วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วิเคราะห์ผู้รับสาร รายการ The Shock

The Shock

ข้อมูลเบื้องต้น
                ชื่อเต็ม สถานีวิทยุ "เดอะช็อค" เอฟเอ็ม 101 R.R.ONE เรดิโอ รีพอร์ต วัน
                คำขวัญ ฟังแล้ว สิ่งไหนดีก็เก็บเอาไว้ สิ่งไหนไม่ดีฟังแล้วก็ไม่ต้องไปจดไปจำมัน
                          ปล่อยให้มันผ่านเลยไป ดูแลตัวเอง ดูแลคนใกล้ชิด ดูแลคนรอบข้าง และก็ดูแลโลกใบนี้
                เจ้าของสถานี กพล ทองพลับ
                ความถี่  เอฟเอ็ม 101 เมกะเฮิร์ตซ์ 
                พื้นที่กระจายเสียง กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด (เฉพาะบางพื้นที่)
                ที่ตั้งห้องส่ง อาร์ซีเอ บล็อกซี ถนนพระราม 9ถนนเพชรบุรี แขวงบางกะปิ 
                เว็บไซต์ http://www.theshockthailand.com

ประวัติรายการ The Shock
เดอะช็อค (THE SHOCK) เป็นรายการวิทยุในรูปแบบ รายการ ผี วิญญาณ เรื่องราวเร้นลับ โดยจะเปิดสายสดหน้าไมค์ ให้ผู้ฟังทางบ้าน มาเล่าถึงประสบการณ์อันน่าตื่นเต้นสยองขวัญ 
พ.ศ. 2535 รายการออกอากาศครั้งแรก ซึ่งอยู่ในบริษัท Media Plus ในรายการ "Smile Radio" โดย
ใช้ชื่อช่วงว่า "Smile Shock"
พ.ศ. 2538 ได้ย้ายมาจัดในบริษัท Media of Media จำกัด (มหาชน) โดยได้เปลี่ยนชื่อคลื่นเป็น
"Boom Radio" ใช้ชื่อช่วงว่า "90' Shock" (ไนท์ตี้ช็อค) ในช่วงนี้ทางรายการได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จึงได้มีรายการ TV รายการแรกชื่อว่า "ไนท์ช็อค" ทาง ททบ. 5 และได้มีผลงานทางภาพยนตร์เรื่อง "ไนน์ตี้ช็อค เตลิดเปิดโลง" อีกด้วย
พ.ศ. 2540 รายการได้ย้ายมาจัดทางคลื่น Pirate Radio และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "The Shock" และปลายปี พ.ศ. 2540 ได้ย้ายมาจัดทางคลื่น Amazing Wave ใช้ชื่อรายการว่า "The Shock" เช่นเดิม
พ.ศ. 2541 ได้ย้ายคลื่นอีกครั้งมาจัดที่ X Radio และยังคงใช้ชื่อรายการว่า "The Shock" เหมือนเดิม และไม่นานหลังจากนั้น ทางรายการก็ได้ซื้อเวลาเพื่อจัดรายการเองอย่างเป็นทางการ และใช้ชื่อว่า "Shock FM" และในช่วงนี้เอง ทางทีมงานก็ได้มีส่วนร่วมเข้าไปเป็นฝ่ายข้อมูลให้กับรายการโทรทัศน์ "มิติลี้ลับ" ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และได้จัดตั้งบริษัทบุคคล "คนดีผีคุ้ม จำกัด"
พ.ศ. 2545 ทางรายการได้ย้ายสถานีมาจัดที่ ขส.ทบ. FM. 102 MHz. และในปีนี้ ทางรายการก็ได้ใช้ชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัท "The Shock 13 จำกัด"
พ.ศ. 2547 ได้ผลิตงานในรูปแบบ VCD "The Reality Shock 13 คนในบ้านผีสิง" และ "The Reality Shock 2 สยองต่างแดน" ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก.
พ.ศ. 2549 ได้จัดทำภาพยนตร์เรื่อง "The Letter of Dead" (เขียนเป็น ส่งตาย) และในปีนี้เอง ทางรายการได้รับความไว้วางใจให้ดำเนินรายการวิทยุตามคลื่นต่างๆ ที่นอกเหนือจากรายการ The Shock ที่เป็นแนวสยองขวัญ โดยมีทีมงาน The Shock เป็นผู้ผลิตรายการ รายการโทรทัศน์ ทาง Cable TV ชื่อรายการว่า "Live Shock" (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ช่อง มิติ 4)
พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ได้จัดทำหนังสือต่างๆ มากมาย เช่น "ล้อมวงคุยเรื่องผี กับ DJ. ป๋อง" เป็นต้น และในปี พ.ศ. 2552 ทางทีมงานยังได้รับความไว้วางใจให้ร่วมทำงานกับบริษัทในเครือ Sony Music ในการจัดทำ VCD ท้าทายความสยองขวัญ อีกครั้งในชื่อว่า "666 Realigy Shock" และยังมี MP3 เรื่องเล่าสยองขวัญ อีกมากมายอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ. 2553 ปัจจุบัน ทางรายการได้ย้ายสถานีในการจัดรายการอีกครั้ง โดยย้ายมาจัดที่ FM 101 R.R.ONE เรดิโอ รีพอร์ต วัน โดยใช้ชื่อรายการเหมือนเดิมคือ "The Shock FM" ซึ่งจัดทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ ช่วงเวลา 00.30 - 03.30
ผังรายการในปัจจุบัน
ลำดับ
วัน
ผังรายการ
เวลาที่ออกอากาศ
1.
จันทร์-ศุกร์
เรื่องเล่า ประสบการณ์สยองขวัญ
เวลา 0.30 น. - 3.30 น.
2.
เสาร์
เดอะช็อคสโมสร
เวลา 0.30 น. - 3.30 น .
3.
อาทิตย์
จิ๊กโก๋ยามดึก
เวลา 0.30 น. - 3.30 น .
หมายเหตุ : เดอะช็อคเดินสาย (1 ครั้ง ต่อ เดือน)
ดีเจ/ทีมงานปัจจุบัน
ลำดับ
ชื่อ นามสกุล (จริง)
ฉายา
1.
กพล ทองพลับ
ป๋อง ดอะช็อค
2.
โก้พริ้ว ณ.ราชบุรี
3.
ไพโรจน์ ดำมินเศก
ขวัญ น้ำมันพราย
4.
ยิ่งยศ สวัสดิ์วงศ์ชัย
เก่งประตูผี
5.
ธีระ น้อยสกาญจน์
แว่น ดร. มะเด๊า 
6.
บี้ เดอะช็อค
7.
เทวัฒน์ ทองพลับ 
เอ็ดเอ้ เดอะช็อค

ประเภทรายการวิทยุกระจายเสียงของ The Shock
   The Shock รายการสนทนา ผสมกับ รายการสัมภาษณ์ เนื่องจากทางรายการจะมีการเปิดสาย Phone in ให้ผู้ฟังทางบ้าน มาเล่าถึงประสบการณ์อันน่าตื่นเต้นสยองขวัญเกี่ยวกับผี วิญญาณ เรื่องราวเร้นลับ
ผู้ดำเนินรายการจะมีการสัมภาษณ์สอบถามข้อมูลส่วนตัวเบื้องต้น และเค้าโครงเนื้อเรื่องบางส่วนที่ผู้ฟังทางบ้านจะนำมาเล่าประสบการณ์ และระหว่างเล่าเรื่องของผู้ฟังทางบ้าน ผู้ดำเนินรายการจะมีการสนทนากับผู้ฟังทางบ้านแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในเรื่องเล่า สลับกับการสัมภาษณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นความรู้สึกของผู้ฟังทางบ้านที่พบเจอ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่จะเล่าต่อไป
โดยรายการสัมภาษณ์มีข้อแตกต่างจากรายการสนทนา คือ ผู้สัมภาษณ์มีหน้าที่ในการป้อนคำถาม ถามอย่างเดียว ไม่มีหน้าที่ตอบคำถามเอง ไม่เหมือนกับผู้ดำเนินรายการสนทนาที่สามารถร่วมสนทนาด้วยในบางโอกาส หน้าที่ของผู้สัมภาษณ์คือพยายามป้อนคำถามที่ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบ หรืออธิบายให้มากที่สุด สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์จะทำได้นอกจากนั้นคือ สรุปให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น หรือเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นเท่านั้น การสัมภาษณ์นั้นทำได้ทั้งในห้องส่งกระจายเสียงและนอกห้องส่ง



จุดเด่นของรายการ The Shock
                เป็นรายการวิทยุกระจายเสียงที่มีการผสม รายการสนทนา กับ รายการสัมภาษณ์ ทำให้เนื้อหาของรายการมีมิติ น่าสนใจ และทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมและเข้าถึงรายการได้มากขึ้น ทำให้รายการไม่ซ้ำซากจำเจ วกวนกับเรื่องราวสยองขวัญ หรือเรื่องราวเกี่ยวกับวิญญาณแบบเดิม ๆ มีการเปลี่ยนแปลงของผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ และมีความหลากหลายของเหตุการณ์ที่น่าสนใจทำให้รายการมีจุดขาย มีมิติ และสามารถดึงอารมณ์ร่วมของผู้ฟังได้มากขึ้น
จุดเด่นของรายการทางผู้จัดทำแบ่งออกเป็น  4  ข้อ
1.              จุดเด่นด้านศิลปะการดำเนินรายการ
2.              จุดเด่นการนำเสนอเรื่องราวสยองขวัญ
3.              จุดเด่นโครงสร้างสัมพันธสารประเภทเรื่องเล่า
4.              จุดเด่นด้านการใช้ภาษา

1.            จุดเด่นด้านศิลปะการดำเนินรายการ
จากการศึกษาของคณะผู้จัดทำ ศิลปะการดำเนินรายการเดอะช็อค มีลักษณะเด่นทั้งหมด 14 ประการที่พบระหว่างการดำเนินรายการของผู้จัดรายการ ประกอบด้วย การสนทนาก่อนเข้าสู่เรื่องเล่าสยองขวัญ บทส่งท้าย การปลอบโยน สถานการณ์เฉพาะหน้า การเปิดช่องทางเพื่อติดต่อกับรายการ การแนะนำเรื่องเล่าสยองขวัญ การฝากคำถามในสิ่งที่ผู้ฟังทางบ้านสงสัย การแทรกคติสอนใจและคำคม การแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึก การนำประสบการณ์ละความรู้เฉพาะด้านของผู้ดำเนินรายการมาเล่าเสริม การแทรกเรื่องความเชื่อ การอ้างอิง ดารเชิญชวน และเสียงประกอบ

2.            จุดเด่นการนำเสนอเรื่องราวสยองขวัญ
การดำเนินรายการเดอะช็อค มีจุดเด่นในการการจัดลำดับก่อนหลังในการนำเสนอเรื่องราวซึ่งเป็นไปตามโครงเรื่องที่วางไว้  การลำดับขั้นตอนของการนำเสนอเรื่องเล่าสยองขวัญนั้น เป็นการช่วยจัดลำดับความคิดของผู้ฟังให้เป็นระบบด้วยการให้หัวเรื่อง แล้วตามด้วยสาระภายหลัง การลำดับเรื่องรายการเดอะช็อค มีทั้งสิ้น 3 ได้แก่


2.1                               การปูเรื่อง เกริ่นเปิดเรื่องเพื่อนำไปสู่เนื้อหาของการเล่าเรื่องสยองขวัญ
2.2                               เนื้อเรื่อง องค์ประกอบที่ยาวที่สุด มีการเรียบเรียงเรื่องอย่างเป็นระบบ ระเบียบ ไม่ซับซ้อน เนื้อหาของรายการส่วนนี้จะเป็นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับลางบอกเหตุ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของตัวละครเองในเรื่อง
2.3                               บทส่งท้าย ส่วนสุดท้ายของการเล่าเรื่องสยองขวัญในรายการเดอะช็อค เพื่อทำให้ผู้ฟังได้ทราบว่าเรื่องเล่าสยองขวัญที่รับฟังนั้นได้จบลงแล้ว ได้แก่ บทส่งท้าย บทส่งท้ายในรายการเดอะช็อค คือ การที่ผู้นำกล่าวคำอำลากับผู้เล่าเรื่องสยองขวัญ  เพื่อเข้าสู่เรื่องเล่าสยองขวัญเรื่องต่อไป หรือการส่งเสริมการขายของรายการเดอะช็อค

3.            จุดเด่นโครงสร้างสัมพันธสารประเภทเรื่องเล่า
ซึ่งผู้จัดทำได้อ้างอิงจากสัมพันธสารเรื่องเล่า 7 ลักษณะจากลักษณะสากลที่พบได้ทั่วไปในเรื่องเล่าชนิดที่มีระดับความตื่นเต้นแตกต่างกันของ โรเบิร์ด อี ลองเอเคอร์ (Robert E. Longacre) นักภาษาศาสตร์
โดยเกิดจากการนำเรื่อง (Exposition) ของผู้เล่ามีลำดับเหตุการณ์ ตัวละคร สถานที่ ชัดเจน จนมีเหตุการณ์ยั่วยุ (Inciting moment) เกี่ยวกับเหตุการณ์บางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติ เพิ่มความขัดแย่ง (Developing conflict) ให้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อดึงอารมณ์ของผู้ฟังให้มีส่วนร่วม จนถึงจุดตึงเครียด (Climax) ที่ทุกสิ่งทุกอย่างมาขมวดปมกันอยู่เริ่มคลี่คลายหรือไม่มีทางออก ตัวแสดงไม่สามารถหลีกเลี่ยงกันพบเจอได้ หลักจากนั้นเกิดการคลี่คลายปัญหา (Denouement) เรื่องมาถึงจุดที่มีทางออก ปัญหาเริ่มคลี่คลายมองเห็นจุดจบของเรื่องและสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด ของรายละเอียดเหตุการณ์ต่อเนื่อง (Final Suspense) ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการคลี่คลาย จนถึงการสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด


ตัวอย่างการแสดงลำดับเหตุการณ์
วันพุธที่ 3 ธันวาคม 2557 เรื่องวิญญาณในหอพัก
การลำดับเหตุการณ์
เหตุการณ์
1.              1.การนำเรื่อง
-                   หม่องพักอยู่หอพักชายแถว ๆ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กับเพื่อน ๆ ที่มาจากจังหวัดจันทบุรีด้วยกัน
2.              เหตุการณ์ยั่วยุ
-                   ตอนกลางวันหลังทานข้าวเสร็จแล้ว ก็กลับไปที่บ้านพักอยู่ ๆ เพื่อนคหนึ่งก็พูดขึ้นว่า ถ้าในหอพักมีผู้หญิงก็คงจะดีนะ
3.              การเพื่อความขัดแย้ง
-                   ในตอนกลางคืนหม่องและเพื่อน ๆ กำลังขึ้นไปซักผ้าบนดาดฟ้าของหอพัก พอขึ้นไปถึงก็เห็นผู้หญิงผมยาวนั่งหันหลังอยู่
-                   หม่องกับเพื่อน ๆ ก็นั่งซักผ้าตามปกติ และฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า ที่หอพักชายแห่งนี้ มีกฎห้ามผู้หญิงเข้ามา แต่เธอเข้ามาได้อย่างไร หม่องกับเพื่อน ๆ เกิดความกลัวจึงลงมาที่ห้องพักของตนแล้วเข้าห้อง
4.              จุดตึงเครียด
-                   เวลาประมาณตีสาม หม่องกับเพื่อน ๆ ได้ยินเสียงร้องโหยหวน เขาจึงตัดสินใจชะโงกหน้าออกมาทางหน้าต่าง เขาเห็นผู้หญิงคนนั้น แต่เมื่อไปถึงแล้วเธอกลับหายไป
5.              การคลี่คลาย
-                   พวกเขาจึงวิ่งกลับไปที่ห้องพักอย่างหวาดกลัวกับสิ่งที่เห็น และเข้านอนตามปกติแบบหวาดกลัว
6.              เหตุการณ์ต่อเนื่อง
-                   ตอนเช้าหม่องกับเพื่อน ๆ ได้ถามเรื่องราวจากเจ้าของหอพัก จึงทราบว่าเมื่อหลายปีก่อน ได้มีผู้หญิงกระโดดตึกจากดาดฟ้าของหักพัก เนื่องจากอกหักจากแฟนเลยได้คิดสั้นฆ่าตัวตาย

4.            จุดเด่นด้านการใช้ภาษา
ภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อเรื่องเล่าสยองขวัญที่สื่อความหมายถึงเรื่องสยองขวัญ สื่อความหมายถึงความตาย สื่อความหมายถึงเรื่องราวอันตราย น่าสยดสยอง และสื่อความหมายถึงชื่อหรือฉายาผี ส่วนภาษาที่ใช้ในเนื้อเรื่องสยองขวัญเป็นการใช้ภาษาสนทนาเพื่อให้เข้าถึงผู้ฟัง เพื่อสร้างความน่าสะพรึงกลัว และเพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟัง เกิดความสนใจติดตามเรื่องเล่าสยองขวัญจนจบ บางครั้งอาจมีการใช้ อวัจนภาษา ช่วยในการดำเนินรายการเช่น การใช้เสียงประกอบ การใช้เสียงดนตรี การหยุด การแสดงน้ำเสียงประประชันเสียดสี น้ำเสียงตำหนิ น้ำเสียงสั่งสอน หรือ น้ำเสียงของความปรารถนาดี

กลุ่มเป้าหมายของรายการ
            กลุ่มเป้าหมายหลัก
กลุ่มเป้าหมายหลักของรายการ จากการวิเคราะห์และความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม ได้ระบุกลุ่ม เป้าหมายหลังของรายการเป็นผู้ฟังทั่วไปเริ่มตั้งแต่ วัยรุ่นอายุ 15 – 25 ปี วัยทำงาน 26 – 50 และวัยสูงอายุ  75 ปีเป็นต้นไปที่ชื่นชอบเรื่องราวลี้ลับ สยองขวัญเกี่ยวกับผีวิญญาณ สิ่งที่มองไม่เห็นเป็นส่วนใหญ่ มีบางส่วนเป็นผู้ฟังที่ทำงานในช่วงเวลากลางคืน เช่น พนักงานโรงงาน ยามรักษาความปลอดภัย หรือแม้แต่ คนขับแท็กซี่ ที่ต้องการฟังรายการเล่าเรื่องชวนขนหัวลุก เพื่อสร้างบรรยากาศคลายเหงา ดึงดูดอารมณ์และเป็นเครื่องกระตุ้นเวลาร่างกายอ่อนล้าจากการทำงาน และบางส่วนเป็นผู้ฟังที่ติดตามผลงานของดีเจป๋อง กพล ทองพลับ หรือ ผู้จัดรายการคนอื่น ๆ มานานหลายปี เพื่อพุดคุยและเปลี่ยนความคิดเห็นและเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านการสื่อสารทาง SMS เพื่อพูดคุยกับผู้จัดรายการ
                ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักในส่วนนี้จะมีความสนใจและมีประสิทธิภาพในการรับสารได้อย่างดี  เนื่อง จากเข้าใจรูปแบบและเนื้อหาของรายการอยู่แล้วบ้าง และมีความสนใจในเรื่องราวลี้ลับ สยองขวัญเกี่ยวกับผีวิญญาณ อาจมีผู้ชมบางส่วนที่มีความรู้และมีความคิดเห็นของสารที่รายการต้องการสื่อออกมากในทิศทางเดียวกับรายการ

กลุ่มเป้าหมายรอง
กลุ่มเป้าหมายรองของรายการ จะเป็นผู้ฟังขาจรทั่วไปที่มีเวลาว่างหรือเป็นคนนอนดึก กลัวผีวิญญาณ อยากฟังบางไม่อย่างฟังบางเพราะกลัว หรออาจจะได้รับข่าวสารของรายการจากการโปรโมทผ่านสื่อวิทยุ เว็บไซต์ หรือ ผ่าน Social Media มีบางครั้งเปิดรายการมาฟังแล้วเห็นรูปแบบรายการสนุก เรื่องเล่าน่าสนใจก็เลยติดตามชม และบางท่านอาจได้ยินคำบอกเล่าจากผู้ฟังท่านอื่น ๆ ที่เคยฟังรายการมาบ้างแล้วก็เลยลองติดตามฟัง
โดยสำหรับกลุ่มเป้าหมายรองในส่วนนี้ ส่วนใหญ่จะติดตามเพื่อความสนุกสนาน ความบันเทิง และการลีลาภาษาพูดในการจัดรายการของผู้จัดรายการ ผสมกับเรื่องราวลี้ลับ สยองขวัญเกี่ยวกับผีวิญญาณ สิ่งที่มองไม่เห็นเป็น ทำให้รายการน่าสนใจมากขึ้นและถูกใจคนฟังยิ่งขึ้น


วิเคราะห์คลิปเสียงรายการ The Shock
ช่วง The Shock Story ของเดือนพฤศจิกายน 2557 เรื่อง ตามตัวไม่เจอ สามารถวิเคราะห์ได้ 4 ข้อ ดังนี้
1.              ความเชื่อมโยงของเนื้อหารายการและเพลง
2.              ความเหมาะสมเนื้อหารายการกับกลุ่มเป้ามาย
3.              การใช้วัจนภาษา-วัจนภาษาของผู้ดำเนินรายการกับการเล่าเรื่อง
4.              การเรียงลำดับเนื้อเรื่องเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจถึงเรื่องราว

1.            ความเชื่อมโยงและความเหมาะสมของเนื้อหารายการและเพลง
ด้วยเนื้อหาเรื่องเล่าของรายการเป็นแนวสยองขวัญสั่นประสาท ทำบางของเรื่องเล่าผู้จัดรายการต้องใช้เทคนิคเสียงช่วย อาจจะเป็นซาวด์เอฟเฟคประกอบเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น ลมพัด ฟ้าร้อง หมาหอน เสียงผู้หญิงร้องไห้โหยหวน เพื่อดึงอารมณ์ของผู้ฟังให้มีส่วนร่วมกับเรื่องเล่าของรายการ ณ ตอนนั้นให้มากที่สุด เพื่อความสุขและอรรถรสในการฟัง บางครั้งอาจใช้เสียงเพลงบรรเลงคลอตามแบบแผ่วเบา เช่น เพลงมอญร้องไห้ เพลงแนวคร่ำครวญ วังเวง เพื่อให้ผู้ฟังได้หลุดเข้าไปในภวังค์แห่งจินตนาการและอยู่ร่วมกับเรื่องเล่าเรื่องนั้นจนจบ ให้รายการไม่ขาดสีสันหรือสิ่งดึงดูดใจ

2.            ความเหมาะสมเนื้อหารายการกับกลุ่มเป้ามาย
เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายหลักของรายการที่คณะผู้จัดทำได้วิเคราะห์จะเป็นผู้ฟังที่ชื่นชอบ ชื่นชอบเรื่องราวลี้ลับ สยองขวัญเกี่ยวกับผีวิญญาณ สิ่งที่มองไม่เห็นเป็นส่วนใหญ่ มีบางส่วนเป็นผู้ฟังที่ทำงานในช่วงเวลากลางคืน เช่น พนักงานโรงงาน ยามรักษาความปลอดภัย หรือแม้แต่ คนขับแท็กซี่ ที่ต้องการฟังรายการเล่าเรื่องชวนขนหัวลุก เนื้อหาของรายการก็จะเป็นแนวสยองขวัญสั่นประสาท เป็นการตอบโจทย์ความเชื่อของคนในสังคมไทยว่าเมืองพุทธต้องคู่กับผี เวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาของวิญญาณออกมาขอส่วนบุญ


3.            ความเหมาะสมในการใช้วัจนภาษา-วัจนภาษาของผู้ดำเนินรายการกับการเล่าเรื่อง
ผู้จัดรายการได้ใช้วัจนภาษาการใช้ภาษาเพื่อสร้างความน่าสะพรึงกลัว ด้วยน้ำเสียงโทนแหบแห้ง สร้างความมิติให้เสียงเวลาเล่าเรื่อง เมื่อผู้ฟังได้ฟังจะได้อารมณ์ร่วมที่ดึงดูดอีกรูปแบบหนึ่งที่เปลี่ยนไปจากการเล่าเรื่องแบบเดิมของรายการทั่วไปที่ใช้น้ำเสียงโทน Mono Tone และมีการเน้นเสียง เน้นคำตามที่ต้องการจะเน้น ประกอบกับเรื่องเล่าเป็นเหตุการณ์ที่มีตัวละคร อารมณ์ของตัวละคร สถานที่ เรื่องราวเกี่ยวกับลางบอกเหตุและจุดจบต่าง ๆ ของเรื่องทำให้บางครั้ง ผู้จัดรายการได้มีการสอดแทรกอวัจนภาษา เกี่ยวกับการใช้เสียงประกอบ ใช้เสียงดนตรีบรรเลง มีการพูดแล้วหยุดเพื่อดึงอารมณ์ให้ฟังติดตามอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป มีการใช้น้ำเสียงในรูปแบบต่าง ๆ มีทั้งดุ ตำหนิ สั่งสอน หรือแม้แต่เสียงใจ เพื่อให้ผู้ฟังรับรู้ว่าตัวละครนั้นมีชีวิตจริง ๆ ไม่ใช่เป็นแค่เรื่องเล่าหรือเรื่อราวที่แต่งขึ้น

4.            การเรียงลำดับเนื้อเรื่องเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจถึงเรื่องราว
เพื่อความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมายและผู้ฟัง ผู้จัดรายการจะพยายามมีการปูเนื้อเรื่องเหตุการณ์หรือเรื่องเล่านั้นก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานความเข้าใจของผู้ฟัง ว่าในเหตุการณ์นั้น ๆ ตัวละครเป็นไหน ลักษณะรูปร่าง นิสัยใจคอเบื้องต้น และปัจจัยต่าง ๆ ที่จะทำให้พบเจอกับเรื่องสยองขวัญ ตามด้วยสถานที่หรือสิ่งที่ประสพพบเจอ เมื่อผู้จัดปูเนื้อเรื่องแล้ว จากนั้นก็จะเริ่มลงรายละเอียดของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เริ่มจากปมนี่ ไปปมนั้น สิ่งที่เจอเหตุการณ์หนึ่งนำไปพบกับเหตุการณ์ที่สอง จนถึงบทสรุปของเนื้อเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด ปิดท้ายด้วยคติสอนใจของเรื่องราว  
เมื่อมีการเรียงลำดับเรื่องเป็นขั้นตอนก็จะทำให้ผู้ฟังและกลุ่มเป้าหมายเข้าใจเนื้อเรื่องได้อย่างชัดเจน และมีประสิทธิภาพในการฟังอย่างสมบูรณ์แบบ



























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น