วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

ความเป็นมาของรางวัลโนเบล (Nobel prize)

อัลเฟร็ด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ชุดดินระเบิดที่เรียกว่า ไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerine) หรือระเบิดไดนาไมต์ รู้สึกเสียใจที่ระเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์ เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1896 เขาระบุในพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติให้นำไปตั้งมูลนิธิโนเบล เพื่อเป็นการสนับสนุน และมอบรางวัลให้แก่บุคคลที่มีผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่น หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ โนเบลแสดงเจตนารมณ์ไว้ในพินัยกรรมของเขาอย่างชัดแจ้งว่า “…It is my express wish that in awarding the prizes no consideration be given to the nationality of the candidates, but that the most worthy shall receive the prize, whether he be Scandinavian or not. …” ซึ่งหมายถึง ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับรางวัลนี้ต้องเป็น “บุคคลผู้อำนวยคุณประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ” โดยไม่จำกัดว่าบุคคลผู้นั้นจะมีเชื้อชาติไหน พูดภาษาใด
พิธีมอบรางวัลโนเบลจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 10 ธันวาคม โดยจัดขึ้นครั้งแรกหลังจากโนเบลเสียชีวิตไปได้ 5 ปี (ค.ศ. 1901) มี 5 สาขา คือ คือ ฟิสิกส์ (physics) เคมี (chemistry) การแพทย์และสรีรวิทยา (physiology or medicine) วรรณกรรม (literature) สันติภาพ (peace) และในปี ค.ศ. 1969 จึงเพิ่มรางวัลอีก 1 สาขา คือสาขาเศรษฐศาสตร์ (economic)
ความเป็นมาของรางวัลโนเบล (Nobel prize)
ผู้พระราชทานรางวัลโนเบล คือ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรสวีเดน แม้ว่าบางปีรางวัลบางสาขาอาจไม่มีการตัดสิน แต่มีข้อกำหนดว่าระยะเวลาของการเว้นการมอบรางวัลต้องไม่เกิน 5 ปี รางวัลที่มอบให้ประกอบด้วยเหรียญทองที่ด้านหน้าสลักเป็นรูปหน้าของอัลเฟร็ด โนเบล พร้อมใบประกาศเกียรติคุณและเงินสด
รางวัลโนเบลถือ เป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่และทรงเกียรติของชาวโลก ถือเป็นสิ่งที่เชิดชูเกียรติ บ่งบอกถึงความเก่งกาจ ยอดเยี่ยม และเป็นผู้อุทิศตนเพื่อความเจริญก้าวหน้า ความสงบและสันติของสังคมโลก
ที่มา : หนังสือ NOBEL PRIZE 100 ผู้พิชิตรางวัลโนเบล ผู้เขียน ศ.ดร. สุทัศน์ ยกส้าน, รศ. ดร. ญาดา ประภาพันธ์, พ.ท.ผศ.ดร. พีรพล สงนุ้ย, พ.ท.ผศ.ดร. ศรศักร ชูสวัสดิ์, ร.อ. ชุมพล รักงาม, พ.อ.หญิง ชมนาค เทียมพิภพ, ลอองทิพย์ อัมรินทร์รัตน์, วรุณยุพา ฮอล ลิงกา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น