนมากประเด็นข่าวในด้านนี้มักเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ทำให้สถานการณ์ต่างๆ
เกิดขึ้นหรือผลกระทบที่จะติดตามมาจากเหตุการณ์หรือนโยบายต่างๆ ในเรื่องนั้น เป็นการคาดคะเนเพื่อนาไปสู่การค้นหาข้อมูลหลักฐาน
หรือการสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติมในแง่มุมต่างๆ มากกว่าการรายงานข่าวไปตามสิ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้น
2.3 ประเด็นข่าวจากสภาพทั่วไป คือแง่มุมที่ผู้สื่อข่าวสังเกตพบจากเหตุการณ์ปกติทั่วๆไปที่เกิดขึ้นและดารงอยู่เป็นประจาในสังคมหนึ่ง
คนที่ใกล้ชิดเหตุการณ์นั้นอาจมองไม่เห็นเหตุการณ์นั้น เพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติเห็นประจาทุกวัน
เช่น ผู้สื่อข่าวสังเกตว่าพ่อค้าแม่ค้าในตลาดสดดูรายงานหุ้นจากโทรทัศน์ตลอดเวลาและทราบภายหลังว่า
เป็นการเล่นการพนันโดยอาศัยเลขท้ายสองตัวจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ปิดตลาดในช่วงกลางวันและเย็น
ซึ่งอาจเป็นเรื่องธรรมดาในความคิดในสังคมนั้นๆ แต่เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ผู้สื่อข่าวได้ประเด็นข่าวแล้วนำเสนอเหตุการณ์ที่คนทั่วไปมองเห็นปกติเป็นข่าว
เป็นต้น
การคิดและจับประเด็นข่าว
การคิดและจับประเด็นข่าวต่อไปนี้ จะกล่าวถึงประเด็นข่าว 3 ลักษณะ คือ ประเด็นข่าวจากเหตุการณ์ ประเด็นข่าวจากสมมติฐาน และประเด็นข่าวจากสภาพทั่วไป
3.1 ประเด็นข่าวจากเหตุการณ์โดยอาศัยองค์ประกอบข่าวในการพิจารณา
การคิดประเด็นข่าวจากเหตุการณ์โดยอาศัยองค์ประกอบข่าว โดยส่วนใหญ่ใช้องค์ประกอบข่าวหลักๆ
คือ ความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ผลกระทบ ความโดดเด่น ความใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม อาจจะมีองค์ประกอบอื่นๆ
ที่มาพิจารณานอกเหนือจากนี้ได้
3.1.1 ความรวดเร็วทันเหตุการณ์ การเสนอข่าวที่มีองค์ประกอบด้านความรวดเร็ว
เป็นการสะท้อนความต้องการของมนุษย์ ที่ต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเร็วที่สุดเท่าที่จะทาได้
โดยเฉพาะข่าวสำคัญที่คาดว่าผู้คนต้องการรับรู้มาก สถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ต้องติดตั้งอุปกรณ์เพื่อถ่ายทอดสดให้ผู้ชมหรือผู้ฟังได้รับทราบทันทีพร้อมกันทั่วโลก
สำนักข่าวแต่ละแห่งต่างช่วงชิงการนำเสนอข่าวกว่าคู่แข่งขัน เพราะจะได้รับความเชื่อถือจากผู้รับสารในเรื่องการงานอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนั้น กรณีที่สำนักข่าวโดยเฉพาะสำนักข่าวต่างประเทศมีกลุ่มผู้รับข่าวสารที่เป็น
ลูกค้าประจาส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจที่ต้องการข้อมูลข่าวสารในการตัดสินใจก่อนลงทุนธุรกิจ
การแข่งขันช่วงชิงความเร็วอาจจะต้องนับกันเป็นวินาที
3.1.2 ผลกระทบปัจจัยผลกระทบนี้เป็นผลกระทบต่อผู้คนหรือสาธารณะชนในวงกว้างผลกระทบอาจเป็นผลกระทบในทางลบและทางบวก
หรือมีทั้งกระทบบวกและผลกระทบลบเวลาเดียวกัน อีกทั้งเป็นผลกระทบต่อความรู้สึก ทัศนคติ
หรือพฤติกรรมต่อสาธารณะชน ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งส่วนที่คนส่วนใหญ่จาเป็นต้องรู้
มีความสำคัญต่อการดาเนินชีวิตและการตัดสินใจ ผู้สื่อข่าวหรือบรรณาธิการพิจารณาแล้วว่ามีคุณค่าควรแก่การเป็นประเด็นข่าวเพื่อนาสู่สาธารณชน
ผลกระทบทางลบของข่าว ตัวอย่างเช่น ข่าวราคาน้ามันขึ้น รัฐบาลประกาศขึ้นภาษี
ย่อม
เกิดผลกระทบให้ร้านค้าขึ้นราคาสินค้า
ข่าวธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินประสบปัญหาถึงขั้นต้องปิดกิจการ ทำให้ผู้คนหลั่งไหลกันไปถอนเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ตนฝากเนื่องจากเกรงว่าจะถอนเงินของตนไม่ได้
ข่าวรัฐบาลประกาศค่าเงินบาทลอยตัว เกิดความโกลาหลทางธุรกิจ หลายบริษัทยกเลิกการสั่งสินค้าต้องกำหนดการจ่ายเงินเป็นสกุลดอลลาร์ล่วงหน้าเพื่อมิต้องจ่ายเงินบาทมูลค่าสูงกว่าเดิม
ผลกระทบทางบวกของข่าว เช่น ข่าวการผลักดันนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า ข่าวการ
ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือลดภาษีนิติบุคคล
ข่าวการขึ้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการ ฯลฯ นอกจากนี้ผลกระทบจากข่าวที่มีต่อสาธารณชนบางข่าวอาจจะมีทั้งส่วนผลกระทบทางบวกและทางลบในเวลาเดียวกัน
ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทของสังคม ความรู้สึกของผู้คน และผลประโยชน์ที่ผู้คนเกี่ยวข้องประเด็นข่าวลักษณะนี้มักมีความซับซ้อน
ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบ เช่น ข่าวการขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ย จะมีทั้งผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ในฐานะผู้ฝากเงินและผู้กู้ยืมเงิน
ดอกเบี้ยยังเป็นดัชนีชี้วัดถึงภาวะเศรษฐกิจอีกด้วย
นอกจากนี้
ประเด็นข่าวบางข่าวมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อชีวิตของคน แต่สื่อมวลชนไม่ สามารถนำเสนอเหตุการณ์เหล่านั้นได้
เนื่องจากเหตุผลบางประการ สื่อมวลชนอาจมีส่วนได้ส่วนเสียกับข่าวเรื่องนั้นสื่อมวลชนเกรงว่าจะมีผลกระทบในวงกว้างและไม่สามารถควบคุมได้
สื่อมวลชนมีความใกล้ชิดมีความสัมพันธ์กับแหล่งข่าว หรือสื่อมวลชนอาจไม่ให้ความสนใจ
ไม่เข้าใจ ไม่เชื่อมโยงเหตุการณ์ จึงไม่นำเสนอ เช่นรัฐบาลอเมริกันยื่นบันทึกต่อสหประชาชาติว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
เหตุเพราะใกล้ชิดประเทศเมียนมาร์หรือพม่ามากเกินไป หรือกรณีโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย ซึ่งควรจะเป็นข่าวแต่ไม่นำเสนอเป็นข่าว เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ประเด็นข่าวที่อ่อนไหวหรือมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อชีวิตคน จาเป็นต้องให้ความ
ใส่ใจอย่างยิ่ง
(handle with care)ต้องพิจารณาว่านำเสนอแล้วเกิดผลกระทบอะไร ไม่นำเสนอแล้วจะเกิดผลกระทบอะไร
มีความระมัดระวังในการนำเสนอข่าว หรือมีวิธีการนำเสนอข่าวลักษณะอ่อนไหวเหล่านี้อย่างไร
เพื่อให้เป็นความสว่างทางปัญญาของคน
3.1.3 ความเด่น หนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น มักใช้องค์ประกอบนี้เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาการรายงานข่าว
เพราะเชื่อว่าความเคลื่อนไหวของบุคคลสำคัญหรือองค์กรที่เด่นมักได้รับความสนใจเสมอ เช่น
ผู้นาประเทศที่ป่วยเป็นไข้หวัด ขณะที่เป็นไข้หวัดเป็นเรื่องธรรมดามากสาหรับคนทั่วไป
ข่าวศิลปินนักแสดงชื่อดังแต่งงานใหม่ หรือหย่า หรือมีลูก ทั้งที่ปกติเป็นเรื่องเกิดขึ้นในสังคมอย่างดาษดื่น
ความสำคัญหรือความเด่นขององค์กร สื่อมวลชนมักใช้เป็นจุดขายหรือดึงดูดความสนใจผู้อ่าน
ข่าวอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิตหลายคน ถ้ามีบุคคลสำคัญหรือตำแหน่งอยู่ด้วย ชื่อหรือตำแหน่งนั้นก็อาจจะถูกพาดหัวข่าวใหญ่
ข่าวการขนยาเสพติดทางอากาศ อาจเป็นเพียงข่าวเล็กๆ ถ้าผู้ถูกจับได้เป็นบุคคลธรรมดา แต่ถ้าผู้ถูกจับกุมเป็นพนักงานบนเครื่องบินของสายการบินแห่งชาติ
ซึ่งเป็นองค์กรมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
3.1.4 ความใกล้ชิด ผู้อ่านจะให้ความสนใจในเรื่องใกล้ตัวหรือรู้สึกใกล้ตัวกับเหตุการณ์เช่นผู้อ่านให้ความสนใจเหตุการณ์ระเบิดในโรงแรมแห่งหนึ่งซึ่งเคยไปใช้บริการพักอยู่เมือเดือนที่แล้ว
หรือข่าวญาติพี่น้อง เพื่อนสนิทมิตรสหายของผู้อ่านประสบอุบัติเหตุ ข่าวนักศึกษาในสถาบันเดียวกับผู้อ่านขายบริการทางเพศหรือยกพวกไปตีกับสถาบันอื่น
ผู้อ่านที่มีความผูกพันเชิงวัฒนธรรมและสังคมของตนย่อมให้ความสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมของตนเอง
เช่น ผู้อ่านที่อยู่ในแถบตะวันตก ย่อมสนใจเรื่องราวที่เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของเขามากกว่าที่จะสนใจเรื่องของคนเอเชีย
หรืออีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ สำนักข่าวบีบีซี (British Broadcasting
Corporation, BBC)
แห่งภูมิภาคเอเชียของประเทศอังกฤษมักให้ความสนใจข่าวที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดียและประเทศเมียนมาร์มากกว่าประเทศไทย
เพราะทั้งสองประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ผู้บริหารสถานีวิทยุบีบีซีได้ยืนยันข้อเท็จจริงเหล่านี้
หนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนมักนาความใกล้ชิดเชิงความรู้สึกมาเป็นจุดพิจารณาในการนำเสนอ
เช่น ข่าวเครื่องบินตก ซึ่งปกติอาจจะเป็นข่าวเล็กๆ แต่หากมีคนไทยเป็นผู้โดยสารอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วยจะกลายเป็นข่าวใหญ่
ทั้งที่คนไทยดังกล่าวไม่ได้เป็นผู้มีชื่อเสียงหรือไม่ได้มีความสัมพันธ์ใดๆ กับผู้อ่าน
สื่อมวลชนจะคาดว่า เมื่อมีคนไทยในเครื่องบินจะมีความสนใจจากผู้อ่าน เพราะอย่างน้อยผู้อ่านจะมีความรู้สึกร่วมว่าเป็นคนชาติเดียวกัน
3.2 ประเด็นข่าวจากสมมติฐาน การตั้งประเด็นข่าวจากสมมติฐานของผู้สื่อข่าวต้องเกิดขึ้นจากของตัวผู้สื่อข่าวเอง
ที่จะเข้าใจภาพกว้างของโครงสร้างทางสังคม และเชิงลึกในแต่ละสาขา จึงสามารถมองเห็นแง่มุมในเหตุการณ์ต่างๆ
ที่เกิดขึ้นได้ เป็นการคาดคะเนเพื่อนาไปสู่การค้นหาข้อมูลหลักฐาน หรือการสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติมในแง่มุมต่างๆ
มากกว่าการรายงานข่าวไปตามสิ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้น หรือที่เรียกว่า การรายงานข่าวเชิงสืบสวน(Investigative
Reporting)หรือรายงานข่าวเชิงตรวจสอบ การรายงานเชิงสืบสวน มีระดับความยากง่ายแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนเรื่องราวหรือเหตุการณ์ และประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ ความรู้เท่าทันของผู้สื่อข่าว
3.3 ประเด็นข่าวจากสภาพทั่วไป การตั้งประเด็นข่าวจากสภาพทั่วไป
ต้องอาศัยการสังเกตของผู้สื่อข่าวและไม่ละเลยต่อเบาะแสข่าว รวมทั้งการมีความคิดสร้างสรรค์
ที่มองหาแง่มุมต่างจากผู้อื่น ดังที่กล่าวไว้ตอนต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการคัดสรรประเด็นข่าว
ผู้สื่อข่าวในฐานะผู้เฝ้าประตูข่าวสาร นับเป็นตัวกลางที่สำคัญในการเลือกสรรแง่มุมของเหตุการณ์ต่างๆ
จากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การคัดสรรประเด่นข่าวจึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของผู้สื่อข่าวในการนำเสนอข่าว
ทั้งนี้การเลือกประเด่นข่าวมีปัจจัยสำคัญในการนำเสนอ แผนภาพข้างล่างนี้ แสดงให้เห็นว่าความจริงของสังคมที่มีข้อเท็จจริงต่างๆ
เกิดขึ้นมากมาย แต่ปัจจัยแวดล้อมและปัจจัยภายในบุคคลของผู้สื่อข่าวหรือบรรณาธิการข่าว
เป็นตัวกำหนดให้คัดสรรประเด็นข่าวต่างๆกัน ผู้สื่อข่าวหรือบรรณาธิการใช้ดุลพินิจในฐานะเป็นผู้กลั่นกรองข่าวสาร(Agenda
setting) จากคุณค่าข่าวที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมีปัจจัยที่มีผลต่อการคัดสรรประเด็นข่าว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวผู้คัดสรร ข่าว ดังนี้
คุณสมบัติพื้นฐานของบุคคล
ได้แก่
1. ความรู้ ผู้สื่อข่าวจาเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจเรื่องราวในสังคม
โดยเฉพาะงานข่าวในสายที่ตนปฏิบัติอยู่ ทั้งในเชิงกว้างและในเชิงลึก เมื่อรู้โครงสร้างและรายระเอียดย่อมทำให้มองเห็นว่าสิ่งใดผิดปกติไปจากที่ควรเป็น
ซึ่งสิ่งผิดปกติจากบรรทัดฐานเหล่านั้นมักเป็นประเด็นข่าว ความรู้จึงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการคัดสรรประเด็นข่าว
เช่น รู้ขั้นตอนของการออกกฎหมายใหม่ นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวควรมีความรู้หรือศึกษาด้านวารสารศาสตร์โดยเฉพาะ
ทำให้เข้าใจกระบวนการทางานในสายงานข่าวมากขึ้น
2. ความคิดสร้างสรรค์ ผู้สื่อข่าวหรือบรรณาธิการมีมุมมองแตกต่างจากผู้อื่น
คิดทบทวน คิดในแง่มุมใหม่ หรือที่เรียกว่าความคิดสร้างสรรค์ รู้จักสังเกตเหตุการณ์หรือสถานการณ์
มองเรื่องราวอย่างรอบด้านมีเหตุมีผล ทำให้พิจารณาเห็นว่ายังมีแง่มุมอื่นของเหตุการณ์ที่ยังไม่ได้นำเสนออีกมากซึ่งหมายถึงการรับรู้ข่าวสูง
(Sense of News) หรือการมีจมูกข่าว(Nose for News)ไวต่อการรู้ว่าเป็นประเด็นข่าว
3. ความเป็นนักวิชาชีพ ผู้สื่อข่าวหรือบรรณาธิการที่ได้รับการฝึกฝนการคิดและทักษะเชิงวิชาชีพ
ได้รับการศึกษาที่ต่างกัน รวมทั้งรู้สานึกในอาชีพที่ต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นและความรับผิดชอบต่อสังคม
ทำให้ความสามารถในการจับประเด็นต่างกัน
4. ความสนใจในตัว ผู้สื่อข่าวที่ทำหน้าที่รักษาประตูข่าวสาร
คัดเลือกข่าว แต่ละคนมีความสนใจพิเศษเฉพาะตัว พิจารณาได้ 2 กรณี
คือความสนใจภายใน เช่น ความประทับใจหรือพึงพอใจ บุคลิกภาพและความสนใจจากภายนอก เช่น
เหตุการณ์มีความไม่โปร่งใส มีเงื่อนงา หรือมีความผิดปกติ
ปัจจัยแวดล้อม
ได้แก่
1. การแข่งขันกันเสนอข่าวกับสื่ออื่น การแข่งขันกับสื่อประเภทเดียวกัน
และสื่อต่างประเภท เป็นปัจจัยกดดันอย่างหนึ่ง ทำให้ผู้สื่อข่าวต้องแสวงหาหรือคิดคิดประเด็นที่ต่างไปจากกระแสข่าวในขณะนั้น
เพื่อนำเสนอต่อกลุ่มผู้รับสาร การแข่งขันกับสื่ออื่นเพื่อให้ได้ประเด็นที่ดี ไม่เพียงแต่หมายถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่
หรือการนำเสนอข่าวต่อผู้รับสาร ยังหมายถึงในเชิงธุรกิจที่ทำให้ขยายกลุ่มผู้รับสารให้กว้างขวางขึ้น
หันมาสนใจข่าวที่มีประเด็นคมหรือมีแง่มุมสำคัญที่น่าสนใจ
2. นโยบายองค์กร สานักข่าวแต่ละแห่งกำหนดนโยบายในการนำเสนอข่าว
หรือให้เว้นการเสนอข่าว ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการกำหนดแนวทางการประเมินคุณค่าข่าว และการจัดลำดับความสำคัญของข่าว
3. บรรยากาศการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ช่วงเวลาที่รัฐบาลมีนโยบายเปิดกว้าง
และให้เสรีภาพการเสนอข่าว และความคิดเห็น สื่อมวลชนสามารถใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
และการแสวงหาข้อมูลอย่างเต็มที่ ย่อมทำให้สื่อมวลชนมีโอกาสคิดประเด็นและการนำเสนอข่าวในแง่มุมต่างๆ
รวมทั้งการมีกฎหมาย กฎระเบียบที่สนับสนุนในการใช้สิทธิแสวงหาข่าวสารย่อมเกิดประโยชน์ต่อการนำเสนอข่าว
นอกจากคุณสมบัติข้างต้นที่ผู้สื่อข่าว ควรมีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการคิดและจับประเด็นข่าวแล้ว
ผู้สื่อข่าวควรมีคุณสมบัติพิเศษอีก คือ
1. จมูกไวต่อข่าว โดยมีความในการมอง และวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ
ว่าเรื่องใดสมควรเป็นข่าว และเรื่องใด สถานการณ์ใดมีคุณค่าข่าว
2. มีความรู้เชิงโครงสร้าง และเชิงลึก ผู้สื่อข่าวหรือบรรณาธิการต้องมีความรู้ทั้งเศรษฐกิจ
การเมือง และสังคม เพราะหากไม่เห็นภาพกว้างโครงสร้างทางสังคม ก็จะไม่สามารถมองแง่มุมเหตุการณ์ได้
3. มีความคิดสร้างสรรค์ ผู้สื่อข่าวต้องมองมุมกลับ หรือมุมแตกต่าง
ประเด็นข่าวที่แตกต่าง เพิ่มคุณค่าข่าวนำเสนอให้คนในสังคมได้ตระหนักคิดได้
4. มีจิตสานึกทางวิชาชีพ ควรรู้สึกนึกเสมอว่าเรื่องใดเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อประชาชน
เรื่องใดมีผลกระทบต่อประชาชน เรื่องใดเป็นภัยต่อประชาชน ต้องบอกกล่าวก่อนจะเกิดความเสียหายได้
จากแนวคิดเรื่องประเด็นข่าวข้างต้น สื่อให้เห็นว่า ประเด็นข่าวนั้นมีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของผู้สื่อข่าว
เพราะการจับประเด็นข่าวที่มีสาระสำคัญ มีความน่าสนใจ
จะทำให้ผู้รับสารสามารถเข้าใจเรื่องราวหรือเหตุการณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
แนวคิดและทฤษฎีการกำหนดวาระข่าวสาร (Agenda Setting Theory)
ทฤษฎีการกำหนดวาระข่าวสาร (Agenda
Setting Theory) เป็นทฤษฎีสื่อสารมวลชนซึ่งอยู่ในยุคที่เรียก
Emergence of Moderate effects อันเป็นยุคที่ 3 ซึ่งเชื่อว่าสื่อมีอิทธิพลในระดับปานกลาง หมายความว่า สื่อทำให้คนพูดถึงในสิ่งที่สื่อกาลังเสนอได้
แต่ไม่ได้หมายความว่าคนจะเชื่อในสิ่งที่สื่อพูดเสียทันที ซึ่งก่อนหน้านั้นในยุคแรกมีความเชื่อว่า
สื่อมีพลังอันมหาศาล (ค.ศ.1920-1960)
ดังเช่น ทฤษฎีกระสุนปืน (Magic Bullet Theory) ที่เชื่อว่าสื่อเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างได้ และในยุคที่สองที่เริ่มหันมาเชื่อว่าสื่อไม่มีพลังอานาจอย่างที่เคยคิดแต่ทว่ามีผลกระทบอันจากัดเท่านั้น
ประมาณ (ค.ศ.1960-1980) เช่น ทฤษฎี Selective Influence Theories หรือการมีอิทธิพลอย่างจำแนก
(กาญจนา แก้วเทพ, 2547 : 276) Agenda Setting เป็นบทบาทของสื่อมวลชน
ในการจัดการข่าวสารที่เกิดขึ้นอย่างมากมายเอาไว้ให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อพร้อมสาหรับการนำเสนอ
ซึ่งในขึ้นตอนการนำเสนอนั้น สื่อก็จะช่วยจัดวาระเรียงลำดับความสำคัญ เพื่อที่ประชาชนจะได้พูดถึง
อภิปราย ถกเถียง และให้ความสนใจต่อประเด็นที่สื่อ ‚เลือกมาเสนออันก่อให้เกิดอิทธิพลทางอ้อม
กล่าวคือ ถึงแม้สื่อจะไม่สามารถทำให้ประชาชน ‚คิดแบบที่สื่อจะคิดได้(Think
What) แต่สื่อก็ยังสามารถทำให้คนคิดในเรื่องที่เกี่ยวกับสื่อบอกได้
(Think about) นอกจากนั้นประชาชนก็ยังเรียนรู้กติกาต่างๆที่อยู่ใน
‚รูปแบบของสื่อ เช่น อะไรที่พูดถึงมาก แปลว่า ‚สำคัญ อะไรที่พูดถึงก่อนแปลว่า‚สำคัญอะไรที่พาดหัวใหญ่สุดแปลว่า
สำคัญที่สุด เป็นต้น
ทฤษฎีการกำหนดวาระข่าวสาร อธิบายถึงผลของสื่อมวลชนที่มีต่อผู้รับสารในระดับกลาง
โดยเป็นผลในด้านของความคิด ความเข้าใจ (Cognition) ของผู้รับสาร มัลคอล์ม อี.แมค คอมส์ และโดนัลด์ แอล ชอว์
(McCombs, M.E. and Shaw, D,L,1972) นักวิจัยชาวอเมริกันจากมหาวิทยาลัยแคโรนา
(University of North Carolina) ผู้เผยแพร่สมมุติฐานว่าด้วยหน้าที่ในการกำหนดวาระข่าวสารสื่อมวลชน
(Agenda –setting function of mass media) ในวารสาร Public
Opinion Quarterly (1972) มีสาระสำคัญว่านอกจากการทำหน้าที่คัดเลือกข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชน
ผลที่เกิดขึ้นจากการนำเสนอข่าวจะออกมาอย่างไรขึ้นอยู่กับการจัดระเบียบวาระข่าวสารของหนังสื่อพิมพ์ที่กำหนดไว้ในทฤษฎีการกำหนดวาระข่าว
รายละเอียดดังกล่าว แมกซ์เวลล์ แมคคอมส์ และแอล.ชอว์
(Maxwell McCombs and Donald L.Shaw, 1976 : 176) ได้เผยแพร่ทฤษฎีนี้
โดยกล่าวว่า ‚ ผู้รับสารไม่เพียงแต่เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ
และเรื่องราวอื่นๆผ่านสื่อมวลชนเท่านั้น แต่ยังเรียนรู้ที่จะให้ความสำคัญของประเด็นปัญหา
หรือหัวข้อหนึ่งๆมากน้อยเพียงใดจากการที่สื่อมวลชนเน้นเอาไว้
การที่สื่อมวลชนเอาใจใส่ต่อประเด็นปัญหาบางอย่าง และละเลยปัญหาอื่นๆ ก็ย่อมมีผลต่อมติมหาชน
ประชาชนมักมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่สื่อมวลชนนำเสนอ รวมทั้งรับเอาระดับความสำคัญตามที่สื่อมวลชนได้ให้แก่ประเด็นต่างๆด้วย
กล่าวคือ การเสนอหรือไม่เสนอข่าวสารเรื่องใดเรื่องหนึ่งของ
สื่อมวลชนมีผลทำให้สาธารณชน มีความเห็นคล้อยตามเรื่องนั้นเป็นเรื่องสำคัญ
หรือไม่สำคัญที่จะนามาคิดพิจารณาอย่างกรณีที่ข่าวจตุคามที่สื่อจัดระเบียบวาระให้เป็นข่าวเด่น
ด้วยการพาดหัวข่าวใหญ่ในหน้าหนึ่ง และนำเสนออย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนเกิดกระแสความนิยมกลายเป็นปรากฏการณ์จตุคามรามเทพฟีเวอร์
จะเห็นได้ว่า ผู้รับสารไม่เพียงแต่เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ และเรื่องราวอื่นๆผ่านสื่อมวลชนเท่านั้น
แต่ยังเรียนรู้ด้วยว่าจะให้ความสำคัญต่อประเด็นปัญหาหรือหัวข้อหนึ่งๆ มากน้อยเพียงไร
จากการเน้นนำเสนอข่าวของ
สื่อมวลชน ได้กล่าวถึง การที่ประชาชนเรียนรู้จากสื่อมวลชนว่าอะไรคือประเด็นปัญหา
และควรจะจัดลำดับของประเด็นปัญหาเหล่านั้นเป็นอย่างไร
สมมติฐานนี้ไม่ได้ยืนยันถึงอิทธิพลอันมหาศาลของสื่อมวลชนในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ
หรือเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของประชาชนโดยตรง แมคคอมส์ และชอว์ (McCombs, M.E. and Shaw,D.L.) ได้ทาวิจัยในช่วงเวลาแห่งการเลือกตั้งประธานาธิบดี
ค.ศ.1968 ด้วยการสัมภาษณ์ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน
100 คน ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร ผู้วิจัยได้ขอให้กลุ่มตัวอย่างระบบประเด็นปัญหาสังคมที่เขาคิดว่ามีความสำคัญเร่งด่วนสาหรับการรณรงค์หาเสียง
ขณะเดียวกันก็ได้วิเคราะห์การนำเสนอข่าวสารของโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร บทบรรณาธิการ
เพื่อดูการให้ลำดับความสำคัญ หลังจากวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของข้อมูล 2 แหล่ง พบว่า มีความสัมพันธ์ในระดับที่สูงมากระหว่างการรายงานข่าวของสื่อกับการลำดับความสำคัญของประเด็นปัญหาต่างๆ
ในการรับรู้ของประชาชน
แมคคอมส์ และชอร์ (McCombs,M.E.
and Shaw,D.L.) ได้ยกตัวอย่างการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการกำหนดวาระข่าวสาร
โดยใช้กรณีวอเตอร์เกตที่อื้อฉาวสมัยประธานาธิบดีนิกสัน การที่สื่อมวลชนได้เปิดโปงการทุจริตทางการเมือง
โดยถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ทำให้กรณีวอเตอร์เกตนี้เป็นหัวข้อข่าวที่เด่นที่สุดในการรับรู้ของประชาชน
เมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ข่าวอื่นๆ ในขณะนั้นทั้งสอง ได้เสนอแบบจาลองที่แสดงถึงอิทธิพลของสื่อมวลชนที่มีต่อการรับรู้ของสาธารณชน
ประเด็นปัญหาใดที่สื่อมวลชนให้ความสำคัญมาก ผู้รับสารก็รับรู้ว่าประเด็นปัญหามีความสำคัญมากด้วย
ดังแสดงให้เห็นจากภาพข้างล่างนี้
การทำงานของสื่อมวลชน จาเป็นต้องมีการเลือกเรื่อง หรือกำหนดประเด็นในการนำเสนอข่าว
ทำให้สื่อมีบทบาทในการเป็นผู้กำหนดกรอบของเรื่องราวที่นำเสนอ และประเด็นในการโต้แย้งแสดงเหตุผลของสังคม
สื่อมวลชนจึงถูกมองว่าเป็นผู้ที่ทำหน้าที่กำหนดประเด็นให้แก่สังคม(Agenda setting) เรื่องใดที่สื่อนามาเผยแพร่นั้นก็ยิงมีน้าหนักมากขึ้นไปด้วย
และกลายเป็นประเด็นใหญ่ของสังคม หรือที่คนเรียกว่า เป็นวาระทางการเมืองและสังคม
(Social and Political Agenda)
ในขณะที่ Jame W.Dearing และ
Everett M. Roger (1997, p.4-5 อ้างถึงใน ณัฏฐิกา ณ ระนอง,
2548 : 20) ได้กล่าวถึงการทำหน้าที่ในการกำหนดวาระข่าวสารของสื่อมวลชนไว้ว่า
กระบวนการกำหนดวาระเปรียบเสมือนกระบวนการทางการเมืองที่ประเด็นข่าว เหตุการณ์ต่างๆ
ต้องมีการแข่งขันกัน เพื่อได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนจนถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นของข่าวในวันนั้น
โดยอาศัยการพิจารณาของข่าวนั้นๆเป็นสำคัญ ทั้งนี้กระบวนการกำหนดวาระของข่าวสารว่าประเด็นใดบ้างจะถูกจัดขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญในวันนั้น
มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ
1. ประเด็นที่สื่อมวลชนสาเสนอ (Media Agenda) กล่าวคือ ประเด็นที่สื่อมวลชนเป็นผู้จัดลำดับ
ความสำคัญว่ามีคุณค่า และน่าสนใจเพียงพอที่จะนาขึ้นรายงานต่อสาธารณชน ซึ่งสื่อมวลชนจะพิจารณาความเด่นของข่าวในจำนวนหลายๆชิ้น
ว่าข่าวใดมีความเด่นสุด
2. ประเด็นที่สาธารณชนให้สำคัญ (Public Agenda) คือ ประเด็นที่สาธารณะเป็นผู้จัด
หมายถึงการที่สังคมให้ความสนใจ หรือสร้างผลกระทบต่อผู้คนในสังคมได้ สื่อมวลชนก็จะหยิบยกขึ้นมาเป็นวาระในการนำเสนอ
เช่น ในสหรัฐอเมริกาช่วงหนึ่งมีปัญหาสังคมที่สำคัญ คือ เรื่องการสูบบุหรี่ โดยมีการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่
เป็นอย่างมาก สื่อมวลชนได้ใช้ปัญหาสังคมนี้ (Social Problem) มาเป็นตัวกำหนดประเด็นวาระของสื่อมวลชนได้
3. ประเด็นระดับนโยบาย (Policy Agenda) ก็คือ ประเด็นที่ผู้อานาจเป็นผู้จัด
โดยมักเป็นประเด็นที่ยกขึ้นมาให้ผู้ที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายให้ความสำคัญ เช่น ครั้งหนึ่งเคยมีประเด็นสตรี
(Famine Issue) ซึ่งประเด็นนี้เป็นเพียงแค่ประเด็นเล็กๆ ที่ยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก
แต่จากการที่สื่อมวลชนหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมา ทำให้ประเด็นเล็กๆกลายเป็นประเด็นสำคัญในสหรัฐฯได้
โดยมีสื่อมวลชนสนับสนุนนั่นเอง
ซึ่งแนวคิดนี้ยังได้สอดคล้องกับงานวิจัยของ Maxwell McCombs และ Donald L.Shaw (1972,
p.176-178) ครั้งก่อนในปี 1972 ที่พบความสัมพันธ์ของ
Media Agenda และ Public Agenda ว่าประเด็นที่สื่อมวลชนนำเสนอเป็นตัวทำให้เกิดประเด็นสาธารณะได้
โดยสื่อมวลชนมีความสามารถที่เด่นในการนาประเด็นเด่นมาเป็นระเบียบวาระของสื่อ และกลายเป็นประเด็นสาธารณะในที่สุด
และสื่อสามารถนาข่าวบางชิ้นที่เคยได้รับความสนใจน้อยกลับมาเป็นประเด็นสาธารณะได้ ซึ่งอิทธิพลของการจัดวาระของข่าวสารนั้นขึ้นอยู่กับ
1. ความสำคัญของเหตุการณ์ หรือคุณค่าของข่าวสาร หรือตัวสาร
2. จำนวนผู้รับสารที่ติดตามข่าวจากการจัดวาระข่าวสาร ซึ่งเป็นประสิทธิผลของการจัดวาระข่าวสาร
3. อายุของข่าวในการจัดวาระสาร นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์นั้น
แนวคิดเกี่ยวกับทิศทางในการนำเสนอข่าวสาร และความเป็นกลางในการนำเสนอข่าว
ทิศทางในการนำเสนอข่าว
จากการศึกษาของ
Haskins, Millers และ Quarles (1984, vol 61 อ้างถึงใน
มนทิรา วิโรจน์-อนันต์, 2540 : 26-27) ทั้งสามได้ศึกษาทิศทางการนำเสนอข่าว
โดยได้เปรียบเทียบระหว่างวิทยุ และโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา โดยให้คาจากัดความของข่าวเชิงบวก
เชิงกลาง และข่าวเชิงลบดังนี้
ข่าวเชิงบวก
หมายถึง ข่าวที่ผู้อ่านอ่านแล้วตีความ หรือเกิดความรู้สึกโดยทั่วไปว่าเป็นเรื่องที่ให้ผลในทางดี
มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น น่าชื่นชม แสดงความรู้สึกเห็นด้วย สนับสนุน ชื่นชม
สังคมมีสุขภาพดี ส่งเสริมศีลธรรมจรรยา แสดงถึงการพัฒนาการร่วมมือกลมเกลียวน่ายกย่อง
ช่วยเหลือกัน ไม่เห็นแก่ตัว แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจ การค้นพบที่น่าชื่นชม หรือเรื่องราวที่ให้ความรู้สึกพึงพอใจเป็นสุข
โดยภาพรวมคือเนื้อหาที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
ข่าวเชิงลบ
หมายถึง ข่าวที่ผู้อ่าน อ่านแล้วตีความ หรือเกิดความรู้สึกโดยทั่วไปว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าพอใจ
เป็นความขัดแย้ง สุขภาพเสื่อม ไม่เห็นด้วย ต่อต้านสังคม น่าสยดสยอง ล่มสลาย ทาลาย เจ็บปวด
เป็นอันตรายทรุดโทรม ถดถอย หรือเรื่องราวที่ให้ความรู้ที่ไม่เป็นสุข โดยภาพรวมคือเนื้อหาที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงในทางที่เลวลง
ข่าวเชิงเป็นกลาง หมายถึง ข่าวที่นอกเหนือไปจากทั้งสองขั้วข้างต้น คือเนื้อหาที่ไม่มีลักษณะของการให้อารมณ์ความรู้สึกแก่ผู้อ่านไปด้านใดด้านหนึ่งอย่างชัดเจน
เป็นการเสนอข้อเท็จจริงทั่วไป เป็นข่าวที่ไม่ให้ความรู้สึกพึงพอใจเป็นพิเศษ ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ให้ความรู้สึกเป็นทุกข์
และในบรรดาข่าวที่มีทิศทางแตกต่างกันระหว่างบวก จนไปถึง ลบนั้น มีงานวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุนว่า
ข่าวที่มีทิศทางเป็นลบ จะได้รับความสนใจและถูกนำเสนอจากสื่อมวลชนมากกว่าข่าวที่มีทิศทางบวก
Bohle (1986,
vol 64: 789-796) ได้ตั้งประเด็นคาถามการวิจัยว่า ความขัดแย้ง หรือสิ่งแสดงทิศทางเชิงลบจะเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกข่าวของสื่อมวลชนหรือไม่
โดยเขาได้กำหนดข่าวขึ้นมา 10 ชิ้น แล้วเขียนข่าวทั้ง
10 ชิ้นให้มีสองทิศทาง คือข่าวในเชิงบวกและข่าวในเชิงลบ เช่น ข่าวยาเสพติดในโรงเรียนมีทิศทางลดลง
(ข่าวในเชิงบวก) กับข่าวยาเสพติดในโรงเรียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
(ข่าวในเชิงลบ) นาข่าวทั้งสองทิศทางมาคละกัน แล้วให้นักข่าวอาชีพจากหนังสือพิมพ์รายวัน
2 ฉบับ ใน Central Viginia เลือกว่าจะตีพิมพ์ข่าวใด
ผลการวิจัยเชิงทดลองของ Bohle ให้ข้อสรุปว่า นักข่าวมีแนวโน้มจะเลือกข่าวที่มีทิศทางเชิงลบ
9 ข่าวใน 10 ข่าว เพื่อตีพิมพ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งนักข่าวเห็นว่า
ข่าวที่มีทิศทางลบ มีความน่าสนใจที่จะนำเสนอมากกว่า สอดคล้องกับความเห็นของ
Anderson และ Jacobson (1965 อ้างถึงใน
Bohle 1986, vol 64) ที่ระบุว่า ข่าวดีมีคุณค่าแก่การเป็นข่าวน้อยกว่าข่าวไม่ดี
เพราะข่าวไม่ดีจะมีความสำคัญกว่า และบรรจุข้อมูลที่มีค่ามากกว่าข่าวดี
Galtung
และ Ruge (1973 อ้างถึงใน Bohle 1986,
vol 63 ) ให้เหตุผลเชิงสนับสนุนว่า ข่าวเชิงลบมีคุณสมบัติเด่น และถูกเลือกมาเป็นข่าวมากกว่าข่าวเชิงบวก
เนื่องจาก
ข่าวเชิงลบ
เป็นที่ชื่นชอบและเข้ากันดีกับกิจการของหนังสือพิมพ์เพราะเรื่องราวร้ายๆ มักเป็นที่พอใจของผู้อ่าน
ข่าวเชิงลบ
เป็นเรื่องที่ประชาชนจะเชื่อ ยอมรับ หรือเห็นด้วยได้ง่ายกว่าเรื่องราวลักษณะอื่น เพราะไม่มีความซับซ้อน
การกระทาผิดพลาดของคน มักจะเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด และเข้าใจได้ง่าย
ข่าวเชิงลบ
สอดคล้องกับปัญหาประจาวันที่คนเผชิญอยู่ ข่าวเชิงลบ จึงช่วยเติมเต็มความรู้สึกของคนได้
ข่าวเชิงลบมักเป็นสิ่งที่คาดไม่ถึง นั่นคือ น่าติดตามนั่นเอง
ในขณะที่ในประเทศไทยก็มีบทความและงานวิจัยที่ได้นำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ให้เห็นถึงทิศทางการนำเสนอข่าวในสังคมไทยเช่นเดียวกัน
ว่าปัจจุบันสื่อมวลชนไทยบางคราวก็นำเสนอแต่ข่าวประเด็นเชิงลบมากเกินไป ยกตัวอย่างบทความเรื่องเมื่อสื่อนำเสนอแต่เรื่องในด้านลบย่อมชี้นาสังคมไปในทิศทางเดียวกับสื่อด้วย
ซึ่งบทความนี้ได้แสดงความคิดเห็นถึงนำเสนอประเด็นเทศกาลแห่งความรัก เมื่อถึงเทศกาลนี้
บรรดาสื่อสารมวลชนของไทย แทบจะทุกแขนงต่างก็พากันทาผลสำรวจเพื่อสะท้อนภาพของสังคมวัยรุ่นที่เกี่ยวกับการเสียตัวของเหล่าเยาวชน
และทุกครั้ง ทุกปี ผลสำรวจออกมาในลักษณะที่น่าเป็นห่วงเยาวชนไทยในเรื่องของการไม่รักนวลสงวนตัวตามแบบแผนของกุลสตรีไทยทุกครั้ง
ดังนั้นแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ ภายใต้การสนับสนุนจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม
สุขภาพ (สสส.) ได้ทาวิจัยเพื่อสำรวจความคิดเห็นของวัยรุ่นไทยในปัจจุบันในประเด็นที่ว่า
"รักจริงรอได้ จริงหรือไม่"โดยการสอบถามความคิดเห็นของ
วัยรุ่น 2,428 คน จากหลากหลายภูมิภาค พบว่า ในความเป็นจริงแล้ว
วัยรุ่นไทยกว่า 80% มองว่า เรื่องความรักเป็นเรื่องใหญ่และไม่คิดว่าเรื่องเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องสำคัญในชีวิตของเขา
โดยเฉพาะผู้หญิง มีถึงร้อยละ 86.04 ผู้ชายมีร้อยละ
69.75
ซึ่งจากผลสำรวจที่ออกมานั้น ต่างก็มีนักวิชาการออกมาแสดงความคิดเห็นต่อการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน
ดังที่คุณเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน ได้ให้ความเห็นต่อสื่อมวลชนไทยว่า
วันวาเลนไทน์นับเป็นอีกวันหนึ่ง ที่สื่อสนใจ และผู้ใหญ่มีการจ้องมองจนเกิดเป็นวาทกรรมวาเลนไทน์
เป็นวันเสียตัวแห่งชาติ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการสื่อสารของผู้ใหญ่ในสังคม นับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมาก
เพราะหากพูดถึงปัญหาเชิงลบก็จะกลายเป็นการตีตราของผู้ใหญ่ที่มีต่อวัยรุ่น ทั้งๆที่จากประสบการณ์
การทำงานกับวัยรุ่น จะเห็นว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่
ในสังคมไทยยังมีทัศนคติและพฤติกรรมเรื่องความรักและเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสม
แต่การนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับวัยรุ่นและเพศสัมพันธ์ที่ผ่านมามักจะออกมาในทางตรงกันข้าม
เพราะการนำเสนอนั้นมักจะให้ความสำคัญในประเด็นเชิงลบ หรือแม้กระทั่งการบอกเล่าข่าวสาร
ละครที่เป็นการยั่วยุในลักษณะอารมณ์ และบางครั้งก็มีการสื่อสารเรื่องเพศที่ผิดๆ ดังนั้นเราต้องเปิดพื้นที่ให้สื่อดีๆ
มากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการ คุณณัฐยา บุญภักดี ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศออกมาแสดงความคิดเห็นต่อการนำเสนอ
การพาดหัวข่าวเกี่ยวกับวัยรุ่นย้อนหลังเพิ่มเติมว่า จากการติดตามผลสำรวจความเห็นในช่วงวาเลนไทน์
ย้อนหลังไป 10 ปี พบว่า
80% ของพาดหัวข่าวเป็นข่าววัยรุ่นเสียตัวรับวาเลนไทน์ ซึ่งถือเป็นการสร้างบรรยากาศด้านลบทางสังคม
ซึ่งสื่อมวลชนถือเป็นสื่อที่จะช่วยสร้างบรรยากาศ ทางสังคมที่ดีได้มาก เพราะหากเราสร้างบรรยากาศเชิงลบ
นำเสนอข่าวแต่วัยรุ่นไทยเสียตัว สังคมแหลกเหลว เมื่อบรรยากาศเชิงลบเกิดขึ้นซ้ำซากกลายเป็นค่านิยมและนาไปสู่พฤติกรรมในไม่ช้า
"สื่อคือสิ่งแวดล้อมที่อยู่กับชีวิตคนตลอด 24 ชั่วโมง
หากสื่อโหมกระหน่ำแต่ข่าวด้านลบ เช่น วัยรุ่นไทยพร้อมเสียตัว สังคมแหลกเหลว สร้างแต่บรรยากาศเชิงลบที่เกิดขึ้นซ้ำซาก
มันก็จะกลายเป็นค่านิยมและนำไปสู่พฤติกรรมในไม่ช้า หากเราไม่คิดบวก ขายข่าวเชิงลบมากกว่าเรามีส่วนทาบรรยากาศสังคมให้ลบ
สังคมไทยยังไม่แหลก แต่แหลกไปแล้วในหน้าหนังสือพิมพ์ ขณะที่เด็กรุ่นหลังก็โตมากับกระแสข่าวแบบนี้โดยไม่รู้ตัว
เป็นการฝังชิพ เข้าไปในหัวว่าอ๋อวาเลนไทน์เท่ากับบวกเสียตัว"
กล่าวโดยสรุป จากบทความและงานวิจัยข้างต้นดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า
สื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ ต่างก็มีความนิยมในการนำเสนอข่าวเชิงลบ ซึ่งอาจเป็นเพราะข่าวเชิงลบ
เป็นข่าวที่ขายได้ดี จึงดูจะมีความสำคัญกว่า และบรรจุข้อมูลที่มีค่ามากกว่าข่าวดี แต่แท้จริงแล้วการนำเสนอข่าวลบมากเกินไป
ก็อาจจะทำให้เรากลายเป็นผู้สร้างบรรยากาศ หรือชักนาสังคมไทยให้มีภาพลบตามที่สื่อมวลชนนำเสนอก็เป็นได้
ซึ่งผู้วิจัยคงต้องทาการศึกษาต่อไปว่างานวิจัยในชิ้นนี้ สื่อมวลชนส่วนใหญ่นั้นจะมีการนำเสนอทิศทางข่าวสารไปในทิศทางใดมากกว่ากัน
จากแนวคิดเบื้องต้น จะเห็นได้ว่า ทั้งในเรื่องของทิศทางการนำเสนอข่าว
ทั้งข่าวเชิงบวก เชิงกลาง และเชิงลบ ในมุมมองของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศข้างต้น
ที่ได้แสดงทัศนะให้เห็นถึงแนวโน้มทิศทางการนำเสนอข่าวในมุมที่หลากหลาย แนวคิดทั้งหมดที่ได้สรุปมานี้
ผู้วิจัยจะใช้เป็นกรอบการศึกษา โดยนำมาวิเคราะห์ในส่วนของการศึกษาทิศทางการนำเสนอประเด็น
ความเป็นกลางในการนำเสนอข่าว
สุภา ศิริมานนท์ อดีตนักหนังสือพิมพ์อาวุโส และอาจารย์ด้านหนังสือพิมพ์
ได้เคยย้ำถึงความสำคัญของความเป็นกลางในวิชาชีพหนังสือพิมพ์ (สื่อมวลชน) เสมอว่า จริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์กาลังหยั่งรากลึกลงไปทุกที
ทั้งนี้เนื่องมาจากความปรารถนาที่จะปกป้อง ‘ความเชื่อถือ’
ของมหาชนคนอ่านที่จะพึงมีต่อหนังสือพิมพ์ไว้ให้มั่นคง หลักเกณฑ์สำคัญข้อหนึ่งคือหลักว่าด้วย
(ภัทมัย อินทจักร, 2551)
‘ความจริงที่แท้’ หรือ ‘ความเป็นกลาง’
(Objectivity) นับเป็นหลักปฏิบัติที่นักหนังสือพิมพ์ทุกคนควรยึดถือเพื่อความถูกต้องเที่ยงธรรมในสังคม
ความเป็นกลางในวิชาชีพหนังสือพิมพ์ก็คือการรายงานข่าวอย่างตรงไปตรงมา การยึดถือข้อเท็จจริงเป็นสำคัญ
การไม่ลาเอียงเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นพิเศษ การไม่เห็นแก่ประโยชน์สินจ้างรางวัล
การให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณีที่มีความขัดแย้งกัน การให้โอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการเสนอความคิดเห็นที่ขัดแย้ง
ฯลฯ
นอกจากนี้ ในทัศนะของ Jargen
Westerstahl, 1983 ศาสตราจารย์ทางรัฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยโกเต็นเบอร์ก
(Gothenburg) กล่าวถึงความเป็นกลางว่า เป็นสิ่งที่นิยามได้ยาก แต่ได้ให้ความหมายของความเป็นกลางโดยศึกษาจากงานวิจัยระดับความเป็นกลางในกระบวนการทำงานของสื่อกระจายเสียงในประเทศสวีเดน
คานิยามนี้ได้ยอมรับว่าความเป็นกลางเกี่ยวข้องกับค่านิยม (values) เช่นเดียวกับข้อเท็จจริง (facts) และข้อเท็จจริงนั้นเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับการประเมินค่าความเป็นกลางด้วย
โดย ‘ความเป็นกลาง’ ประกอบด้วยสาระสำคัญ
2 ประการคือ
1. การนำเสนอเนื้อหาเฉพาะที่เป็นข้อเท็จจริง (factuality)
2. ความไม่ลาเอียง หรือการไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีที่ความขัดแย้งกัน
(impartiality)
โดยการเสนอข้อเท็จจริง (factuality) ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการรายงานหรือการเสนอเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องและคาพูดที่สามารถตรวจสอบได้จากแหล่งข่าว
และเป็นอิสระจากการแสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ factuality ยังหมายถึงการนำเสนออย่างถูกต้อง
ไม่ชี้นาในทางที่ผิด และมีความเกี่ยวพัน (relevance) กับกระบวนการคัดเลือกข่าวสารมากกว่ารูปแบบในการนำเสนอ
โดยการคัดเลือกนี้เป็นไปตามหลักแห่งความสอดคล้องกับประชาชนให้มากที่สุด ส่วนความไม่ลาเอียง
(impartiality) ประกอบด้วยการนำเสนอด้วยทัศนคติที่เป็นกลาง
(neutral presentation / neutral attitude) โดยผ่านส่วนผสมของความสมดุล
(balance) ซึ่งหมายถึงความเท่าเทียมกันทั้งด้านเวลาหรือพื้นที่หรือการเน้นย้าในระหว่างความคิดเห็นของทั้งสองฝ่ายที่ขัดแย้งกัน
ทั้งนี้ Pertti Hemanus ศาสตราจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์
แห่งมหาวิทยาลัย Tampere ประเทศฟินแลนด์ กล่าวว่า การนำเสนอเนื้อหาอย่างเป็นกลาง
(neutral presentation) ก็คือ การละเว้น หลีกเลี่ยงการใส่อารมณ์ หรือใช้ภาษาที่มีความนัย
ในเชิงโน้มน้าวความคิดเห็นของผู้อ่านหรือผู้รับสาร
เราอาจสรุปได้ว่า ความเป็นกลางในทัศนะของ Hemanus และ Westerstahl ประกอบด้วยสาระสำคัญ
2 ประการ คือ การนำเสนอเนื้อหาเฉพาะที่เป็นข้อเท็จจริง
(fact) และความไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง(impartiality) ในกรณีที่มีความขัดแย้งกัน ส่วนในประเด็นการเสนอเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง
(relevance) อย่างสมดุล (balance) และอย่างเป็นกลาง
(neutrality) นั้น น่าจะถือเป็นวิธีที่นักข่าวปฏิบัติเพื่อจะนาไปสู่หลักการของความเป็นกลาง
(objectivity) ในวิชาชีพสื่อมวลชนเป็นสำคัญ ซึ่งหมายรวมถึงหลักการคัดเลือก
วินิจฉัย เสนอสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยไม่อิงผลประโยชน์ใดๆ อย่างแท้จริง
รองศาสตราจารย์มาลี บุญศิริพันธ์ คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ได้ให้เหตุผลที่สื่อมวลชนโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ต้องมีความเป็นกลางว่า
เนื่องจากความเป็นธุรกิจขององค์กรสื่อต้องอาศัยการลงทุนและเทคนิคการจัดการเพื่อสนองตอบความต้องการข่าวสารของผู้อ่านในทุกระดับ
พร้อมไปกับการประคับประคองให้องค์กรอยู่รอดได้อย่างอิสระแล้วยังต้องคำนึงถึงภาระความรับผิดชอบต่อสังคมอีกทางหนึ่งด้วย
ดังจะเห็นได้ว่า
1. สื่อมวลชนเป็นผู้มีบทบาทในการให้ข้อมูลข่าวสาร ให้ข้อคิดเห็น ให้ความบันเทิงและให้การชักจูงโน้มน้าวใจ
2. การมีบทบาทเป็นกระจกเงาสะท้องสังคม สามารถสะท้อน ชี้นา และสร้างสรรค์สาธารณมติ
3. การที่สื่อมวลชนได้ทำหน้าที่นายด่านแห่งประตูข่าวสาร (gatekeeper) มีบทบาทกำหนดว่าสิ่งใดควรเป็นข่าวหรือไม่เป็นข่าว หรือการกำหนดให้ผู้อ่าน ผู้ชม
ผู้ฟัง ได้รับหรือไม่ได้รับข่าวสารใดก็ได้
4. สื่อมวลชนยังเป็นสถาบันสาธารณะสถาบันหนึ่งของสังคม ตามที่นายเอ็ดมันด์ เบิร์ก
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษ ได้ให้ฉายาสื่อมวลชนว่าเป็น “ฐานันดรที่
4” ของสังคม ย่อมต้องกระทำหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง รอบคอบและเที่ยงธรรม
ธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพอย่างแท้จริง เพื่อประสิทธิภาพในการบริการสาธารณะ โดยต้องปฏิบัติงานด้วยหลักแห่งความเป็นสถาบันสาธารณะ
คือ ต้องทำงานด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ตามหลักแห่งศีลธรรมและจริยธรรม
ในขณะที่ดรุณี หิรัญรักษ์ (อ้างถึงใน ปรียาภรณ์ พงษ์สังข์ กาญจนา, 2544 : 23) นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน
ได้กล่าวว่า ความเป็นกลางในแง่ของคุณภาพข่าวมีข้อพึงสังเกต 4 ประการ คือ
1. การรายงานข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ ซึ่งต้องปราศจากความมีอคติและความลาเอียง
2. นักข่าวต้องรายงานข่าวอย่างตรงไปตรงมาด้วยสุจริตใจ
3. การรายงานข่าวในปัจจุบัน จะเป็นการรายงานข่าวแบบอธิบาย ความข่าว ซึ่งต้องอาศัยความสามารถของนักข่าวในการที่จะอธิบายเหตุการณ์ให้ผู้รับสารเข้าใจสถานการณ์
และภูมิหลังของเรื่องราวต่างๆได้ ซึ่งการอธิบายความข่าวนี้ มักไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการแทรกความคิดเห็น
ของนักข่าวได้ในบางครั้ง
4. ความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวนั้นเป็นไปได้ยากมาก เพราะบางครั้งนักข่าวมักใช้อารมณ์
ความรู้สึก ความคิดเห็นส่วนตัวลงไปในเวลารายงานข่าว หรือเหตุการณ์ต่างๆซึ่งจะทำให้ความมีอคติและความลาเอียงขึ้นได้
อย่างไรก็ตามความยุติธรรมและความเป็นกลาง เป็นสิ่งที่นักข่าวจะต้องระลึกถึงและปฏิบัติตามให้ได้
ในขณะที่ เอกชัย แสงโสตา (2553) ได้สรุปลักษณะของความเป็นกลางได้ว่า ความเป็นกลาง หมายถึง การรายงานข่าวที่ประกอบไปด้วยความเป็นธรรม
ความสมดุล และการแยกความคิดเห็นออกจากข้อเท็จจริง
1. ความเป็นธรรม หมายถึง การนำเสนอเนื้อหาแง่มุมต่างๆ รวมถึง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ปรากฏข้อความอันเป็นการตั้งฉายา
2. ความสมดุล หมายถึง การที่ผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์แหล่งข่าวต่างๆ อย่างทั่วถึงคนทุกกลุ่มที่เอ่ยถึงในข่าวแล้ว
3. แยกข้อคิดเห็นออกจากข้อเท็จจริง หมายถึง ความตรงกันระหว่างความหมายในหัวข่าว
และเนื้อหา โดยที่หัวข่าวไม่เป็นการสรุปด้วยความเห็นขอนักข่าวเองมากเกินกว่าข้อเท็จจริงในข่าว
และข้อมูลในข่าวต้องไม่ปรากฏถ้อยคาที่แสดงการคาดเดาเหตุการณ์ หรือการวิพากษ์วิจารณ์ของผู้สื่อข่าวเอง
รุจิเรข
รักวงษ์ (2540) ศึกษา
“บทบาทของหนังสือพิมพ์ที่มีต่อการเรียนรู้ทางการเมืองศึกษาเฉพาะกรณีประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่น้อย"
คือ มีเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งปัจจัยทางด้านการศึกษาและอาชีพมีผลต่อการเปิดรับสื่อจากหนังสือพิมพ์
โดยพบว่าประชาชนมีความรู้ทางการเมืองอยูในระดับค่อนข้างสูง
จากการวิจัยให้ความเห็นว่าหนังสือพิมพ์ที่มีคุณภาพซึ่งได้ทำหน้าที่รายงานข่าว
เหตุการณ์เลือกตั้ง ประเด็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหวางนักการเมือง
ตลอดจนข้อเรียกร้องต้องการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกบสาธารณชนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
วราวุธ
เด่นแพทย์ชรางกูร (2545) ได้ทำการศึกษา
พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาเปิดรับข่าวสารทางการเมืองในระดับสูงจากสื่อโทรทัศน์
โดนเปิดรับสื่อทุกวันมากที่สุดโดยให้ความน่าเชื่อถือและการแลกเปลี่ยนพูดคุยประเด็นการเมืองภูมิหลังเกี่ยวกับเพศ
มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองเฉพาะสื่อจากหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิหลังเกี่ยวกบอายุ
คณะ ที่ศึกษา ระดับชั้นปี ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร
เลอภพ โสรัตน์
และคณะศึกษา (2554) “บทบาทสื่อมวลชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทย”
พบว่าบทบาทของสื่อมวลชนในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนได้แสดงความชัดเจนใน
3 บทบาทคือ 1) บทบาทการถ่ายทอดความรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง
2)บทบาทการเป็นเครื่องมือตรวจสอบทางการเมือง 3)
บทบาทการเป็นพื้นที่ประสานความเข้าใจทาง
การเมืองเพียงแต่ว่าความสมบูรณ์ของแต่ละบทบาทนั้นจะขึ้นอยู่กับแต่ละยุคสมัยของการเมืองซึ่งมีที่มาของอำนาจทางการเมืองแตกต่างกันไม่ว่าจะมาจากการปฏิวัติ
รัฐประหาร
มาจากการมีฐานอำนาจทางการเมืองหนุนหลังซึ่งส่วนใหญ่อำนาจบริหารจะมาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแต่สื่อก็ยังประสบปัญหาการแสดงบทบาทเพราะยังมีปัจจัยอื่น
ๆเข้าไปกระทบจนทำให้แต่ละบทบาทแสดงได้ไม่สมบูรณ์ เช่น
แนวทางขององค์กรสื่อสารมวลชนมุ่งเน้นผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือการเกิดใหม่ของสื่อใหม่ๆจากเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยท
าให้ไม่สามารถที่จะควบคุมได้ด้วยกลไกที่มี
แนวโน้มที่จะเชื่อในช่องทางการสื่อสารที่เป็นบุคคลมากกวาสื่อมวลชน
แนวคิดเบื้องต้น จะเห็นได้ว่า ทั้งในเรื่องของทิศทางการนำเสนอข่าว ทั้งข่าวเชิงบวก
เชิงกลาง และเชิงลบ และทัศนะต่อความเป็นกลางของสื่อมวลชน ในมุมมองของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศข้างต้น
ที่ได้แสดงทัศนะให้เห็นถึงแนวโน้มทิศทางการนำเสนอข่าวในมุมที่หลากหลาย และค่อนข้างคาดหวังให้สื่อมวลชนได้ทำหน้าที่รับใช้สังคมได้อย่างเที่ยงตรงและเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายให้มากที่สุด
โดยผ่านกฎเกณฑ์แห่งความเป็นกลางและความไม่ลำเอียง หรือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และแนวคิดทั้งหมดที่ได้สรุปมานี้
ผู้วิจัยจะใช้ในการวิจัยเรื่อง ทัศนคติของนิสิตที่มีต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลต่าง
ๆ สู่สาธารณะชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น